อย่างที่เราทราบกันดีครับว่าเศรษฐกิจโลกตอนนี้ผันผวนหนัก ไม่ว่าประเทศไหนก็เจอภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบาก คำถามคือแล้วเศรษฐกิจประเทศไทยเป็นอย่างไร วันนี้เราลองมาดูคำตอบจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยกันครับ
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยถูกกระทบรุนแรงและเป็นวงกว้างจากสถานการณ์โควิด 19 GDP ปี 63 หดตัว 6.2% และเกิดหลุมรายได้ขนาดใหญ่จากการจ้างงานที่ลดลง อีกทั้งการฟื้นตัวก็ยังช้ากว่าประเทศในภูมิภาค เพราะพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวสูงถึง 12% ของ GDP ด้วยเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางและมีความเสี่ยงสูง ภาครัฐและ ธปท. จึงต้องผสมผสานนโยบายการคลังและการเงินอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวได้และระบบสถาบันการเงิน (สง.) ยังทำงานได้ตามปกติ ซึ่งถือว่าทำได้ดี สะท้อนจากสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) ไทยในปี 63-64 ยังโตได้ดีที่ 5-6% เทียบกับก่อนโควิดที่ 4-5%
มาวันนี้ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจนขึ้น จากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว หลังภาครัฐผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ และคาดว่าการฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดย GDP ปี 65 และ 66 คาดว่าจะอยู่ที่ 3.3% และ 4.2% ตามลำดับ ด้านตลาดแรงงานทยอยปรับดีขึ้น จำนวนผู้ว่างงานและผู้เสมือนว่างงานคาดว่าจะปรับลดลงมาที่ 2.4 ล้านคนในปี 66 ซึ่งใกล้ระดับก่อนโควิดที่ 2.3 ล้านคน ส่วนรายได้แรงงานนอกภาคเกษตรคาดว่าจะกลับมาเพิ่มขึ้น 12% ในปีนี้ จากที่เคยหดตัวถึง 18% ในปี 63 อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวในแต่ละภาคเศรษฐกิจยังไม่ทั่วถึง (K-shaped) กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับการส่งออกฟื้นตัวได้ดีเกินกว่าช่วงก่อนโควิดไปแล้ว ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวแม้ฟื้นตัวเร็วกว่าคาด แต่ยังต่ำกว่าระดับก่อนโควิดค่อนข้างมาก โดยในปีนี้ คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะอยู่ที่ 6 ล้านคน หรือ 15% ของจำนวนก่อนโควิด
ด้านอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากปัจจัยด้านอุปทานด้วยราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนเป็นหลัก โดยเห็นการส่งผ่านต้นทุนในประเทศมากขึ้นและมีการกระจายไปยังสินค้าหลายหมวด รวมถึงหมวดในกลุ่มเงินเฟ้อพื้นฐาน อาทิ ราคาอาหารสดและก๊าซหุงต้มที่ส่งผ่านไปราคาอาหารสำเร็จรูป ต้นทุนเคมีภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์และค่าขนส่งที่ส่งผ่านไปราคาสินค้าหมวดของใช้ส่วนตัว โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 65 และ 66 จะอยู่ที่ 6.2% และ 2.5% ตามลำดับ มองไปข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงด้านสูง จากการที่ต้นทุนหลายด้านปรับสูงขึ้นพร้อมกัน รวมทั้งผลการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ทำให้การส่งผ่านอาจมากและเร็วกว่าคาด และอาจมีแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่เร่งขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป
บริบทเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปมากเมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตโควิด ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินและมาตรการทางการเงินต้องปรับให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจการเงินและสมดุลความเสี่ยงใหม่ที่ให้น้ำหนักกับเงินเฟ้อมากขึ้น
เป้าหมายสำคัญของการดำเนินนโยบายในช่วงนี้ คือ ทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง ไม่สะดุด และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว สิ่งที่เราอยากเห็นมี 2 ส่วนหลัก คือ
1.เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน หรือมีเสถียรภาพด้านราคา เพราะเงินเฟ้อที่สูงจะส่งผลต่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางอย่างผู้มีรายได้น้อย เพราะรายได้หลักของคนกลุ่มนี้มักมาจากเงินเดือนหรือค่าจ้างเพียงแหล่งเดียว และเงินออมส่วนใหญ่เป็นเงินฝากที่มักถูกเงินเฟ้อกัดกร่อนได้มาก นอกจากนี้ ผู้มีรายได้น้อยมีสัดส่วนการใช้จ่ายในหมวดอาหารและพลังงานกว่า 55% เทียบกับคนรายได้สูงที่ 42% ซึ่งตั้งแต่ต้นปี เงินเฟ้อหมวดอาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 4.8% และหมวดพลังงานอยู่ที่ 29.8% นอกจากนี้ หากเงินเฟ้อสูงต่อเนื่องนาน จะทำให้คนคิดว่าเงินเฟ้อจะสูงต่อไปเรื่อย ๆ และยากที่จะปรับลดลง ผู้ประกอบการจึงอาจปรับขึ้นราคาสินค้า และลูกจ้างอาจขอขึ้นค่าจ้างต่อเนื่อง ซึ่งจะยิ่งทำให้เงินเฟ้อเพิ่มเร็วขึ้น (เครื่องยนต์เงินเฟ้อติด)
2. ระบบการเงินและระบบ สง. ทำงานได้ตามปกติ ไม่สะดุด เพราะเศรษฐกิจไทยยังพึ่งพาภาคธนาคารเป็นหลัก โดยกว่า 90% ของธุรกิจและครัวเรือนไทยพึ่งพาสินเชื่อจากธนาคารและ non-banks รวมถึง สง. ยังต้องทำหน้าที่เป็นกลไกส่งผ่านการช่วยเหลือไปยังลูกหนี้เปราะบางและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันสินเชื่อระบบ ธพ. ของไทยยังโตได้ดี ณ พ.ค. 65 โต 6.4% และสูงกว่าบางประเทศในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ (3.2%) และมาเลเซีย (5.1%)1
การที่ระบบ ธพ. จะไม่สะดุด ต้องเห็น (1) ธพ. มีฐานะแข็งแกร่ง NPL ต้องไม่เร่งขึ้นเร็วจนทำให้ระบบ ธพ. บริหารจัดการไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของระบบ ธพ. (NPL ratio) ยังต่ำต่อเนื่อง ณ พ.ค. 65 อยู่ที่ 2.96% ลดลงจากช่วงก่อนโควิด ณ Q1/63 ที่ 3.04% ส่วนอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) อยู่ที่ 20% อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (LCR) อยู่ที่ 190% และอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ 166% (2) ลูกหนี้รอดไปได้มากที่สุด โดยมาตรการต้องตรงจุดและตอบโจทย์ ใช้ทรัพยากรพอเหมาะ เพราะจะช่วยให้ ธพ. รอดไปด้วย และ
3. การทำงานของระบบ สง. ไม่ทิ้งผลข้างเคียงให้กับระบบการเงินโดยรวม ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว การคงมาตรการการเงินที่ส่งผลเป็นวงกว้าง (broad-based) ไว้นานเกินไป อาจบิดเบือนกลไกการทำงานและลดทอนประสิทธิภาพของระบบ สง. ในระยะยาวได้ เช่น การคงมาตรการลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF ออกไปอีก อาจทำให้ สง. บริหารความเสี่ยงไม่เหมาะสม อีกทั้งยังกระทบภาระทางการคลัง ขณะที่การจำกัดการจ่ายปันผลของ ธพ. เป็นเวลานาน อาจกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน นักวิเคราะห์ และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ อีกทั้งต่างประเทศได้ทยอยยกเลิกมาตรการนี้แล้ว
เป้าหมายสำคัญของการดำเนินนโยบายในช่วงนี้ คือ ทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง ไม่สะดุด และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว สิ่งที่เราอยากเห็นมี 2 ส่วนหลัก คือ
1. นโยบายการเงิน แม้เงินเฟ้อที่สูงจะมาจากปัจจัยด้านอุปทาน ซึ่งนโยบายดอกเบี้ยไม่สามารถจัดการได้โดยตรง แต่การขึ้นดอกเบี้ยจะช่วยสร้างความมั่นใจกับประชาชนว่านโยบายการเงินจะดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงขึ้นต่อในระยะข้างหน้า ในทางกลับกัน หากเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นอีก แต่เรายังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมที่แท้จริงลดลงไปอีก กลายเป็นเราเหยียบคันเร่งให้เศรษฐกิจ และนโยบายการเงินยิ่งผ่อนคลายมากขึ้น ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงยังติดลบที่ 5.70%2 และธุรกิจมีต้นทุนการกู้ยืมที่แท้จริงผ่านการออกตราสารหนี้ติดลบที่ 4.3% ต่ำกว่าสิ้นปีก่อนมากที่ 0.2%
การขึ้นดอกเบี้ยที่จะไม่ทำให้เศรษฐกิจสะดุด ควรทำแต่เนิ่น ๆ เมื่อเห็นสัญญาณ เพราะการส่งผ่านนโยบายการเงินต้องใช้เวลา หากช้าเกินไป อาจทำให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติด และต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยแรงขึ้นเพื่อดูแลภายหลัง ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจและประชาชนมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงแรกของการฟื้นตัว แรงส่งที่จะทำให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติดยังมีไม่มาก อีกทั้งเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ดังนั้น การปรับขึ้นดอกเบี้ยของไทยจึงยังไม่ช้าไป นอกจากนี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อทยอยถอนคันเร่ง แต่ยังไม่ต้องเหยียบเบรกหรือเร่งขึ้นดอกเบี้ย เพราะจะทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงเร็วไป จนประชาชนและภาคธุรกิจปรับตัวไม่ทัน และทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสะดุด ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการที่สุด
ทั้งนี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของไทยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับต่างประเทศ เพราะบริบทเศรษฐกิจการเงินช่วงนี้ต่างกัน เช่น เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวกลับมาดีกว่าช่วงก่อนโควิดแล้วตั้งแต่ครึ่งแรกของปี 64 และเงินเฟ้อสูงขึ้นมากจากอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวดี จึงต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดูแลให้เศรษฐกิจไม่ร้อนแรงและเกิด soft landing ขณะที่ไทยเพิ่งเริ่มฟื้นตัว การขึ้นดอกเบี้ยจึงต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เป็น smooth take-off
2. มาตรการทางการเงินที่ส่งผลเป็นวงกว้าง ต้องทยอยปรับเข้าสู่ภาวะปกติ ปัจจุบัน ฐานะ สง. ยังแข็งแกร่ง โดยมีเงินกองทุน สภาพคล่อง และเงินสำรองที่สูงเพียงพอในการรองรับความเสี่ยงในระยะข้างหน้า ขณะที่หากทำมาตรการที่เป็นวงกว้างนานเกินไป จะส่งผลข้างเคียงต่อระบบการเงินในระยะยาวได้ ดังนั้น จึงควรปรับมาตรการให้กลับมาสู่ระดับปกติมากขึ้น ได้แก่ (1) ยกเลิกการจำกัดอัตราจ่ายเงินปันผล โดยยังให้ สง. ยึดหลักความระมัดระวัง โดยพิจารณาอัตราจ่ายเงินปันผลให้สอดคล้องกับฐานะผลการดำเนินงานและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า และ (2) ปรับอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF กลับมาที่ 0.46% ต่อปี ให้มีผลตั้งแต่ปี 66
การปรับมาตรการสู่ภาวะปกติมีผลข้างเคียง แต่ชั่งน้ำหนักแล้วคุ้ม โดยผู้ฝากเงินจะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ขณะที่กลุ่มลูกหนี้บางประเภทที่ได้รับดอกเบี้ยลอยตัว (float) แม้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้น แต่ผลของดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นต่อค่าใช้จ่ายของครัวเรือนจะน้อยกว่าผลของเงินเฟ้อที่จะลดทอนกำลังซื้อของประชาชน โดยการประเมินของ ธปท. พบว่าดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้น 1% จะทำให้ภาระดอกเบี้ยของครัวเรือนที่มีหนี้โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.5% เทียบกับค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อที่ 3.6% ซึ่งมากกว่าผลของการขึ้นดอกเบี้ยกว่า 7 เท่า
นอกจากนี้ กรณีลูกหนี้เก่า หากเป็นสินเชื่อรายย่อย ประมาณ 60% ได้รับดอกเบี้ยคงที่ (fixed) อยู่แล้ว เช่น สินเชื่อเช่าซื้อ บัตรเครดิต ส่วนบุคคล ขณะที่สินเชื่อบ้าน แม้ดอกเบี้ยส่วนใหญ่เป็น float แต่จะกำหนดค่างวดไว้ก่อนแล้ว โดย สง. จะเผื่อดอกเบี้ยที่อาจปรับเพิ่มขึ้นไว้ในค่างวด ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ลูกหนี้ธุรกิจเกือบทั้งหมดจะเป็นดอกเบี้ยลอยตัวตาม M-rate กรณีลูกหนี้ใหม่ ได้รับผลกระทบบ้างจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดังนั้น ลูกหนี้ควรประเมินรายได้และรายจ่ายก่อนก่อหนี้ใหม่ ทั้งนี้ การทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อดูแลเงินเฟ้อที่สูง จึงยังคุ้มค่ากว่า
อย่างไรก็ดี ยังมีลูกหนี้กลุ่มเปราะบางจากรายได้ที่ยังไม่กลับมาเต็มที่ เช่น ลูกหนี้รายย่อยที่มีสินเชื่อไม่มีหลักประกัน และภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ธปท. จึงยังต้องดำเนินมาตรการเฉพาะจุดเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1.ผลักดันมาตรการเฉพาะจุดที่ยังมีผลอยู่ ทั้งการแก้หนี้เดิมผ่านมาตรการหลัก คือ มาตรการแก้หนี้ระยะยาว 3 ก.ย. ซึ่งยังมีผลใช้ได้จนถึงสิ้นปี 66 และโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ ที่มีผลถึงสิ้นเดือน เม.ย. 66 การเติมเงินใหม่อย่างมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ยังมีผลถึงสิ้นเดือน เม.ย. 66 ตลอดจนช่องทางเสริมให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้ เช่น คลินิกแก้หนี้ โครงการไกล่เกลี่ยหนี้ โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า มาตรการส่วนใหญ่มีผลบังคับใช้ “อย่างน้อย” ถึงปี 66 สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้น โดย ธปท. พร้อมปรับเปลี่ยนมาตรการให้ยืดหยุ่น ตามสถานการณ์และบริบทของลูกหนี้
2. เพิ่มมาตรการดูแลลูกหนี้รายย่อยกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะลูกหนี้ในกลุ่มสินเชื่อไม่มีหลักประกัน ซึ่งได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ยังกลับมาไม่เต็มที่ และค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยเพิ่มมาตรการให้ตรงกับปัญหาของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม สำหรับกลุ่มที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย ให้คงการลดอัตราการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำที่ 5% ถึงปี 66 และคงการขยายระยะเวลาชำระหนี้ของสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่ 12 เดือนออกไปอีก 1 ปี ถึงปี 66 ส่วนกลุ่มที่เป็นหนี้เสีย จะปรับปรุงโปรแกรมการจ่ายหนี้ของคลินิกแก้หนี้ โดยเพิ่มทางเลือกการผ่อนชำระเพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีกำลังชำระสามารถจบหนี้ได้เร็วขึ้น ซึ่งลูกหนี้ที่เลือกแผนการชำระหนี้ที่มีระยะเวลาสั้น จะได้รับดอกเบี้ยที่ผ่อนปรนขึ้น รวมทั้งจะมีการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สำหรับบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ จำนำทะเบียน นาโนไฟแนนซ์ ในไตรมาส 3 ของปีนี้ เพื่อเป็นช่องทางเสริมให้ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางสามารถขอรับความช่วยเหลือได้
โดยรวม การปรับนโยบายและมาตรการทางการเงินของ ธปท. ในระยะต่อไป จะยังเน้นการมองภาพเศรษฐกิจการเงินที่เชื่อมโยงอย่างรอบด้าน และมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ เพื่อให้การทยอยปรับนโยบายที่เข้าสู่ภาวะปกติในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและยังไม่ทั่วถึง ได้ผลตามที่ต้องการ คือ เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ไม่สะดุด และมีผลกระทบข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์น้อยที่สุด
——————————————————–
1) ฟิลิปปินส์ 8.1% และอินโดนีเซีย 9.1%
2) อัตราดอกเบี้ยนโยบาย หักด้วยประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปปี 65
3) อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนระยะ 1 ปี (rating A) หักด้วยประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปปี 65
4) ลูกหนี้ที่อยู่ภายใต้มาตรการช่วยเหลือเฉพาะ ธพ. จำนวน 1.6 ล้านบัญชี ยอดหนี้ 1.9 ล้านล้านบาท
ที่มา : bot
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |