fbpx
Search
Close this search box.

รู้จักเงินเฟ้อ ศัตรูเงียบของเงินในกระเป๋า

เงินเฟ้อ
ปัจจุบันเราอยู่ใน “ยุคที่ข้าวของแพง” อย่างเลี่ยงไม่ได้ ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะกลุ่มอาหารสด เช่นเนื้อหมู ไก่ ไข่ และสัตว์น้ำ รวมถึงค่าน้ำมันและค่าโดยสารสาธารณะ ทั้งหมดนี้สะท้อนภาวะ เงินเฟ้อ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างไม่อาจมองข้ามได้

เนื้อหา

เงินเฟ้อคืออะไร?

เงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ราคาและบริการทั่วไปปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มูลค่าของเงินลดลง คือ เงินที่เคยซื้อของได้มาก กลับซื้อของได้น้อยลง นี่จึงเป็น “ศัตรูเงียบ” ของเงินในกระเป๋า ที่ค่อยๆ บั่นทอนกำลังซื้อของประชาชน โดยเฉพาะเมื่อรายได้ไม่เพิ่มตามราคาสินค้าที่แพงขึ้น

สาเหตุหลักของเงินเฟ้อ

  1. Demand-pull inflation เกิดจากความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นจนเกินกำลังการผลิต เช่น เศรษฐกิจฟื้นตัว คนมีเงินจับจ่ายมากขึ้น แต่สินค้ามีไม่พอ ราคาจึงปรับตัวสูงขึ้น
  2. Cost-push inflation เกิดจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เช่น ราคาน้ำมันแพง วัตถุดิบขาดแคลน หรือค่าแรงสูงขึ้น  ทำให้ผู้ผลิตต้องขึ้นราคาสินค้าเพื่อให้คุ้มทุน

ผลกระทบของเงินเฟ้อต่อชีวิตประจำวัน

เงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายและการออมอย่างชัดเจน

ผลกระทบต่อค่าใช้จ่าย

เมื่อสินค้าและบริการแพงขึ้น แต่รายได้ไม่เพิ่มขึ้นในอัตราที่เท่ากัน คนทั่วไปจึงรู้สึกว่ามีเงินเท่าเดิม แต่ใช้จ่ายลดลง ยกตัวอย่างง่ายๆ ข้าวแกงที่เคยขายจานละ 15 บาทเมื่อ 20 ปีก่อน ปัจจุบันราคาขึ้นเป็น 35-45 บาท หรือเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า

ผลกระทบต่อการออมและลงทุน

เงินเฟ้อสามารถลดค่าของเงินออมได้ เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร 1.25% เมื่อเจอกับเงินเฟ้อ 2% จะเท่ากับผลตอบแทนที่แท้จริงติดลบ -0.75% หมายความว่า ถึงจะออมเงิน ก็ยังซื้อของได้น้อยลงในอนาคต ส่งผลให้คนทั่วไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวม

วิธีรับมือกับเงินเฟ้อ

แม้รัฐบาลจะมีนโยบายควบคุม เช่น การอุดหนุนสินค้า การปรับดอกเบี้ยนโยบาย หรือออกมาตรการภาษีเพื่อลดแรงกดดัน แต่ประชาชนเองก็ควรมีการวางแผนและปรับตัวเพื่อรับมือกับเงินเฟ้อด้วย เช่น

  • วางแผนรายรับรายจ่ายให้เหมาะสมกับรายได้
  • ทำบัญชีและควบคุมการใช้จ่ายอย่างมีวินัย
  • หลีกเลี่ยงการใช้จ่ายเกินตัว เช่น ลดการกินอาหารนอกบ้าน ปลูกผักทานเอง
  • หากเงินฝากให้ผลตอบแทนต่ำ ควรพิจารณาหาทางเลือกการลงทุนที่มีผลตอบแทนสูงขึ้น แต่อยู่ในระดับความเสี่ยงที่รับได้
  • สำรองเงินฉุกเฉินไว้เสมอ เพื่อความมั่นคงทางการเงิน

แม้เงินเฟ้อจะเป็นกลไกปกติของระบบเศรษฐกิจ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนไม่ใช่เรื่องเล็ก  การมีความรู้ ความเข้าใจ และเตรียมพร้อมวางแผนการเงินอย่างเหมาะสม จะช่วยให้เราผ่านยุคเงินเฟ้อไปได้อย่างมั่นคงและปลอดภัยในระยะยาว

อ้างอิง

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่