fbpx
Search
Close this search box.

5 วิธี เริ่มวางแผนทางการเงิน

วางแผนทางการเงิน
เมื่อลองถามคนรอบข้างว่ามีการ วางแผนทางการเงิน อย่างไรบ้าง คนส่วนใหญ่มักบอกว่าไม่เคยวางแผนเพราะมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก บางคนอยากวางแผน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ครั้งนี้ทาง เอซียู เพย์ ขอนำเสนอ 5 วิธีการ ที่จะทำให้เเผนการเงินไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้นได้

เนื้อหา

1. เริ่มต้นทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

การทำ บัญชีรายรับ-รายจ่าย เป็นจุดเริ่มต้นการ วางแผนการเงิน ที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้เห็นว่าเรานั้นมีรายรับจากกี่ช่องทาง จำนวนทั้งหมดเท่าไร ใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง ทั้งรายจ่ายรายเดือนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ยังทำให้เห็นว่าควรลดรายจ่ายไหนที่ไม่จำเป็นได้อีกด้วย เมื่อรู้รายรับรายจ่ายแล้ว เราก็จะสามารถบริหารจัดการเงินได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงยังสามารถจัดสรรเงินสำหรับ การออม และ การลงทุน ได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

2. วางแผนการออมเงินตามเป้าหมายชีวิต

การมี เป้าหมาย ว่าจะ ออมเงิน แต่ละก้อนไปเพื่ออะไรจะทำให้มีแรงผลักดันและความพยายามที่จะทำให้มันสำเร็จ ดังนั้น ควรตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อ วางแผนการใช้เงิน และกำหนดทิศทาง การออมเงิน การกำหนดเป้าหมายทางการเงินที่ดี ก็ควรต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่สามารถเป็นไปได้จริง และตั้งกรอบระยะเวลาสำหรับการทำตามเป้าหมายให้สำเร็จ

3. เก็บออมเงินทันทีเมื่อมีรายรับ

นอกจากการเริ่มต้นทำ บัญชีรายรับ – รายจ่าย การ ออมเงิน ทันทีเมื่อมีรายรับ จะช่วยสร้างวินัยออมเงินอย่างสม่ำเสมอ เพราะการเก็บเงินออมตามอารมณ์ทุกวัน มีโอกาสที่อาจจะหลงลืมได้เเละทำให้เราคิดว่าใช้จ่ายกับสิ่งของที่อาจจะไม่จำเป็นในเร็ว ๆ นี้ ดังนั้นเมื่อ วางแผนการเงิน ให้เก็บเงินทันทีเมื่อได้รับเงินเดือน จะช่วยให้มีเงินออมแน่นอน ลดการบริโภคเกินความจำเป็น และให้เข้มงวดต่อตนเองกับ แผนการเงิน ที่วางเอาไว้ด้วย

4. แบ่งเงินเป็นสัดส่วน

เมื่อจัดสรรเงินอย่างเป็นระบบ แบ่งเงินอย่างชัดเจนว่าส่วนใดคือ รายจ่าย-เงินเก็บ จะทำให้การ วางแผนการเงิน ง่ายขึ้น ซึ่งสัดส่วนการแบ่งเงินที่แนะนำในครั้งนี้ คือ “60 – 30 – 10” โดยกำหนดให้ 

  • 60 คือค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าบ้าน ค่ารถ หนี้สิน ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ 
  • 30 เท่ากับ รายจ่ายรายวันที่เกี่ยวกับค่าเดินทาง ค่าอาหาร 
  • 10 หมายถึงจำนวน เงินออม ที่ควรเก็บในแต่ละเดือน 

ดังนั้น รายจ่ายทั้งหมด ไม่ควรเกิน 90% ของรายได้ หากเกินกว่านี้การเงินจะตึงตัวเกินไป อย่างไรก็ตามการกำหนดให้ออมเงิน 10% ของรายได้ อาจเป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับผู้มีภาระ หรือผู้ที่มีรายได้ไม่มากเพียงพอต่อ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น หากเป็นเช่นนี้ สามารถปรับให้เก็บเงินเพียง 2% หรือ 5% ของรายได้ ตามสถานการณ์ก็ได้

5. เก็บเงินสำรองฉุกเฉินเมื่อเกิดเรื่องไม่คาดฝัน

เนื่องจากชีวิตคนเรามักไม่แน่นอน หากพรุ่งนี้ต้องตกงาน กิจการขาดทุนหนัก หรือต้องใช้เงินก้อนโตกะทันหัน เงินสำรองฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นเมื่อไรก็หยิบเงินก้อนนั้นมาใช้ได้เลย ซึ่งควรมีกระแสเงินสดอย่างน้อย 3 – 6 เท่าของ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น คุณมีรายจ่ายต่อเดือนทั้งหมด 10,000 บาท คุณจึงควรจะ วางแผนการเงิน และมีเงินสำรองฉุกเฉินประมาณ 30,000 – 60,000 บาท เพื่อให้สภาพคล่องยังดำเนินต่อไปแม้ชีวิตจะไม่เหมือนเดิมก็ตาม

สิ่งสำคัญต่อมาหลังจากทราบถึง วิธีการวางแผนทางการเงิน เบื้องต้นแล้วก็คือ การประยุกต์ใช้ แผนการเงิน นั้นให้เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย เพื่อให้แผนดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์ และสร้างรายได้ที่คล่องตัวไม่ติดขัดตลอดทุกช่วงชีวิต ซึ่งในแต่ละช่วงวัยก็จะมี รายรับ – รายจ่าย ภาระหนี้สิน และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงแตกต่างกันออกไป

เเหล่งอ้างอิง

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่