fbpx
Search
Close this search box.

มาทำความรู้จักกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร

มาทำความรู้จักกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

ต่อเนื่องมาจากคอนเทนต์ “ช้อปดีมีคืน 2566” หลายคนอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องใบกำกับภาษี เพื่อไปลดหย่อนภาษี บางคนอาจคิดว่าจำเป็นต้องซื้อของหน้าร้านเท่านั้นถึงจะขอใบกำกับภาษีได้ ที่จริงแล้วซื้อของออนไลน์ก็สามารถขอใบกำกับภาษีได้ ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์”  พร้อมทั้งมาบอกข้อดีของการที่เรามีใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยว่าคืออะไร มีข้อดีแบบไหนบ้าง และร้านแบบไหนบ้างที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้เราได้ ถ้าอยากรู้แล้วตาม ACU PAY ไปเรียนรู้พร้อมๆกันเลยค่ะ

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร

       ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นใบกำกับภาษีอีกรูปแบบหนึ่งที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์PDF ไฟล์DOC ไฟล์DOCX ไฟล์Word เป็นต้น ใช้สำหรับเป็นหลักฐานการใช้จ่ายและแสดงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เสียไปโดยไม่ต้องออกมาในรูปแบบกระดาษ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวข้องอย่างไรกับโครงการช้อปดีมีคืน 2566 เพราะโครงการช้อปดีมีคืนจำเป็นต้องใช้หลักฐานค่าใช้จ่ายสำหรับการลดหย่อนภาษี ซึ่งเงื่อนไขของการลดหย่อนภาษีคือต้องมีใบกำกับภาษี โดยแบ่งออกได้ 2 สิทธิ์คือ 

  1. ค่าชำระสินค้าและบริการจำนวน 30,000 บาท และมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
  2. ค่าชำระสินค้าและบริการ จำนวนไม่เกิน 10,000 บาท และมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

ตัวอย่างเช่น กรณีที่ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่า 50,000 บาท และขอใบกำกับภาษีในรูปแบบกระดาษ จะสามารถลดหย่อนภาษีเพียง 30,000 บาทเท่านั้น  แต่ถ้าหากซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่า 50,000 บาท และขอใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะสามารถลดหย่อนภาษีได้ 40,000 บาท

ใบกำกับภาษีควรมีรายละเอียดอะไรบ้าง

       ทั้งนี้การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะมีวิธีการออกได้ 2 อย่างคือ การส่งไปทางอีเมลของผู้ซื้อสินค้าและบริการ หรือจะเป็นการจัดพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษ โดยจะต้องมีข้อความว่า “เอกสารได้จัดทำและส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพกรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” ส่วนรายละเอียดอื่นๆของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มีรายละเอียดคือ

  • ต้องมีคำว่า “ใบกำกับภาษี”
  • มีรายละเอียดชื่อ ที่อยู่ และเลข 13 หลักของร้านค้า หรือผู้ออกใบกำกับภาษี
  • มีรายละเอียดชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อ
  • รายละเอียดชื่อ ชนิด ประเภท และมูลค่าราคาสินค้าและบริการ
  • จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • วันเดือนปีที่ออกใบกำกับภาษี
  • ลำดับที่ เล่มที่
  • มีลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์หรือตราประทับของทางร้านค้าหรือผู้ออกใบกำกับภาษี

วิธีการตรวจสอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

  1. โดยส่วนมากจะเป็นการส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางอีเมลหรือแอปพลิเคชันที่ทางร้านค้ากำหนด 
  2. เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วส่วนมากจะเป็นไฟล์ PDF หรือหากเป็นไฟล์อื่นก็ไม่ต้องตกใจ
  3. สามารถนำไฟล์เหล่านั้นไปตรวจสอบได้ที่ https://validation.teda.th/webportal/v2/#/validate โดยวิธีการแนบไฟล์ที่เราได้รับจากบริษัทหรือร้านค้านั้นๆ
  4. อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการที่สามารถออกใบกำกับภาษีได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่