fbpx
Search
Close this search box.

Core Inflation กับ Headline Inflation ต่างกันอย่างไร

Core Inflation กับ Headline Inflation ต่างกันอย่างไร

          เวลาประกาศอัตราเงินเฟ้อเรามักจะได้ยิน 2 คำนี้ว่าHeadline Inflation และ  Core Inflation หรือเงินเฟ้อทั่วไป และเงินเฟ้อพื้นฐาน แล้วมันต่างกันอย่างไรมาดูกันครับ

สารบัญ

ก่อนอื่นเรามารู้ถึงความสำคัญของเงินเฟ้อกันก่อน

เพราะการเข้าใจผลกระทบของเงินเฟ้อ จะช่วยให้เราสามารถวางแผนการใช้เงิน ผู้ผลิตสามารถวางแผนการลงทุน และขยายกิจการได้ ถ้าเราเป็นคนทำงานเราก็จะสามารถที่จะวางแผนทางการเงินได้ 

เพราะอัตราเงินเฟ้อ สามารถบ่งบอกการเปลี่ยนแปลงของภาวะของมูลค่าเงินเรา และสิ่งของต่างๆได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกฝ่าย

ผลกระทบต่อประชาชนหรือตัวเราเอง

  • เมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่ม แสดงถึงราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น จนอาจทำให้ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
  • ทำให้ค่าของเงินลดลง จากเดิมที่ใช้เงิน 100 บาทซื้ออาหารได้ 2 มื้อ ต่อมาเมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มทำให้ซื้อได้เพียง 1 มื้อ ซึ่งส่งผลไปถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ไม่สามารถมาชดเชยอัตราเงินเฟ้อได้

จึงทำให้คนไม่ค่อยมีแรงจูงใจในการฝากเงิน และไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นแทน เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ และหุ้น เป็นต้น ซึ่งก็ต้องแบกรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ผลกระทบต่อผู้ประกอบการ

  • เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น ก็หมายถึง ราคาวัตถุดิบก็ต้องแพงขึ้นเช่นกัน จนอาจทำให้ยอดขายของบริษัทลดลง และอาจเกิดการลดการจ้างงานได้
  • ราคาสินค้าที่ส่งออก ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเสียเปรียบเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ

ผลกระทบต่อประเทศ

การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศอาจชะลอตัวลง เนื่องจากประชาชนมีอำนาจในการซื้อน้อยลง จึงลดการใช้จ่าย และผู้ผลิตก็ไม่สามารถขายสินค้าเพิ่มได้

หากอัตราเงินเฟ้อ อยู่กับเรานาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศ และอาจเกิดปัญหาที่ประชาชนต้องกู้หนี้ยืมสินมากขึ้น จนอาจเกิดปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้

สรุปความแตกต่าง Headline Inflation หรือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และ Core Inflation หรือ อัตราเงินเฟ้อ พื้นฐาน

1. Headline Inflation หรืออัตราเงินเฟ้อ ทั่วไป

เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่คิดมาจากสินค้าทุกกลุ่ม โดยดัชนีที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อประเภทนี้เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป สินค้าที่ถูกคำนวณมีดังนี้

  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
    • ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง
    • เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ
    • ไข่และผลิตภัณฑ์นม
    • ผักและผลไม้
      • ผักสด
      • ผลไม้สด
    • เครื่องประกอบอาหาร
    • เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
    • อาหารบริโภค-ในบ้าน
    • อาหารบริโภค-นอกบ้าน
  • หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม
  • หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า
  • หมวดเคหสถาน
  • หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล
  • หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร
    • ค่าโดยสารสาธารณะ
    • น้ำมันเชื้อเพลิง
    • การสื่อสาร
  • หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ
  • หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

2. Core Inflation หรือ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน

  • เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเหมือนกับ Headline Inflation แต่จะไม่รวมสินค้า ดังนี้

    • กลุ่มอาหารสดและพลังงาน
      • อาหารสด
      • พลังงาน

สรุปความแตกต่างระหว่าง Headline Inflation อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และ Core Inflation  อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน สิ่งที่ต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ เงินเฟ้อพื้นฐานจะไม่รวมราคาอาหารสด และราคาพลังงาน เนื่องจากมีสาเหตุหลักมากจาก ราคาที่ผันผวนสูง เพราะปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาจะมาจากปัจจัยภายนอกประเทศ

ดังนั้น หากเราได้ยินคำว่าเงินเฟ้อพื้นฐานแปลว่าเป็นอัตราที่ไม่ได้รวมราคาสินค้า กลุ่มพลังงาน และอาหารสดนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่