เงินเฟ้อหรือไม่ เราจะใช้ CPI (Consumer Price Index) หรือที่เรียกว่า ดัชนีผู้บริโภค ซึ่งหมายถึง ตัวเลขทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการที่ครอบครัวหรือผู้บริโภคซื้อหามาบริโภคเป็นประจำ ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับราคาในปีที่กำหนดไว้เป็นปีฐาน
หุ้นวัฏจักรที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ยางมะตอย ยางพารา ฯลฯธรรมชาติของหุ้นกลุ่มนี้คือราคาจะปรับขึ้นลงตามวัฏจักรเศรษฐกิจ เมื่อใดที่เศรษฐกิจดีธุรกิจก็จะดีตามไปด้วย แต่หากเศรษฐกิจซบเซา ผลประกอบการของบริษัทก็จะซบเซาลงตามภาวะเศรษฐกิจเช่นกัน เป็นเพราะว่าเงินเฟ้อมีความสัมพันธ์โดยตรงกับราคาขายสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งส่งผลดีต่อตัวเลขรายได้รวมจากการขายสินค้าและอัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin) ที่ปรับเพิ่มขึ้น
อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น จะเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า เพราะเมื่ออัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้น จะเป็นการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ และส่งผลต่อให้ค่าเงินของประเทศแข็งค่าขึ้น เพราะฉะนั้นผู้ที่ประกอบธุรกิจนำเข้า ก็จะได้รับประโยชน์จากต้นทุนการนำเข้าสินค้าที่ต่ำลง พูดง่าย ๆ คือใช้เงินซื้อสินค้าเท่าเดิม แต่ได้ของในปริมาณที่มากขึ้นทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น จะสะท้อนไปที่อัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin) ของบริษัทจดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจนำเข้าสินค้า รวมถึงอาจมีรายการกำไรหรือขาดทุนพิเศษจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ธนาคารจะได้ประโยชน์จากยอดสินเชื่อที่มีโอกาสเติบโตขึ้น เพราะภาคธุรกิจเริ่มขยายตัวทั้งในด้านการลงทุน การผลิต และการจ้างงานขณะเดียวกันเงินเฟ้อนั้นมีผลต่อดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งส่งผลโดยตรงมายังธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากรายได้หลักของธนาคารมาจากดอกเบี้ยในการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นเมื่อมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย จะทำให้ธนาคารมีช่องว่างปรับดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงขึ้น เพื่อเพิ่มส่วนต่างของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin)
นักลงทุนทราบกันดีอยู่แล้วว่า Bond Yield หรือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล มีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับเงินเฟ้อ ดังนั้นกลุ่มที่มีการลงทุนในพันธบัตร จะได้ประโยชน์จากผลตอบแทนที่สูงขึ้น และหนึ่งในนั้นคือธุรกิจประกัน เพราะมีการนำเบี้ยประกันของลูกค้าไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน ซึ่งส่วนมากก็จะอยู่ในสินทรัพย์ที่ไม่ได้มีความเสี่ยงสูงมากนักอย่างพันธบัตรและหุ้นกู้โดยนักลงทุนสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนของธุรกิจประกันชีวิต ผ่านตัวเลขผลกำไร (ขาดทุน) จากการลงทุน
Reference : www.setinvestnow.com
อย่างไรก็ตามเพื่อนๆ ที่ต้องการหรือกำลังศึกษาเรื่องการลงทุน ต้องระลึกและย้ำเตือนตัวเองเสมอว่า ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง สิ่งที่เราควรทำเป็นอันดับต้นๆก่อนการลงทุนคือ การลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุน
หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |