fbpx
Search
Close this search box.

เเนวโน้มการใช้จ่ายของ “เบบี้บูมเมอร์” กับการเติบโตของเศรษฐกิจ

เจนเบบี้บูมเมอร์ เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่โชคดีที่สุดในประวัติศาสตร์ โตมาในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างแข็งแรงที่สุด เเต่คนกลุ่มนี้จะใช้จ่ายในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ได้อย่างไร ทาง เอซียู เพย์ จะมาบอกเล่าให้ฟัง

เนื้อหา

มีเงินเก็บ แต่ไม่ค่อยใช้

คนกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ส่วนใหญ่มักจะคิดว่า คนเราเมื่อวัยหนุ่มสาวก็จะใช้จ่ายมากกว่ารายได้ เพื่อใช้ในการเรียน ซื้อบ้านหลังแรก จนวัยกลางคนก็เริ่มเก็บเงินเกษียณ พอวัยเกษียณก็ขายสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อเลี้ยงชีพ แล้วทีนี้พอคนรุ่นนี้ถึงวัยเกษียณก็จะเจอกับอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูง เนื่องจากพอคนเกษียณแล้วจะใช้จ่ายอย่างอิสระ ทำให้อุปสงค์ต่อสินค้าเพิ่มขึ้นจนเกิดเงินเฟ้อ และในขณะเดียวกัน การนำเงินออกมาใช้มากกว่าการเก็บออมลงทุน ส่งผลให้ทางการเงินไม่ค่อยมีความคล่องตัวต้องใช้เงินส่วนต่าง ๆ มาทดเเทนส่วนที่เสียเกินกว่าเหตุไป

แต่สถานการณ์ในปัจจุบันกลับไม่เหมือนอย่างที่คิด

เมื่อลองมองดูตัวอย่างจากประเทศอิตาลีและญี่ปุ่น ประเทศที่เต็มไปด้วยประชากรสูงอายุ ก็พบว่าอัตราเงินเฟ้อต่ำและอัตราดอกเบี้ยก็ต่ำมาหลายปีแล้ว

งานวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์สองคนอย่าง Yoko Niimi และ Charles Horioka ชี้ให้เห็นว่าผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นนั้นใช้จ่ายเพียง 1-3% ของความมั่งคั่งต่อปี นั่นหมายความว่าหลาย ๆ คนจะจากไปพร้อมกับทรัพย์สมบัติมากมาย

หรืออย่างในอิตาลี งานวิจัยของ Luigi Ventura และ Horioka ก็พบว่า 40% ของคนสูงอายุที่เกษียณก็สะสมความมั่งคั่งต่อไป

ทำให้นักลงทุนมองว่าคนเบบี้บูมเมอร์เป็นกลุ่มคนที่ชอบเก็บเงินมากกว่าจะเป็นคนที่ใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์บางส่วนก็เลือกที่จะลดขนาดบ้านลง ทำให้มีเงินเหลือไปใช้จ่ายอย่างอื่นในชีวิต เเละ ทำไมคนเบบี้บูมเมอร์ถึงใช้เงินน้อยกัน ?

นั่นก็เป็นเพราะคนยุคเบบี้บูมเมอร์ลังเลที่จะใช้จ่ายเงินที่เก็บมาอย่างเต็มที่ คาดว่ามาจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ นั้นก็คือ

1. อยากส่งต่อมรดกให้กับคนรุ่นใหม่

คนรุ่นนี้รู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่สามารถเก็บเงินจนมั่งคั่งได้ ก็เลยอยากส่งต่อมรดกให้ลูกหลาน ที่อาจต้องลำบากในการจะหาเงินซื้อบ้าน ค่าเล่าเรียน จากข้อมูลพบว่ากระแสเงินจากคนที่เสียชีวิตแล้วส่งต่อไปยังคนที่ยังอยู่ สูงขึ้นในกลุ่มประเทศที่ร่ำรวย อย่างในสหรัฐมีการรับมรดกในแต่ละปี มากกว่าในช่วง ทศวรรษ 1980-1990 ถึง 50%

2. วิกฤตของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา

จากโควิดที่เข้ามาทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนไป คนเบบี้บูมเมอร์นั้นออกไปกินอาหารนอกบ้านน้อยลงกว่าก่อนเกิดโควิด ตลอดจนใช้จ่ายเพื่อซื้อประสบการณ์น้อยลงหลังจากเกิดโควิดจึงทำให้การใช้จ่ายลดลงไปอย่างเห็นได้ชัด

3. ความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาตัวเอง

ด้วยความที่เทคโนโลยีก้าวหน้าจนคนอายุยืนกว่าในอดีต คนเบบี้บูมเมอร์บางคนอาจจะอายุเกิน 100 ปี นั่นหมายความว่าพวกเขาจะต้องใช้ชีวิตหลังเกษียณอีกเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะกลายเป็นภาระทางการเงินในอนาคตหลังเกษียณ โดยเฉพาะคนที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาตลอด 24 ชั่วโมง จากการสำรวจพบว่าสัดส่วนของคนอเมริกันที่มั่นใจว่าตัวเองมีเงินเก็บเพียงพอสำหรับเกษียณ ลดลงจาก 40% ในช่วงกลางทศวรรษ 2000 เหลือเพียง 30% เพราะด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเศรษฐกิจเรื่องเงินที่เฟ้อมากยิ่งขึ้น

ถึงแม้ว่าคนเบบี้บูมเมอร์ในประเทศร่ำรวยจะมีความมั่งคั่งสูง และเน้นการเก็บออมเพื่ออนาคต ทำให้สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการเติบโตของตลาดอาจจะไม่ได้เหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไปเเละมีการคาดเคลื่อนในเศรษฐกิจในปัจจุบัน

เเหล่งอ้างอิง

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่