fbpx
Search
Close this search box.

พฤติกรรมของ โรคขาดมือถือไม่ได้

คนนั่งอยู่บนพื้นกับโทรศัพท์ของตนเอง
ในยุคที่เทคโนโลยีต่างมีบทบาทสำคัญ และมีการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเรา หนึ่งในอุปกรณ์ที่ทุกคนขาดไม่ได้ในปัจจุบัน นั่นก็คือ ‘โทรศัพท์’ ที่คนส่วนใหญ่มักพกติดตัวไว้เสมือนอวัยวะอีกส่วนที่ร่างกายขาดไม่ได้ โดยพฤติกรรมการเสพติดโทรศัพท์มือถือนี้อาจก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “โนโมโฟเบีย” ซึ่งจะเป็นแบบไหน เอซียู เพย์ จะมาเล่าให้ฟัง

เนื้อหา

“โนโมโฟเบีย” พฤติกรรมขาดมือถือไม่ได้

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “โนโมโฟเบีย” ในนิยามทางการแพทย์นั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นกลุ่มอาการ โดยคำว่า “โนโม” เป็นคำที่ใช้เรียกแทนโมบายโฟน ส่วนคำว่า “โฟเบีย” แปลว่ากังวลอย่างมากต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกังวลมากเกินกว่าเหตุ จึงเรียกรวมกันเป็น “โนโมบายโฟนโฟเบีย” แต่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า “โนโมโฟเบีย” มาจากการที่โทรศัพท์มือถือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตประจำวัน

โนโมโฟเบีย (Nomophobia) เป็นอาการหวาดกลัวเมื่อต้องดำรงชีวิตอยู่โดยไม่มีมือถือหรือไม่ได้ใช้มือถือ ไม่ว่าจะเป็นการลืมพกมือถือติดตัว มือถือแบตหมด หรือการอยู่บริเวณที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ จะทำให้ผู้ที่มีภาวะนี้รู้สึกกระวนกระวายใจ หงุดหงิด เครียด มีเหงื่อออก ตัวสั่น หรือคลื่นไส้ 

พฤติกรรมติดมือถือส่งผลกระทบอะไรบ้าง ?

ทั้งนี้พฤติกรรมติดมือถืออาจส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง หรือการใช้ชีวิตประจำวันด้านต่างๆ ได้ และการใช้มือถือบ่อยจนเกินไปนั้นทำให้มีผลเสียต่างในเรื่องสุขภาพอีกด้วย 

รวมถึงการวางท่าทางที่ไม่เหมาะสมขณะใช้มือถือ อย่างการก้มหน้าเพ่งจอใกล้ ๆ เป็นเวลานาน หรืออยู่ในท่าที่ถือและใช้มือถือนาน ๆ อาจก่อให้เกิดโรคหรืออาการป่วยหลายอย่างตามมาได้เช่น นิ้วล็อค ปวดเกร็งบริเวณคอ บ่า ไหล่ จอประสาทตาเสื่อม หมอนรองกระดูกที่คอเสื่อมก่อนวัย เส้นประสาทสันหลังบริเวณคอถูกกดทับจนเป็นเหตุให้เกิดอาการชาที่แขน มือไม่มีแรง เป็นต้น 

นอกจากนี้ ผู้ที่นั่งหรือนอนเล่นมือถือเป็นเวลานานยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และการเดินเล่นมือถือหรือเล่นมือถือระหว่างเดินทาง อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือได้รับอันตรายต่อร่างกาย

อีกทั้งด้วยเทคโนโลยีสมาร์ตโฟน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต นั้นสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก และเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้คนเริ่มเข้าไปใช้งานจนเปลี่ยนไปเป็นลักษณะที่ว่าติดการใช้งาน เพราะสิ่งที่ได้รับพื้นฐาน คือเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสาร มีการตอบสนองได้รวดเร็ว เหมาะแก่การใช้ในการส่งข้อมูล ใช้เพื่อความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย อำนวยความสะดวก ทำหน้าที่ได้หลายฟังก์ชัน จึงมีการใช้ในการดำเนินชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความสามารถของโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูป การเล่นโซเชียล หรือเล่นเกม จนเริ่มกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจนรู้สึกว่าขาดไม่ได้

8 พฤติกรรมเข้าข่ายอาการ โนโมโฟเบีย (Nomophobia)

เเล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคขาดมือถือไม่ได้ เรามีวิธีเช็คตามนี้

  1. พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา
  2. เช็กข้อความในโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา แม้กระทั่งได้ยินเสียงคล้าย ๆ เสียงข้อความเข้า ถ้าไม่ได้ตรวจดูโทรศัพท์จะมีอาการกระวนกระวายใจ ไม่สามารถทำงานหรือปฏิบัติภารกิจตรงหน้าได้สำเร็จ ต้องดูหน้าจอโทรศัพท์เพื่อเช็กข้อความก่อน
  3. จับมือถือตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับ
  4. ใช้โทรศัพท์ระหว่างทานข้าว เข้าห้องน้ำ ขับรถ นั่งรอรถโดยสารประจำทาง และรถไฟฟ้า
  5. เมื่อหาโทรศัพท์ไม่เจอ หรือลืมโทรศัพท์ จะรู้สึกมีความกังวลใจมากตื่นตระหนกตกใจมาก
  6. ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือเลย
  7. ใช้เวลาพูดคุยกับเพื่อนในโลกออนไลน์มากกว่าคุยกับเพื่อนที่นั่งอยู่ตรงหน้า
  8. ห้ามใจไม่ให้เล่นโทรศัพท์ภายใน 1 ชั่วโมงไม่ได้

ถ้าเช็กตัวเองแล้วพบอาการที่เข้าข่ายครบทั้ง 8 ข้อ แสดงว่าคุณมีอาการของ โนโมโฟเบีย นั้นคือสัญญาณเตือนภัยแล้วว่า คุณจะมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสมองเนื่องจากการใช้งานเทคโนโลยีเป็นการรับข้อมูลของสมองที่ต้องใช้ความเข้มข้นสูงในการจ้องรับข่าวสารหรือใช้งานตลอดเวลา ทำให้สมองไม่มีช่วงเวลาพักเลย รวมไปถึงยังส่งผลเสียกับสายตา อาการปวดเมื่อยคอ บ่าไหล่ เพราะเวลาใช้งานโทรศัพท์จะเกิดอาการเกร็งโดยไม่รู้ตัว และปัญหาเรื่องสมาธิเพราะตัวภาพในจอจะรบกวนทำให้ระบบสมาธิลดลง

สุดท้ายแล้วโทรศัพท์มือถือนั้น มีบทบาทในการใช้ชีวิตมากขึ้นเป็นทั้งเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการใช้งานใช้จ่ายหรือเเม้เเต่แอปพลิเคชันการบริการหลากหลายมาก การขาดมันไปส่งผลให้การใช้ชีวิตในวันนั้น ๆ ติดขัดหรือล่าช้าได้อย่างเห็นได้ชัด จึงไม่เเปลกที่คนยุคใหม่จะมีโรคขาดมือถือไม่ได้หรือโนโมโฟเบีย (Nomophobia) นั่นเอง

อ้างอิง

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่