fbpx
Search
Close this search box.

ไทยเล็งปรับโครงสร้างภาษี แลกหยุดภาษีตอบโต้จากสหรัฐฯ

ในปีนี้ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย และสหรัฐฯ กำลังเผชิญความท้าทายครั้งใหม่ เมื่อรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมบังคับใช้มาตรการ “ภาษีศุลกากรต่างตอบแทน” ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2568 โดยมาตรการดังกล่าว จะทำให้สหรัฐฯ สามารถปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่ค้าให้มีอัตราเทียบเท่ากับภาษีนำเข้าที่ประเทศนั้นเรียกเก็บจากสหรัฐฯ

เนื้อหา

สำหรับประเทศไทย ซึ่งพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ในฐานะ คู่ค้าหลักอันดับหนึ่ง นโยบายใหม่นี้อาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กระทรวงพาณิชย์ จึงได้เร่งดำเนินการวางแผนรับมือ โดยมีแนวทางหลัก ดังนี้ 

  • ปรับโครงสร้างภาษีนำเข้า

ไทยอาจปรับปรุงอัตราภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการ เพื่อสร้างความสมดุลและลดแรงกดดันจากสหรัฐฯ

  • เพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ

เช่น เครื่องบิน ถั่วเหลือง ข้าวโพด เพื่อให้สหรัฐฯ เห็นว่าไทยให้ความร่วมมือในการลดการค้าเกินดุล

  • วางแผนเจรจากับสหรัฐฯ

โดยกระทรวงพาณิชย์จะทำงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดแนวทางต่อรองที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการเปิดเผยแผนทั้งหมดก่อนการเจรจา

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับภาคธุรกิจไทย

  • กลุ่มผู้ส่งออกสินค้าไทย สินค้าไทยที่อาจได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณี และเครื่องประดับรถยนต์ ซึ่งล้วนเป็นสินค้าส่งออกหลักไปยังสหรัฐฯ หากอัตราภาษีนำเข้าสูงขึ้น ต้นทุนสินค้าจะเพิ่มขึ้น และอาจทำให้สินค้าไทยแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้ยากขึ้น 
  • อุตสาหกรรมเหล็กและวัสดุก่อสร้าง สหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมจากทุกประเทศเป็น 25% ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2568 ซึ่งอาจส่งผลให้เหล็กจากประเทศอื่น โดยเฉพาะ จีน เวียดนาม และอินเดีย ที่ถูกจำกัดการเข้าสหรัฐฯ หันมาส่งสินค้าทะลักเข้าไทยมากขึ้น กระทบต่อผู้ผลิตหลักในประเทศ
  • ธุรกิจ SME ไทย ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งมีสัดส่วนการส่องออกไปยังสหรัฐฯ กว่า 2.6 แสนล้านบาท อาจได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

แนวทางที่ไทยต้องดำเนินการต่อไป

  • กระจายตลาดการค้าไปยังประเทศอื่น เพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ไทยควรมุ่งเน้นตลาดใหม่ๆ เช่น BRICS, RCEP, อาเซียน และตะวันออกกลาง รวมถึงเร่งเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศต่างๆ 
  • ศึกษากลยุทธ์ของประเทศอื่น หลายประเทศ เช่น จีน เม็กซิโก สหภาพยุโรป และอินเดีย กำลังเผชิญกับมาตรการภาษีของสหรัฐฯ เช่นกัน ไทยควรนำแนวทางการเจรจาของประเทศเหล่านี้มาประยุกต์ใช้
  • ใช้โอกาสนี้เป็นเวทีต่อรอง มาตรการภาษีของสหรัฐฯ เปรียบเสมือนการเปิดโต๊ะเจรจาการค้าครั้งใหม่ ไทยจำเป็นต้องใช้โอกาสนี้ในการเจรจาต่อรองให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดผลกระทบต่อภาคธุรกิจ และสร้างความยืดหยุ่นให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

วันที่ 2 เมษายน 2568 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ต้องจับตามอง ว่าการเปลี่ยนแปลงทางการค้าระหว่างไทยและสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบมากน้อยเพียงใด รัฐบาลไทยและภาคเอกชนจะต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด และเตรียมความพร้อมในการปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกต่อไป

อ้างอิง

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่