เศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไรในไตรมาสที่ 2 หลังจากผ่านมาครั้งปี ดีขึ้น หรือแย่ลงอย่างไรจากข้อมูลของ สำนักงานภาคเหนือ สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสำนักงานภาคใต้ สายองค์กรสัมพันธ์ ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ สายนโยบายการเงิน
ผลสำรวจจากผู้ประกอบการทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการผ่อนคลายการเปิดประเทศ และมาตรการควบคุม อาทิ ยกเลิกระบบ Test & Go อนุญาตให้เปิดสถานบันเทิงและขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร
ภาคธุรกิจมองว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า โดยรวมรายได้ภาคธุรกิจปรับตัวดีขึ้น ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวจากปีก่อน ขณะที่ต้นทุนปรับเพิ่มสูงขึ้น
ขยายตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน และไตรมาสก่อน จากความกังวลการระบาด ของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ที่ลดลง ประชาชนปรับตัวท่ามกลางสถานการณ์ Omicron ได้ และได้อานิสงส์จากการฟื้นตัว ของภาคบริการ ทำให้เกิดการใช้จ่ายที่มากขึ้น
ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน และไตรมาสก่อนจากการเปิดประเทศที่ผ่อนคลายขึ้น และ การอนุญาต ให้เปิดสถานบันเทิงทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวปรับดีขึ้นทั้งจำนวน ธุรกิจที่กลับมาเปิด และจำนวนนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ
ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ทรงตัว จากไตรมาสก่อน จากการลงทุนสร้างที่อยู่ อาศัยแนวราบ เพื่อรองรับความต้องการซื้อ ที่ปรับดีขึ้น โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการ ตัดสินใจซื้อก่อนมีการปรับราคาที่อยู่อาศัย ในระยะข้างหน้า
ขยายตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน และ ไตรมาสก่อน โดยเฉพาะธุรกิจผลิตเพื่อส่งออก ตามความต้องการประเทศคู่ค้าที่มีต่อเนื่อง แม้จะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่ธุรกิจมีการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบ อาทิ ปรับ สูตรการผลิต เปลี่ยนวัสดุบรรจุภัณฑ์
* Balance of opinion : ตัวเลขแสดงสัดส่วนของผู้ที่ตอบว่ารายได้เพิ่มขึ้นลบด้วยสัดส่วนของผู้ที่ตอบว่ารายได้ลดลง เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
คาดว่าเศรษฐกิจปรับดีขึ้น ในอีก 12 เดือนข้างหน้า และมีสัดส่วนผู้ตอบ เพิ่มขึ้นในทุกสาขาธุรกิจ ทั้งนี้ ธุรกิจ ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจผ่านจุด ต่ำสุดแล้ว และจะกลับมาฟื้นตัวได้ใน ระยะต่อไป
ระบุว่าต้นทุนปรับเพิ่มขึ้นในทุกสาขาธุรกิจจากต้นทุนวัตถุดิบที่เป็นผลจากการขาด แคลน ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ค่าขนส่ง และราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ แนวโน้มเงินบาทอ่อนค่า ทำให้ ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าปรับตัวสูงขึ้น
ระบุว่าความต้องการของตลาดในประเทศต่ำ เป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นผลจากต้นทุน และราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น
ระบุว่าไม่จ้างงานเพิ่มเพื่อรักษาต้นทุนแรงงานไว้ ขณะเดียวกันหลายธุรกิจประสบปัญหาขาด แคลนแรงงานทักษะพื้นฐาน ทำให้ธุรกิจเน้นให้ พนักงานเดิมทำงานหลายทักษะมากขึ้น และ จ้างพนักงานชั่วคราวเสริมในบางช่วง
ภาพรวมธุรกิจและแนวโน้มจากมุมมองของผู้ประกอบการ (เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน)
ธุรกิจในทุกสาขาขยายตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน และทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า โดยธุรกิจในภาคการผลิต ขยายตัวตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า และการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการ ท่องเที่ยว รวมถึงธุรกิจภาคบริการและภาคอสังหาฯ ได้รับ ผลดีจากการผ่อนคลายนโยบายการเปิดประเทศ อย่างไรก็ ตาม กำลังซื้อที่เปราะบาง ปัญหาค่าครองชีพที่อยู่ใน ระดับสูง และต้นทุนทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้การ ฟื้นตัวของธุรกิจเป็นไปอย่างจำกัด
ธุรกิจโดยรวมขยายตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกัน ปีก่อนและไตรมาสก่อน จากเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการปรับดีขึ้น ตามการผ่อน คลายมาตรการจ ากัดการเดินทางระหว่างประเทศ และในประเทศ ส่งผลให้ธุรกิจการค้าบางส่วนปรับ ดีขึ้น รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มมีการ ลงทุนโครงการใหม่ ส่วนธุรกิจผลิตเพื่อส่งออกยัง ขยายตัวได้ อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนชิ้นส่วน การผลิต ราคาพลังงาน และค่าครองชีพที่สูงขึ้น ยังกดดันการฟื้นตัวของธุรกิจ
ธุรกิจส่วนใหญ่ขยายตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน และไตรมาสก่อน โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศที่คลี่คลายลง และการผ่อนคลายมาตรการควบคุม การระบาด ส่งผลดีต่อธุรกิจผลิตเพื่อจำหน่ายใน ประเทศ ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ และธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่เห็นการส่งผ่าน การขยายตัวการท่องเที่ยวมายังธุรกิจการค้า นอกจากนี้ ต้นทุนและราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้น ต่อเนื่องขณะที่กำลังซื้อยังเปราะบาง เป็นปัจจัย กดดันการฟื้นตัวของธุรกิจ
ธุรกิจโดยรวมขยายตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน และไตรมาสก่อน จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น หลังมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมในประเทศและเปิด ประเทศแบบไม่กักตัว ส่งผลดีต่อธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจ การค้า ขณะเดียวกันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปรับดีขึ้นจาก ความเชื่อมั่นในการลงทุนของผู้ประกอบการและความ ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่ปรับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจการ ผลิตหดตัวเล็กน้อยจากมาตรการ Zero covid ในจีน และ และอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่พึ่งพาตลาดจีน
จัดทำโดย สำนักงานภาคเหนือ สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสำนักงานภาคใต้ สายองค์กรสัมพันธ์ ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ สายนโยบายการเงิน
รายงานฉบับนี้ประมวลจากการสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจและหน่วยงานต่าง ๆ ในช่วงไตรมาสที่ 2ของปี 2565 ซึ่งสะท้อนกิจกรรมเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งสัญญาณเศรษฐกิจบางด้าน จึงอาจไม่สอดคล้องกับเครื่องชี้เศรษฐกิจในระดับ มหภาค ทั้งนี้ รายงานนี้แสดงความเห็นของธุรกิจในภาพรวม และไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่มา : bot
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |