fbpx
Search
Close this search box.

รูเบิลสกุลเงินเดียวที่แข็งค่า เพราะอะไรกันแน่

รูเบิลสกุลเงินเดียวที่แข็งค่า เพราะอะไรกันแน่​
สารบัญ

          ดร.ฐิติมา ชูเชิด ฝ่ายนโยบายการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ช่วงปีนี้สกุลเงินประเทศต่าง ๆ อ่อนค่าไปตามกัน ถ้าเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งขึ้นมากหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศขึ้นดอกเบี้ยแรงสกัดเงินเฟ้อ แต่เงิน “รูเบิลรัสเซีย” กลับแข็งค่ามากทั้งที่โดนคว่ำบาตรหนักจากนานาชาติตะวันตก สร้างความประหลาดใจให้ผู้ติดตามสถานการณ์ว่า เหตุใดเงินรูเบิลฆ่าไม่ตาย? เนื้อแท้เบื้องหลังคืออะไรกันแน่?

ช่วงแรกที่รัสเซียบุกยูเครน เงินรูเบิลอ่อนค่าหนักนานนับเดือน

            ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขอความร่วมมือชาติพันธมิตรช่วยกันคว่ำบาตรลงโทษรัสเซียรุนแรงอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน เพื่อลดความเชื่อมั่นของโลกที่มีต่อเศรษฐกิจรัสเซียและต้องการลดความแข็งกร้าวของรัสเซียลง ทำให้นักลงทุนเทขายเงินรูเบิลจนอ่อนค่าเกือบครึ่งหนึ่งจากราว 80 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐก่อนโดนคว่ำบาตร เป็นกว่า 150 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงต้นเดือน มี.ค. 65 นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของรัสเซียยังถูกตัดออกจากระบบสื่อสารโอนเงินระหว่างธนาคารในโลก (SWIFT) เงินสำรองระหว่างประเทศที่ธนาคารกลางรัสเซียฝากหรือลงทุนในสหรัฐฯ หรือสหภาพยุโรปก็ถูกอายัดไม่ให้เข้าถึงสกุลเงินตราต่างประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของเงินสำรองฯ รัสเซียทั้งหมดที่มีมูลค่ากว่า 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ รัสเซียยังโดนตัดออกจากระบบขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางอากาศและเรือทำให้ค้าขายกับโลกได้ลำบากขึ้น 

เจอเช่นนี้รัสเซียจึงสู้กลับทุกทางให้เงินรูเบิลยังเป็นที่ต้องการ เงินตราต่างประเทศไม่ไหลออก

          เช่น ธนาคารกลางรัสเซียขึ้นดอกเบี้ยรวดเดียว 10.5% เพิ่มจาก 9.5% เป็น 20% ทันทีในวันที่ 28 ก.พ. 65 หลังโดนคว่ำบาตรเพื่อดึงดูดเงินฝากไม่ให้โยกออกจากประเทศ และออกมาตรการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้มงวด เช่น ไม่ให้นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์รัสเซียถอนเงินตราต่างประเทศออก ไม่ให้ธนาคารขายเงินตราต่างประเทศให้ลูกค้ารายย่อยและกำหนดให้ลูกค้ารายย่อยสามารถถอนเงินจากบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศที่เปิดไว้ได้ไม่เกิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ และกำหนดให้บริษัทส่งออกต้องแลกรายได้เงินตราต่างประเทศ 80% กลับมาเป็นเงินรูเบิล  รวมถึงใช้ไม้ตายกำหนดให้ประเทศผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียต้องจ่ายเป็นเงินรูเบิลเท่านั้น

กลยุทธ์แก้เกมของรัสเซียช่วยให้เงินรูเบิลกลับมาแข็งค่าจนแข็งเกินช่วงก่อนโควิดไปอีก

            ในเดือน เม.ย. ค่าเงินรูเบิลเริ่มกลับมาแข็งค่าได้อย่างต่อเนื่อง ธนาคารกลางรัสเซียจึงทยอยลดดอกเบี้ยลงหลายครั้ง ๆ ละ 3% ในวันที่ 8 เม.ย. 29 เม.ย. 26 พ.ค. และต่อมาลดต่ออีก 1.5% ในวันที่ 10 มิ.ย. มาอยู่ที่ 9.5% และเริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดของบางมาตรการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ายลง เช่น กำหนดให้บริษัทส่งออกต้องแลกรายได้เงินตราต่างประเทศ 50% กลับมาเป็นเงินรูเบิล หากดูภาพรวมตั้งแต่ต้นปีถึงกลางเดือน ก.ค. จะพบว่าเงินรูเบิลแข็งค่ากว่าเงินดอลลาร์สหรัฐราว 28% อยู่ที่ 57 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐ (ในวันที่เขียนบทความนี้) สาเหตุจากดุลการค้าเกินดุลสูง ขณะที่ธนาคารกลางรัสเซียยังถูกคว่ำบาตรไม่สามารถเข้าแทรกแซงค่าเงินด้วยการเข้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินรูเบิลได้เช่นเดิม ทำให้รัสเซียเผชิญปัญหาค่าเงินรูเบิลแข็งมากจนทำให้ราคาสินค้าส่งออกแพง รายได้ส่งออกคิดกลับมาเป็นเงินรูเบิลมีมูลค่าน้อยลง ขณะที่ผู้นำเข้าแทบไม่ได้ประโยชน์จากเงินรูเบิลแข็ง เพราะถูกโลกแบนไม่ขายสินค้าให้ ดุลการค้าจึงเกินดุลสูงจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์และน้ำมันแพง แต่การนำเข้ากลับหดตัวลงมาก

กลยุทธ์แก้เกมของรัสเซียช่วยให้เงินรูเบิลกลับมาแข็งค่าจนแข็งเกินช่วงก่อนโควิดไปอีก

            แต่กลับสะท้อนผลจากกลไกฝืนธรรมชาติใช้มาตรการควบคุมเงินทุนไหลออกเข้มข้น การโดนคว่ำบาตรทำให้การลงทุนระหว่างประเทศและการนำเข้าลดฮวบ ไม่เป็นผลดีในระยะยาวเพราะเศรษฐกิจรัสเซียจะปิดและมีขนาดเล็กลง ไม่สามารถนำเข้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในโลกได้เท่าทัน รัสเซียจึงจับมือพันธมิตรกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้) ที่มีประชากรรวมกันมากกว่า 3 พันล้านคน และหลายฝ่ายคาดกันว่ากลุ่ม BRICS จะมีบทบาทในการค้าโลกสูงเกือบครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 เพื่อเตรียมปรับโครงสร้างการผลิตและการส่งออก หาตลาดใหม่ แก้ปัญหาโลจิสติกส์ โดยกลุ่ม BRICS ประชุมเมื่อเดือน มิ.ย. ได้ข้อสรุปว่า ไม่เห็นด้วยที่ชาติตะวันตกใช้การคว่ำบาตรเป็นอาวุธ และมีแผนตั้งเครือข่ายระบบการชำระเงินใหม่ เน้นใช้สกุลเงินตนเองค้าขายระหว่างกัน เพื่อไม่ให้ระบบการค้า ระบบการเงิน ระบบการชำระเงินระหว่างประเทศอยู่ภายใต้การควบคุมของชาติตะวันตกและสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมากเกินไป

เงินรูเบิลรัสเซียแข็งเกินพื้นฐานเศรษฐกิจยามนี้เป็นโจทย์ที่น่าคิด

            หากธนาคารกลางรัสเซียยกเลิกมาตรการคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย หรือชาติอื่นปรับตัวหาตัวเลือกอื่นไม่ทนซื้อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแพงจากรัสเซียต่อแล้ว เช่น สหภาพยุโรปที่ออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอีกรอบในช่วงต้นเดือน มิ.ย. 65 โดยประกาศให้ประเทศสมาชิกยุติการพึ่งพาพลังงานรัสเซียให้ได้ภายในสิ้นปี 2565 ส่งผลให้เศรษฐกิจรัสเซียอาจถดถอยจากผลกระทบของการคว่ำบาตรที่น่าจะรุนแรงขึ้นในช่วงข้างหน้า เงินเฟ้ออาจกลับมาเร่งตัวสูงหากเงินรูเบิลกลับมาอ่อนค่ามากอีกครั้ง (ล่าสุดธนาคารกลางรัสเซียคาดการณ์ไว้ว่า เศรษฐกิจรัสเซียปีนี้อาจหดตัวถึง 8 – 10% เงินเฟ้อสูง 14 – 17% แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก) น่าสังเกตว่ายิ่งนานวันเข้า รัสเซียอาจยิ่งหาสินค้านำเข้าได้ลำบากขึ้น โดยเฉพาะสินค้านำเข้าเพื่อสนับสนุนการเติบโตและเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจ 

จึงน่าจับตาพลังของกลุ่ม BRICS ว่าจะเป็นตัวแปรสำคัญช่วยให้รัสเซียปรับทิศโครงสร้างเศรษฐกิจได้ผลแค่ไหน

            ซึ่งจะมีนัยต่อการเดินเกมของรัสซียในการเข้ารุกรานยูเครนแบบยอมหักไม่ยอมงอต่อไป และส่งผลให้ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์แบ่งขั้วอำนาจในโลกนับวันจะยิ่งขยายวงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

          1. นโยบายการเงิน แม้เงินเฟ้อที่สูงจะมาจากปัจจัยด้านอุปทาน ซึ่งนโยบายดอกเบี้ยไม่สามารถจัดการได้โดยตรง แต่การขึ้นดอกเบี้ยจะช่วยสร้างความมั่นใจกับประชาชนว่านโยบายการเงินจะดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงขึ้นต่อในระยะข้างหน้า ในทางกลับกัน หากเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นอีก แต่เรายังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมที่แท้จริงลดลงไปอีก กลายเป็นเราเหยียบคันเร่งให้เศรษฐกิจ และนโยบายการเงินยิ่งผ่อนคลายมากขึ้น ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงยังติดลบที่ 5.70%2  และธุรกิจมีต้นทุนการกู้ยืมที่แท้จริงผ่านการออกตราสารหนี้ติดลบที่ 4.3% ต่ำกว่าสิ้นปีก่อนมากที่ 0.2%

          การขึ้นดอกเบี้ยที่จะไม่ทำให้เศรษฐกิจสะดุด ควรทำแต่เนิ่น ๆ เมื่อเห็นสัญญาณ เพราะการส่งผ่านนโยบายการเงินต้องใช้เวลา หากช้าเกินไป อาจทำให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติด และต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยแรงขึ้นเพื่อดูแลภายหลัง ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจและประชาชนมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงแรกของการฟื้นตัว แรงส่งที่จะทำให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติดยังมีไม่มาก อีกทั้งเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ดังนั้น การปรับขึ้นดอกเบี้ยของไทยจึงยังไม่ช้าไป นอกจากนี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อทยอยถอนคันเร่ง แต่ยังไม่ต้องเหยียบเบรกหรือเร่งขึ้นดอกเบี้ย เพราะจะทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงเร็วไป จนประชาชนและภาคธุรกิจปรับตัวไม่ทัน และทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสะดุด ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการที่สุด

          ทั้งนี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของไทยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับต่างประเทศ เพราะบริบทเศรษฐกิจการเงินช่วงนี้ต่างกัน เช่น เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวกลับมาดีกว่าช่วงก่อนโควิดแล้วตั้งแต่ครึ่งแรกของปี 64 และเงินเฟ้อสูงขึ้นมากจากอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวดี จึงต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดูแลให้เศรษฐกิจไม่ร้อนแรงและเกิด soft landing ขณะที่ไทยเพิ่งเริ่มฟื้นตัว การขึ้นดอกเบี้ยจึงต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เป็น smooth take-off

         2. มาตรการทางการเงินที่ส่งผลเป็นวงกว้าง ต้องทยอยปรับเข้าสู่ภาวะปกติ ปัจจุบัน ฐานะ สง. ยังแข็งแกร่ง โดยมีเงินกองทุน สภาพคล่อง และเงินสำรองที่สูงเพียงพอในการรองรับความเสี่ยงในระยะข้างหน้า ขณะที่หากทำมาตรการที่เป็นวงกว้างนานเกินไป จะส่งผลข้างเคียงต่อระบบการเงินในระยะยาวได้ ดังนั้น จึงควรปรับมาตรการให้กลับมาสู่ระดับปกติมากขึ้น ได้แก่ (1) ยกเลิกการจำกัดอัตราจ่ายเงินปันผล โดยยังให้ สง. ยึดหลักความระมัดระวัง โดยพิจารณาอัตราจ่ายเงินปันผลให้สอดคล้องกับฐานะผลการดำเนินงานและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า และ (2) ปรับอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF กลับมาที่ 0.46% ต่อปี ให้มีผลตั้งแต่ปี 66 

          การปรับมาตรการสู่ภาวะปกติมีผลข้างเคียง แต่ชั่งน้ำหนักแล้วคุ้ม โดยผู้ฝากเงินจะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ขณะที่กลุ่มลูกหนี้บางประเภทที่ได้รับดอกเบี้ยลอยตัว (float) แม้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้น แต่ผลของดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นต่อค่าใช้จ่ายของครัวเรือนจะน้อยกว่าผลของเงินเฟ้อที่จะลดทอนกำลังซื้อของประชาชน โดยการประเมินของ ธปท. พบว่าดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้น 1% จะทำให้ภาระดอกเบี้ยของครัวเรือนที่มีหนี้โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.5% เทียบกับค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อที่ 3.6% ซึ่งมากกว่าผลของการขึ้นดอกเบี้ยกว่า 7 เท่า 

          นอกจากนี้ กรณีลูกหนี้เก่า หากเป็นสินเชื่อรายย่อย ประมาณ 60% ได้รับดอกเบี้ยคงที่ (fixed) อยู่แล้ว เช่น สินเชื่อเช่าซื้อ บัตรเครดิต ส่วนบุคคล ขณะที่สินเชื่อบ้าน แม้ดอกเบี้ยส่วนใหญ่เป็น float แต่จะกำหนดค่างวดไว้ก่อนแล้ว โดย สง. จะเผื่อดอกเบี้ยที่อาจปรับเพิ่มขึ้นไว้ในค่างวด ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ลูกหนี้ธุรกิจเกือบทั้งหมดจะเป็นดอกเบี้ยลอยตัวตาม M-rate กรณีลูกหนี้ใหม่ ได้รับผลกระทบบ้างจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดังนั้น ลูกหนี้ควรประเมินรายได้และรายจ่ายก่อนก่อหนี้ใหม่ ทั้งนี้ การทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อดูแลเงินเฟ้อที่สูง จึงยังคุ้มค่ากว่า

          อย่างไรก็ดี ยังมีลูกหนี้กลุ่มเปราะบางจากรายได้ที่ยังไม่กลับมาเต็มที่ เช่น ลูกหนี้รายย่อยที่มีสินเชื่อไม่มีหลักประกัน และภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ธปท. จึงยังต้องดำเนินมาตรการเฉพาะจุดเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง ดังนี้

          1.ผลักดันมาตรการเฉพาะจุดที่ยังมีผลอยู่ ทั้งการแก้หนี้เดิมผ่านมาตรการหลัก คือ มาตรการแก้หนี้ระยะยาว 3 ก.ย. ซึ่งยังมีผลใช้ได้จนถึงสิ้นปี 66 และโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ ที่มีผลถึงสิ้นเดือน เม.ย. 66 การเติมเงินใหม่อย่างมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ยังมีผลถึงสิ้นเดือน เม.ย. 66 ตลอดจนช่องทางเสริมให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้ เช่น คลินิกแก้หนี้ โครงการไกล่เกลี่ยหนี้ โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า มาตรการส่วนใหญ่มีผลบังคับใช้ “อย่างน้อย” ถึงปี 66 สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้น โดย ธปท. พร้อมปรับเปลี่ยนมาตรการให้ยืดหยุ่น ตามสถานการณ์และบริบทของลูกหนี้ 

          2. เพิ่มมาตรการดูแลลูกหนี้รายย่อยกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะลูกหนี้ในกลุ่มสินเชื่อไม่มีหลักประกัน ซึ่งได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ยังกลับมาไม่เต็มที่ และค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยเพิ่มมาตรการให้ตรงกับปัญหาของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม สำหรับกลุ่มที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย ให้คงการลดอัตราการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำที่ 5% ถึงปี 66 และคงการขยายระยะเวลาชำระหนี้ของสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่ 12 เดือนออกไปอีก 1 ปี ถึงปี 66 ส่วนกลุ่มที่เป็นหนี้เสีย จะปรับปรุงโปรแกรมการจ่ายหนี้ของคลินิกแก้หนี้ โดยเพิ่มทางเลือกการผ่อนชำระเพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีกำลังชำระสามารถจบหนี้ได้เร็วขึ้น ซึ่งลูกหนี้ที่เลือกแผนการชำระหนี้ที่มีระยะเวลาสั้น จะได้รับดอกเบี้ยที่ผ่อนปรนขึ้น รวมทั้งจะมีการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สำหรับบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ จำนำทะเบียน นาโนไฟแนนซ์ ในไตรมาส 3 ของปีนี้ เพื่อเป็นช่องทางเสริมให้ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางสามารถขอรับความช่วยเหลือได้

 

          โดยรวม การปรับนโยบายและมาตรการทางการเงินของ ธปท. ในระยะต่อไป จะยังเน้นการมองภาพเศรษฐกิจการเงินที่เชื่อมโยงอย่างรอบด้าน และมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ เพื่อให้การทยอยปรับนโยบายที่เข้าสู่ภาวะปกติในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและยังไม่ทั่วถึง ได้ผลตามที่ต้องการ คือ เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ไม่สะดุด และมีผลกระทบข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์น้อยที่สุด

——————————————————–

1) ฟิลิปปินส์ 8.1% และอินโดนีเซีย 9.1%

2) อัตราดอกเบี้ยนโยบาย หักด้วยประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปปี 65

3) อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนระยะ 1 ปี (rating A) หักด้วยประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปปี 65

4) ลูกหนี้ที่อยู่ภายใต้มาตรการช่วยเหลือเฉพาะ ธพ. จำนวน 1.6 ล้านบัญชี ยอดหนี้ 1.9 ล้านล้านบาท

ที่มา : bot

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่