fbpx
Search
Close this search box.

มาทำความรู้จักกับ “แบล็คลิสต์” สำคัญยังไงเมื่อต้องกู้เงิน

มาทำความรู้จักกับ “แบล็คลิสต์”

ก่อนที่จะกู้เงิน หรือทำธุรกรรมการเงินเกี่ยวกับการผ่อนบ้าน ผ่อนรถ อย่างไรก็ตาม ก่อนจะทำธุรกรรมเหล่านี้จำเป็นจะต้องเช็กเครดิตบูโรและแบล็คลิสต์ก่อนว่าผู้กู้สามารถมีกำลังในการผ่อนจ่ายชำระหนี้ได้หรือไม่ ซึ่งวันนี้ ACU PAY จะพาทุกคนไปรู้จักกับ “แบล็คลิสต์” ว่าคืออะไร และใครที่เป็นมนุษย์เงินเดือนจำเป็นต้องรู้อย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าไม่อยากเสียโอกาสในด้านการเงิน การกู้สินเชื่อต่างๆ พร้อมทั้งวิธีแก้ไขหากเราติดแบล็กลิสต์มาก่อนแล้วต้องทำยังไง ถ้าอยากรู้แล้วไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

แบล็คลิสต์คืออะไร

       แบล็คลิสต์ (Blacklist) คือ ผู้กู้เงินหรือสินเชื่อรวมไปถึงบัตรเครดิต และไม่สามารถชำระเงินได้ตรงตามเวลาที่กำหนด และค้างค่าชำระหนี้มากกว่า 3 เดือน หรือ 90 วัน จะทำให้ไม่สามารถทำเรื่องกู้เงิน กู้สินเชื่อหรือทำบัตรเครดิตใหม่ได้ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในบัญชีดำหรือแบล็คลิสต์ที่เรารู้จักกันนั้นเอง 

       และถึงแม้ว่าทางธนาคารหรือสถาบันการเงินจะตัดสินใจเองว่าผู้กู้มีสิทธิ์จะผ่านหรือไม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับแบล็กลิสต์ แต่ข้อมูลเหล่านี้สามารถยืนยันในเรื่องของรายได้ ความมั่นคง และความสามารถในการชำระหนี้ อีกทั้งยังให้ความมั่นใจกับทางสถาบันการเงินได้อีกด้วย

แบล็คลิสต์กับเครดิตบูโรต่างกันยังไง?

       หลายคนอาจกำลังเข้าใจผิดคิดว่าแบล็คลิสต์กับเครดิตเหมือนกัน แต่แท้ที่จริงนั้นเครดิตบูโรคือข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จะเป็นข้อมูลของผู้กู้เงิน ผู้กู้สินเชื่อ โดยมีทั้งข้อมูลการชำระหนี้ ข้อมูลการกู้ รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวอย่างเช่น ชื่อ นามสกุล อายุ วันเดือนปีเกิด เป็นต้น แต่สำหรับแบล็คลิสต์แล้วจะเป็นเพียงรายงานการผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่กำหนด โดยข้อมูลการผิดนัดไม่ชำระหนี้ก็จะไปปรากฎขึ้นที่เครดิตบูโรนั่นเอง

สามารถเช็กข้อมูลแบล็คลิสต์ย้อนหลังได้กี่ปี

       ข้อมูลแบล็คลิสต์จะถูกจัดเก็บเป็นข้อมูลในการชำระหนี้บนเครดิตบูโรเป็นเวลา 3 ปี สำหรับธนาคารหรือสถาบันการเงินบางแห่งอาจจะพิจารณาการกู้เงิน หรือกู้สินเชื่อ เปิดบัตรเครดิตใหม่เพิ่มและอนุมัติหลัง 3 ปีไปแล้วนับจากวันที่ปิดบัญชีหนี้เสีย หรือจ่ายหนี้ที่ติดแบล็คสิลต์ครบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

สาเหตุที่ไม่สามารถขอกู้เงิน กู้สินเชื่อหรือเปิดบัตรเครดิตได้นั้น อาจะเกิดจาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ

  1. รายได้ ข้อมูลไม่ตรงตามเงื่อนไขนั้นๆ เช่น รายได้ขั้นต่ำไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด , ระยะเวลาการทำงานประจำไม่ถึงเกณฑ์ โดยส่วนมากจะอนุมัติให้กับพนักงานที่ทำงานมาแล้ว 4 – 6 เดือนขึ้นไปเท่านั้น เป็นต้น
  2. ข้อมูลที่ปรากฎในเครดิตบูโรไม่ตรงตามเงื่อนไขของธนาคารหรือสถาบันการเงิน เช่น ประวัติการชำระหนี้ เป็นต้น

วิธีการแก้ไขไม่ให้ติดแบล็คลิสต์

1. ขอคำปรึกษาหรือเจรจาการธนาคาร

       ในข้อนี้ผู้กู้ที่ติดแบล็คลิสต์อาจจะต้องไปขอคำปรึกษา และเจรจากับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินว่าต้องการจะจ่ายหนี้สิน โดยขอเพิ่มระยะเวลาในการใช้หนี้ หรือปรับโครงหนี้

2. สรุปค่าใช้จ่ายการชำระหนี้ทั้งหมด

       สรุปยอดค่าใช้จ่ายหนี้ เช่น จำนวนเงินต้นที่กู้มาเท่าไหร่ และมีดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเท่าไหร่ หลังจากนั้นก็วางแผนว่าต้องการจะใช้หนี้ทั้งหมดกี่งวด เฉลี่ยว่าต้องจ่ายงวดละกี่บาท

3. ไม่สร้างหนี้เพิ่ม

       เพราะการสร้างหนี้จะไม่จบสิ้นสักที แล้วสิ่งที่ต้องการก็จะไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่สร้างหนี้อีกทั้งยังต้องลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย เช่น การไปช้อปปิ้ง หรือซื้อของที่ไม่จำเป็น เป็นต้น

4. ตรวจสอบข้อมูลเครดิต

       เราสามารถขอตรวจสอบเครดิตบูโรได้ตลอดเวลาทั้งทางออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อเป็นการอัพเดตข้อมูลของเรา และใครที่ติดแบล็คลิสต์ไปแล้ว เมื่อชำระปิดหนี้เสร็จอาจจะต้องรอถึง 3 ปีถึงจะทำธุรกรรมทางการเงินได้อีกครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่