ดร.ฐิติมา ชูเชิด ฝ่ายนโยบายการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ช่วงปีนี้สกุลเงินประเทศต่าง ๆ อ่อนค่าไปตามกัน ถ้าเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งขึ้นมากหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศขึ้นดอกเบี้ยแรงสกัดเงินเฟ้อ แต่เงิน “รูเบิลรัสเซีย” กลับแข็งค่ามากทั้งที่โดนคว่ำบาตรหนักจากนานาชาติตะวันตก สร้างความประหลาดใจให้ผู้ติดตามสถานการณ์ว่า เหตุใดเงินรูเบิลฆ่าไม่ตาย? เนื้อแท้เบื้องหลังคืออะไรกันแน่?
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขอความร่วมมือชาติพันธมิตรช่วยกันคว่ำบาตรลงโทษรัสเซียรุนแรงอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน เพื่อลดความเชื่อมั่นของโลกที่มีต่อเศรษฐกิจรัสเซียและต้องการลดความแข็งกร้าวของรัสเซียลง ทำให้นักลงทุนเทขายเงินรูเบิลจนอ่อนค่าเกือบครึ่งหนึ่งจากราว 80 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐก่อนโดนคว่ำบาตร เป็นกว่า 150 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงต้นเดือน มี.ค. 65 นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของรัสเซียยังถูกตัดออกจากระบบสื่อสารโอนเงินระหว่างธนาคารในโลก (SWIFT) เงินสำรองระหว่างประเทศที่ธนาคารกลางรัสเซียฝากหรือลงทุนในสหรัฐฯ หรือสหภาพยุโรปก็ถูกอายัดไม่ให้เข้าถึงสกุลเงินตราต่างประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของเงินสำรองฯ รัสเซียทั้งหมดที่มีมูลค่ากว่า 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ รัสเซียยังโดนตัดออกจากระบบขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางอากาศและเรือทำให้ค้าขายกับโลกได้ลำบากขึ้น
เช่น ธนาคารกลางรัสเซียขึ้นดอกเบี้ยรวดเดียว 10.5% เพิ่มจาก 9.5% เป็น 20% ทันทีในวันที่ 28 ก.พ. 65 หลังโดนคว่ำบาตรเพื่อดึงดูดเงินฝากไม่ให้โยกออกจากประเทศ และออกมาตรการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้มงวด เช่น ไม่ให้นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์รัสเซียถอนเงินตราต่างประเทศออก ไม่ให้ธนาคารขายเงินตราต่างประเทศให้ลูกค้ารายย่อยและกำหนดให้ลูกค้ารายย่อยสามารถถอนเงินจากบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศที่เปิดไว้ได้ไม่เกิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ และกำหนดให้บริษัทส่งออกต้องแลกรายได้เงินตราต่างประเทศ 80% กลับมาเป็นเงินรูเบิล รวมถึงใช้ไม้ตายกำหนดให้ประเทศผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียต้องจ่ายเป็นเงินรูเบิลเท่านั้น
ในเดือน เม.ย. ค่าเงินรูเบิลเริ่มกลับมาแข็งค่าได้อย่างต่อเนื่อง ธนาคารกลางรัสเซียจึงทยอยลดดอกเบี้ยลงหลายครั้ง ๆ ละ 3% ในวันที่ 8 เม.ย. 29 เม.ย. 26 พ.ค. และต่อมาลดต่ออีก 1.5% ในวันที่ 10 มิ.ย. มาอยู่ที่ 9.5% และเริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดของบางมาตรการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ายลง เช่น กำหนดให้บริษัทส่งออกต้องแลกรายได้เงินตราต่างประเทศ 50% กลับมาเป็นเงินรูเบิล หากดูภาพรวมตั้งแต่ต้นปีถึงกลางเดือน ก.ค. จะพบว่าเงินรูเบิลแข็งค่ากว่าเงินดอลลาร์สหรัฐราว 28% อยู่ที่ 57 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐ (ในวันที่เขียนบทความนี้) สาเหตุจากดุลการค้าเกินดุลสูง ขณะที่ธนาคารกลางรัสเซียยังถูกคว่ำบาตรไม่สามารถเข้าแทรกแซงค่าเงินด้วยการเข้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินรูเบิลได้เช่นเดิม ทำให้รัสเซียเผชิญปัญหาค่าเงินรูเบิลแข็งมากจนทำให้ราคาสินค้าส่งออกแพง รายได้ส่งออกคิดกลับมาเป็นเงินรูเบิลมีมูลค่าน้อยลง ขณะที่ผู้นำเข้าแทบไม่ได้ประโยชน์จากเงินรูเบิลแข็ง เพราะถูกโลกแบนไม่ขายสินค้าให้ ดุลการค้าจึงเกินดุลสูงจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์และน้ำมันแพง แต่การนำเข้ากลับหดตัวลงมาก
แต่กลับสะท้อนผลจากกลไกฝืนธรรมชาติใช้มาตรการควบคุมเงินทุนไหลออกเข้มข้น การโดนคว่ำบาตรทำให้การลงทุนระหว่างประเทศและการนำเข้าลดฮวบ ไม่เป็นผลดีในระยะยาวเพราะเศรษฐกิจรัสเซียจะปิดและมีขนาดเล็กลง ไม่สามารถนำเข้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในโลกได้เท่าทัน รัสเซียจึงจับมือพันธมิตรกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้) ที่มีประชากรรวมกันมากกว่า 3 พันล้านคน และหลายฝ่ายคาดกันว่ากลุ่ม BRICS จะมีบทบาทในการค้าโลกสูงเกือบครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 เพื่อเตรียมปรับโครงสร้างการผลิตและการส่งออก หาตลาดใหม่ แก้ปัญหาโลจิสติกส์ โดยกลุ่ม BRICS ประชุมเมื่อเดือน มิ.ย. ได้ข้อสรุปว่า ไม่เห็นด้วยที่ชาติตะวันตกใช้การคว่ำบาตรเป็นอาวุธ และมีแผนตั้งเครือข่ายระบบการชำระเงินใหม่ เน้นใช้สกุลเงินตนเองค้าขายระหว่างกัน เพื่อไม่ให้ระบบการค้า ระบบการเงิน ระบบการชำระเงินระหว่างประเทศอยู่ภายใต้การควบคุมของชาติตะวันตกและสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมากเกินไป
หากธนาคารกลางรัสเซียยกเลิกมาตรการคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย หรือชาติอื่นปรับตัวหาตัวเลือกอื่นไม่ทนซื้อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแพงจากรัสเซียต่อแล้ว เช่น สหภาพยุโรปที่ออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอีกรอบในช่วงต้นเดือน มิ.ย. 65 โดยประกาศให้ประเทศสมาชิกยุติการพึ่งพาพลังงานรัสเซียให้ได้ภายในสิ้นปี 2565 ส่งผลให้เศรษฐกิจรัสเซียอาจถดถอยจากผลกระทบของการคว่ำบาตรที่น่าจะรุนแรงขึ้นในช่วงข้างหน้า เงินเฟ้ออาจกลับมาเร่งตัวสูงหากเงินรูเบิลกลับมาอ่อนค่ามากอีกครั้ง (ล่าสุดธนาคารกลางรัสเซียคาดการณ์ไว้ว่า เศรษฐกิจรัสเซียปีนี้อาจหดตัวถึง 8 – 10% เงินเฟ้อสูง 14 – 17% แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก) น่าสังเกตว่ายิ่งนานวันเข้า รัสเซียอาจยิ่งหาสินค้านำเข้าได้ลำบากขึ้น โดยเฉพาะสินค้านำเข้าเพื่อสนับสนุนการเติบโตและเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจ
ซึ่งจะมีนัยต่อการเดินเกมของรัสซียในการเข้ารุกรานยูเครนแบบยอมหักไม่ยอมงอต่อไป และส่งผลให้ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์แบ่งขั้วอำนาจในโลกนับวันจะยิ่งขยายวงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
1. นโยบายการเงิน แม้เงินเฟ้อที่สูงจะมาจากปัจจัยด้านอุปทาน ซึ่งนโยบายดอกเบี้ยไม่สามารถจัดการได้โดยตรง แต่การขึ้นดอกเบี้ยจะช่วยสร้างความมั่นใจกับประชาชนว่านโยบายการเงินจะดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงขึ้นต่อในระยะข้างหน้า ในทางกลับกัน หากเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นอีก แต่เรายังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมที่แท้จริงลดลงไปอีก กลายเป็นเราเหยียบคันเร่งให้เศรษฐกิจ และนโยบายการเงินยิ่งผ่อนคลายมากขึ้น ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงยังติดลบที่ 5.70%2 และธุรกิจมีต้นทุนการกู้ยืมที่แท้จริงผ่านการออกตราสารหนี้ติดลบที่ 4.3% ต่ำกว่าสิ้นปีก่อนมากที่ 0.2%
การขึ้นดอกเบี้ยที่จะไม่ทำให้เศรษฐกิจสะดุด ควรทำแต่เนิ่น ๆ เมื่อเห็นสัญญาณ เพราะการส่งผ่านนโยบายการเงินต้องใช้เวลา หากช้าเกินไป อาจทำให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติด และต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยแรงขึ้นเพื่อดูแลภายหลัง ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจและประชาชนมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงแรกของการฟื้นตัว แรงส่งที่จะทำให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติดยังมีไม่มาก อีกทั้งเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ดังนั้น การปรับขึ้นดอกเบี้ยของไทยจึงยังไม่ช้าไป นอกจากนี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อทยอยถอนคันเร่ง แต่ยังไม่ต้องเหยียบเบรกหรือเร่งขึ้นดอกเบี้ย เพราะจะทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงเร็วไป จนประชาชนและภาคธุรกิจปรับตัวไม่ทัน และทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสะดุด ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการที่สุด
ทั้งนี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของไทยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับต่างประเทศ เพราะบริบทเศรษฐกิจการเงินช่วงนี้ต่างกัน เช่น เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวกลับมาดีกว่าช่วงก่อนโควิดแล้วตั้งแต่ครึ่งแรกของปี 64 และเงินเฟ้อสูงขึ้นมากจากอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวดี จึงต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดูแลให้เศรษฐกิจไม่ร้อนแรงและเกิด soft landing ขณะที่ไทยเพิ่งเริ่มฟื้นตัว การขึ้นดอกเบี้ยจึงต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เป็น smooth take-off
2. มาตรการทางการเงินที่ส่งผลเป็นวงกว้าง ต้องทยอยปรับเข้าสู่ภาวะปกติ ปัจจุบัน ฐานะ สง. ยังแข็งแกร่ง โดยมีเงินกองทุน สภาพคล่อง และเงินสำรองที่สูงเพียงพอในการรองรับความเสี่ยงในระยะข้างหน้า ขณะที่หากทำมาตรการที่เป็นวงกว้างนานเกินไป จะส่งผลข้างเคียงต่อระบบการเงินในระยะยาวได้ ดังนั้น จึงควรปรับมาตรการให้กลับมาสู่ระดับปกติมากขึ้น ได้แก่ (1) ยกเลิกการจำกัดอัตราจ่ายเงินปันผล โดยยังให้ สง. ยึดหลักความระมัดระวัง โดยพิจารณาอัตราจ่ายเงินปันผลให้สอดคล้องกับฐานะผลการดำเนินงานและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า และ (2) ปรับอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF กลับมาที่ 0.46% ต่อปี ให้มีผลตั้งแต่ปี 66
การปรับมาตรการสู่ภาวะปกติมีผลข้างเคียง แต่ชั่งน้ำหนักแล้วคุ้ม โดยผู้ฝากเงินจะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ขณะที่กลุ่มลูกหนี้บางประเภทที่ได้รับดอกเบี้ยลอยตัว (float) แม้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้น แต่ผลของดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นต่อค่าใช้จ่ายของครัวเรือนจะน้อยกว่าผลของเงินเฟ้อที่จะลดทอนกำลังซื้อของประชาชน โดยการประเมินของ ธปท. พบว่าดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้น 1% จะทำให้ภาระดอกเบี้ยของครัวเรือนที่มีหนี้โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.5% เทียบกับค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อที่ 3.6% ซึ่งมากกว่าผลของการขึ้นดอกเบี้ยกว่า 7 เท่า
นอกจากนี้ กรณีลูกหนี้เก่า หากเป็นสินเชื่อรายย่อย ประมาณ 60% ได้รับดอกเบี้ยคงที่ (fixed) อยู่แล้ว เช่น สินเชื่อเช่าซื้อ บัตรเครดิต ส่วนบุคคล ขณะที่สินเชื่อบ้าน แม้ดอกเบี้ยส่วนใหญ่เป็น float แต่จะกำหนดค่างวดไว้ก่อนแล้ว โดย สง. จะเผื่อดอกเบี้ยที่อาจปรับเพิ่มขึ้นไว้ในค่างวด ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ลูกหนี้ธุรกิจเกือบทั้งหมดจะเป็นดอกเบี้ยลอยตัวตาม M-rate กรณีลูกหนี้ใหม่ ได้รับผลกระทบบ้างจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดังนั้น ลูกหนี้ควรประเมินรายได้และรายจ่ายก่อนก่อหนี้ใหม่ ทั้งนี้ การทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อดูแลเงินเฟ้อที่สูง จึงยังคุ้มค่ากว่า
อย่างไรก็ดี ยังมีลูกหนี้กลุ่มเปราะบางจากรายได้ที่ยังไม่กลับมาเต็มที่ เช่น ลูกหนี้รายย่อยที่มีสินเชื่อไม่มีหลักประกัน และภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ธปท. จึงยังต้องดำเนินมาตรการเฉพาะจุดเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1.ผลักดันมาตรการเฉพาะจุดที่ยังมีผลอยู่ ทั้งการแก้หนี้เดิมผ่านมาตรการหลัก คือ มาตรการแก้หนี้ระยะยาว 3 ก.ย. ซึ่งยังมีผลใช้ได้จนถึงสิ้นปี 66 และโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ ที่มีผลถึงสิ้นเดือน เม.ย. 66 การเติมเงินใหม่อย่างมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ยังมีผลถึงสิ้นเดือน เม.ย. 66 ตลอดจนช่องทางเสริมให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้ เช่น คลินิกแก้หนี้ โครงการไกล่เกลี่ยหนี้ โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า มาตรการส่วนใหญ่มีผลบังคับใช้ “อย่างน้อย” ถึงปี 66 สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้น โดย ธปท. พร้อมปรับเปลี่ยนมาตรการให้ยืดหยุ่น ตามสถานการณ์และบริบทของลูกหนี้
2. เพิ่มมาตรการดูแลลูกหนี้รายย่อยกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะลูกหนี้ในกลุ่มสินเชื่อไม่มีหลักประกัน ซึ่งได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ยังกลับมาไม่เต็มที่ และค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยเพิ่มมาตรการให้ตรงกับปัญหาของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม สำหรับกลุ่มที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย ให้คงการลดอัตราการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำที่ 5% ถึงปี 66 และคงการขยายระยะเวลาชำระหนี้ของสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่ 12 เดือนออกไปอีก 1 ปี ถึงปี 66 ส่วนกลุ่มที่เป็นหนี้เสีย จะปรับปรุงโปรแกรมการจ่ายหนี้ของคลินิกแก้หนี้ โดยเพิ่มทางเลือกการผ่อนชำระเพื่อให้ลูกหนี้ที่ยังมีกำลังชำระสามารถจบหนี้ได้เร็วขึ้น ซึ่งลูกหนี้ที่เลือกแผนการชำระหนี้ที่มีระยะเวลาสั้น จะได้รับดอกเบี้ยที่ผ่อนปรนขึ้น รวมทั้งจะมีการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สำหรับบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ จำนำทะเบียน นาโนไฟแนนซ์ ในไตรมาส 3 ของปีนี้ เพื่อเป็นช่องทางเสริมให้ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางสามารถขอรับความช่วยเหลือได้
โดยรวม การปรับนโยบายและมาตรการทางการเงินของ ธปท. ในระยะต่อไป จะยังเน้นการมองภาพเศรษฐกิจการเงินที่เชื่อมโยงอย่างรอบด้าน และมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ เพื่อให้การทยอยปรับนโยบายที่เข้าสู่ภาวะปกติในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและยังไม่ทั่วถึง ได้ผลตามที่ต้องการ คือ เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ไม่สะดุด และมีผลกระทบข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์น้อยที่สุด
——————————————————–
1) ฟิลิปปินส์ 8.1% และอินโดนีเซีย 9.1%
2) อัตราดอกเบี้ยนโยบาย หักด้วยประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปปี 65
3) อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนระยะ 1 ปี (rating A) หักด้วยประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปปี 65
4) ลูกหนี้ที่อยู่ภายใต้มาตรการช่วยเหลือเฉพาะ ธพ. จำนวน 1.6 ล้านบัญชี ยอดหนี้ 1.9 ล้านล้านบาท
ที่มา : bot
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |