สำหรับใครที่ไม่ได้ซื้อสด การผ่อนรถจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เลี่ยงไม่ได้ โดยการผ่อน จะเป็นการจ่ายค่ารถเป็นงวดในแต่ละเดือน ซึ่งรถแต่ละประเภทก็มีราคาที่แตกต่างกัน ระยะเวลาในการผ่อน และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป
ซึ่งคนซื้อรถควรวางแผนค่าใช้จ่ายให้ดี เพราะถ้าหากค้างชำระเกินระยะเวลาที่เกินกำหนดก็อาจจะถูกยึดรถได้ในที่สุด ดังนั้นควรจ่ายค่าผ่อนงวดรถให้ตรงตามวันที่กำหนดจะดีที่สุด
ค่าต่อภาษีรถยนต์ทุกปี เป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่คนมีรถไม่สามารถเลี่ยงได้ โดยอัตราค่าภาษี ปีที่ 1 – 5 จะคงที่ ส่วนรถที่อายุการใช้งานเกิน 5 ปี จะมีอัตราภาษีที่ลดลง แต่ถ้าหากรถขาดการต่อภาษีทุก ๆ ปี ก็จะโดนค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือนจนถึงวันชำระ แต่ถ้าหากขาดการต่อภาษีรถยนต์ติดต่อกัน 3 ปี ก็จะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ ต้องไปทำการขอทะเบียนใหม่ และยังโดนเรียกภาษีย้อนหลังอีกด้วย
โดยการคิดค่าภาษีของรถขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ ประเภทรถ รวมถึงอายุของการใช้งานรถนั้น ๆ เช่น
รถเก๋ง รถกระบะ รถ SUV รถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง
รถยนต์เมื่อใช้งานเป็นประจำ ก็ย่อมมีการชำรุดของอะไหล่ หรือชิ้นส่วนรถยนต์ก็มีอายุการใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป ซึ่งเมื่อมีการใช้งานมาเป็นเวลานาน ก็ควรได้รับการซ่อมบำรุงรักษาเพื่อประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถ
โดย ค่าใช้จ่ายของการบำรุงของรถแต่ละคันก็มีความแตกต่างออกไป แต่ที่สำคัญคือ ควรเช็กระยะรถทุก ๆ 6 – 12 เดือน หรือ ทุกๆ 10,000 กม. ถ่ายเปลี่ยนของเหลวในรถยนต์ ทั้งน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมันเกียร์ เป็นต้น เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของรถ และป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุได้
ค่าทำประกันเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับคนมีรถ เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ประกันจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้มาก โดยบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าซ่อมแซมต่าง ๆ
ซึ่งประกันรถยนต์มีให้เลือกหลายแบบตั้งแต่ประกันภาคบังคับอย่าง พ.ร.บ และประกันภาคสมัครใจอย่าง ประกันชั้น 1, 2+, 3+, 3 ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของรถ
สำหรับค่าประกัน พ.ร.บ. ถือเป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยเป็นข้อบังคับให้รถทุกคัน ทุกประเภทต้องทำ เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครอง
สำหรับค่าใช้จ่ายของพ.ร.บ รถยนต์ต่อปี รถยนต์เก๋ง ที่นั่งไม่เกิน 7 คน 645.21 บาท, รถยนต์กระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน 967.28 บาท และรถตู้ ที่นั่งเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,182.35 บาท (รวมค่าอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)
และค่าใช้จ่ายสุดท้าย ที่อาจจะงอกเพิ่มเติมมาจนเราคาดไม่ถึง อย่างค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นที่เกี่ยวกับรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น ค่าที่จอดรถ กรณีที่พักไม่มีที่จอด หรือไม่ว่าจะเป็นในห้างสรรพสินค้า สนามบินเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีค่าทางเดินทางอย่าง ค่าทางด่วน ค่าล้างรถ ค่าอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ และ ค่าปรับ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการมีรถแต่ละคัน มีค่าใช้จ่ายมากมาย ดังนั้นเพื่อการจัดสรรค่าใช้จ่าย ควรมีวางแผนไว้ให้ดี เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาการเงินในอนาคต
ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |