fbpx
Search
Close this search box.

4 ขั้นตอนการเงินเป็นสัดส่วน 50/30/20

รู้หรือไม่ว่าการออมเงินไม่ได้ยากอย่างที่คิด! เพียงแค่ต้องรู้เทคนิคการออมเงินและนำมาปรับใช้กับตนเองให้เป็นนิสัย หากคุณเป็นหนึ่งคนที่อยากรู้จักกับวิธีเก็บเงินแบบมนุษย์เงินเดือนด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ทำได้จริง ทาง ACU PAY นำเสนอบทความนี้มาบอกสูตรการออมเงินแบบหมดเปลือกให้ทุกคนได้รู้กัน

เนื้อหา

ขั้นตอนที่ 1: แบ่งสัดส่วนเงินให้ชัดเจน สูตรออมเงินที่ดี ต้องเริ่มด้วยการแบ่งสัดส่วนค่าใช้จ่ายให้เป็น

สูตรการออมเงิน ข้อแรกก็คือการแบ่งสัดส่วนของเงินตั้งแต่ที่ได้เงินมา ข้อดีของเทคนิคการแบ่งสัดส่วนของเงินให้ชัดเจนนั้น คือช่วยให้เราสามารถบริหารเงินได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะรู้ว่าเงินที่มีนั้นจะต้องนำไปใช้จ่ายในส่วนใดบ้าง และมีส่วนใดที่เหลือเก็บ หลาย ๆ คนใช้เทคนิคการออมเงินแบบนี้ในการเริ่มเก็บเงินง่าย ๆ และได้ผลมาแล้ว

        สูตรแบ่งสัดส่วนที่ถูกนิยมใช้กันคือ “50-30-20” ซึ่งจะแบ่งออกเป็น “ค่าใช้จ่ายประจำวัน-ค่าใช้จ่ายส่วนตัว – เงินสำหรับเก็บออม” ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่าย ๆ คือ เงินเดือน 20,000 บาท ก็แบ่งเป็น 3 ส่วนทันที 

  • ส่วนแรก 50%  10,000 บาท 
  • ส่วนที่สองจำนวน 30% 6,000 บาท 
  • และส่วนสุดท้าย 20% 4,000 บาท 

ส่วนที่หนึ่ง 50% เพื่อค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจำนวนนี้ถือเป็นสัดส่วนก้อนใหญ่สุด โดยก้อนแรกนี้ถูกแบ่งออกมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับชีวิตประจำวัน หรือค่าใช้จ่ายจำเป็นต่อการอุปโภคบริโภค ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายในหมวดนี้ อาทิเช่น ค่าผ่อนบ้านผ่อนรถ, ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์, ค่าอาหาร, ค่าเดินทาง เป็นต้น ยกตัวอย่างการแบ่งเงินง่าย ๆ

ขั้นตอนที่ 2: ช้อปเท่าไหร่ ออมเท่านั้น! สายช้อปต้องหักดิบ จ่ายเท่าไหร่ เก็บเท่านั้น!

  ส่วนที่สอง 30% สำหรับเงินออม เมื่อทำงานหาเงินมาได้อย่างเหน็ดเหนื่อย ก็ต้องมีการใช้เงินเพื่อให้ความสุขตัวเองบ้าง เช่น ทานอาหารมื้อพิเศษในโอกาสพิเศษ ช้อปปิ้ง ท่องเที่ยว เป็นต้น ถึงแม้จะกันสัดส่วนนี้เป็นเงินใช้จ่ายเพื่อให้รางวัลตัวเอง แต่ควรทบทวนวางแผนให้รอบคอบว่ามีความจำเป็นจริงหรือไม่และความถี่ไม่บ่อยเกินไป 

เช่น อาจใช้วิธีการกำหนดจำนวนครั้งในการทานอาหารมื้อพิเศษไม่เกินเดือนละ 2 ครั้ง หรือการซื้อเสื้อผ้าใหม่เดือนละ 1 ชิ้น เป็นต้น ก็จะช่วยให้การใช้จ่ายเงินไม่เกินสัดส่วนที่ตั้งงบประมาณที่วางเอาไว้

ขั้นตอนที่ 3: ศึกษาการลงทุนต่าง ๆ หากมีเงินเย็น สามารถนำไปลงทุนต่อได้หลากหลายช่องทาง

ส่วนสุดท้ายคืออีก 20% ที่เหลือจากรายรับต่อเดือนทั้งหมด โดยนำเงินส่วนนี้มาเก็บออมวางแผนอนาคตให้กับตนเองในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุน เช่น กองทุน SSF กองทุน RMF ที่ได้ทั้งลดหย่อนภาษีและเป็นเงินเก็บเพื่อยามเกษียณ และสามารถแบ่งซอยย่อยการเก็บออมในรูปแบบออมทรัพย์ได้อีก เนื่องจากการออมลักษณะนี้สภาพคล่องสูงเพื่อมีไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน อีกทั้งยังความเสี่ยงต่ำไม่สูญเสียเงินต้นอีกด้วย

SSF ย่อมาจาก “Super Savings Fund” หรือ “กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว” ที่สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท แถมยังไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่กำหนดว่าต้องซื้อต่อเนื่อง แต่มีข้อแม้ว่าซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี ทั้งหมดไม่เกิน 200,000 บาท โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2567 ซื้อแล้วถือได้ยาว ๆ 10 ปีไปเลย แถมยังสามารถนำไปหักภาษีได้อีกด้วย!

RMF ย่อมาจาก “Retirement Mutual Fund” หรือเรียกว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” ซึ่งเป็นกองทุนที่สนับสนุนให้คนไทยเก็บออมระยะยาว สำหรับเป็นเงินที่เอาไว้ใช้ในช่วงเกษียณอายุ กองทุนประเภทนี้นั้นจะต้องซื้อเป็นประจำทุกปี ลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้แต่ละปีหรือ 5,000 บาท และสามารถขายคืนได้เมื่อผู้ลงทุนมีอายุ 55 ปีขึ้นไป

         การลงทุนเหล่านี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของสูตรออมเงิน ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่าลืมว่าทุกการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ทางที่ดีควรทำการศึกษาหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีประสบการณ์ก่อนเพื่อความชัวร์ในการลงทุนแต่ละครั้งด้วย

ขั้นตอนที่ 4: หาตัวช่วยดี ๆ ในการจัดการเงิน แอปพลิเคชันรายรับรายจ่าย หรือแอปช่วยออมเงินก็น่าสนใจ

ปิดท้ายเทคนิคการออมเงินด้วยการมองหาตัวช่วยดี ๆ อย่างการทำรายรับรายจ่าย ที่ในปัจจุบันนั้นมีแอปพลิเคชันรายรับรายจ่ายให้ดาวน์โหลดมาใช้กันแบบฟรี ๆ หลากหลายแอปซึ่งจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์และวางแผนการใช้เงินของเราได้ว่ามีรายจ่ายส่วนใดบ้างที่ควรจะต้องลดลง หรือสามารถตัดทอนให้น้อยลงได้ เพื่อให้มีเงินเหลือสำหรับใช้จ่ายและเก็บออมมากยิ่งขึ้น

จากเคล็ดลับการแบ่งเงินเพื่อแก้ปัญหาเงินไม่พอใช้ที่กล่าวมาดูเหมือนการใช้จ่ายเงินจะไม่ใช่เรื่องยากอะไร อีกต่อไป เพราะการเเจกเเจงเงินเป็นสัดส่วนจะช่วยให้เราคำนวณความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายในอนาคตล่วงหน้า

อ้างอิง : fwd/makebykbank.kbtg.tech/scb/kbank/ananda

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่