ในอนาคตคาดว่า DeFi จะเข้ามามีผลกระทบอย่างมากกับวงการสินทรัพย์ดิจิตอลและวงการการเงินของโลก เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง และเป็นการกระจายจุดศูนย์กลางสามารถตรวจสอบได้ จะมีผลกระทบ และจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างมาดูกัน
DeFi (Decentralized Finance) คือบริการทางการเงินที่สามารถทำธุรกรรมได้โดยไม่ผ่านตัวกลาง ซึ่ง DeFi ที่เราพบเห็นกันทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบของแอปพลิเคชันที่ไม่รวมศูนย์ หรือ DApp (Decentralized Application) ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) โดยธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นบน DeFi มักจะเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) เป็นหลัก DeFi ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่
DeFi protocol หรือข้อกำหนดของ DeFi คือข้อตกลงหรือภาษากลางทางคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการสร้างบริหารจัดการ ดำเนินการ ตรวจสอบข้อมูล รวมไปถึงแปลงสินทรัพย์ในโลกจริงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลโดยอัตโนมัติ เพื่อเป็นฐานสำคัญในบริการอื่นๆ ของ DeFi ต่อไป
DeFi service หรือบริการของ DeFi ที่ดำเนินการอยู่บน DeFi protocol เพื่อสร้างบริการทางการเงินและฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบจัดการเบื้องหลัง (Backend หรือ “หลังบ้าน”) เช่น การกำหนดค่าสัมประสิทธิ์ความเสี่ยงของปัจจัยต่างๆ (Risk parameters) และอัตราดอกเบี้ย เป็นต้นรวมไปถึงบริการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน (“หน้าบ้าน” หรือFrontend) โดยตรง เช่นกระเป๋าเงิน (wallet) ที่ผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บสินทรัพย์ รวมไปถึงโอนและจัดการสินทรัพย์ระหว่างกันได้ นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบและเงื่อนไขทางด้านบริการทางการเงินต่างๆ ของ DeFi ในองค์ประกอบนี้อีกด้วย
หรือผู้ใช้งาน DeFi คือบุคคลที่สามารถเข้าถึง DeFi serviceเพื่อทำธุรกรรมต่างๆ เนื่องจากระบบของธุรกรรมการเงินในปัจจุบันมีลักษณะแบบรวมศูนย์ (Centralized Finance: CeFi) กล่าวคือ รวมศูนย์อำนาจบริหารจัดการไว้ที่ส่วนกลาง ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ ธนาคาร ที่ทำหน้าที่ตัวกลางทางการเงินและตรวจสอบธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานได้มาก แต่จุดอ่อนคือหากเกิดปัญหากับตัวกลางจะกระทบต่อผู้ใช้งานทั้งหมด ขณะที่ระบบกระจายศูนย์ (Decentralized) เป็นแนวคิดที่ให้ผู้ใช้งานทุกคนมาดูแลระบบร่วมกัน หรือตรวจสอบแต่ละธุรกรรมร่วมกัน ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ทำให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเก็บ และเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ทุกคนได้ โดยมีหลักการทำงานคร่าวๆคือเมื่อมีธุรกรรมการโอนเกิดขึ้น ระบบก็จะตรวจสอบข้อมูลที่อยู่ในมือของผู้ใช้ทุกคนที่เปรียบเสมือนสมุดจดรายการในกล่องแต่ละกล่อง (Block) และเมื่อเกิดความเคลื่อนไหวบนบัญชีนั้นๆ ก็จะมีการเขียนข้อมูลบนกล่องใบใหม่มาต่อจากอันเดิมเป็นสาย (Chain) ดังนั้นจึงสามารถป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูลและการแก้ไขบัญชีข้อมูลได้ ทั้งในแง่ข้อมูลบัญชีในอดีตและปัจจุบัน
DeFi จะเข้ามาแก้จุดอ่อนหลัก (Painpoint) ของธนาคารในมิติด้านต้นทุนการบริหารและค่าธรรมเนียมที่สูงในการโอนย้ายเงินระหว่างประเทศ รวมถึงระยะเวลาในการอนุมัติการโอนเงินข้ามพรมแดนที่นานเนื่องจากระบบการดำเนินงานในปัจจุบันยังเป็นแบบรวมศูนย์ แต่ด้วยรูปแบบการทำงานของ DeFi ที่หลายฝ่ายสามารถเข้าร่วมอนุมัติธุรกรรมได้พร้อมกัน การดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนจึงสามารถทำได้ด้วยต้นทุนที่ถูกลงและระยะเวลาที่เร็วขึ้น อีกทั้ง DeFi ยังไม่มีความเสี่ยงจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber attacks) เหมือนระบบการเงินแบบรวมศูนย์ที่มีข้อมูลรวมไว้ที่ส่วนกลางเพียงแหล่งเดียว จึงทำให้ DeFi ในหมวดนี้เป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาเขย่าวงการการเงินในช่วงต้น ผลกระทบของ DeFi ในหมวดนี้ต่อภาคการเงินการธนาคารจึงอาจมีนัยสำคัญ (Potentially Significant impacts) ในระยะเวลาอันใกล้เนื่องจากปัจจุบันเริ่มผู้ใช้งาน DeFi รูปแบบนี้บ้างแล้ว อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้ใช้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิมซึ่งยังคงเป็นคนส่วนใหญ่อาจยังไม่เชื่อมั่นใน DeFi มากนัก จึงอาจต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ตัวเองต่อไป
จะกระทบกับภาคธนาคารโดยตรง โดยเฉพาะการปล่อยกู้ให้แก่ SMEs และธุรกิจรูปแบบใหม่ เช่น Start-Ups ที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อและบริการทางการเงิน หรือได้รับบริการที่ยังไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้มักไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพียงพอ หรืออาจมีสินทรัพย์ในรูปแบบที่ธนาคารยังไม่นิยมใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืม นอกจากนี้ แบบจำลองในการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของธนาคารอาจจะยังไม่รองรับธุรกิจรูปแบบใหม่เหล่านี้ ส่งผลให้ผู้กู้อาจไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อเหล่านั้นได้ หรือหากได้รับอนุมัติสินเชื่อก็จำต้องเผชิญกับดอกเบี้ยที่สูง นอกจากนี้ การนำข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ในการประเมินสินเชื่ออาจมีความเสี่ยง ทั้งด้านข้อมูลรั่วไหลและอาจทำให้เกิดความลำเอียงในการพิจารณาสินเชื่ออีกด้วยซึ่ง DeFi อาจเป็นทางออกแก่ทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้ โดยสามารถเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงให้กับผู้ที่นำเงินมาฝากเนื่องจากไม่มีตัวกลางที่ต้องแบ่งกำไรให้ และยังเปิดโอกาสให้ผู้กู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินรูปแบบดั้งเดิมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ดังนั้น สำหรับภาคการเงินและธนาคารนั้น ผลกระทบของ DeFi ในหมวดนี้จึงอาจเกิดอย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม การกู้ยืมผ่าน DeFi อาจยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควรในการพัฒนารูปแบบการบริการให้เหมาะสมยิ่งขึ้นโดยคาดว่าจะใช้เวลาราว 3-7 ปี เนื่องจากปัจจุบันการกู้ยืมบน DeFi มักอยู่ในรูปแบบของการแลกเหรียญเพื่อนำไปลงทุนและเก็งกำไรในระยะเวลาอันสั้นในลักษณะคล้ายคลึงกับการจำนำมากกว่า ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ผู้ให้กู้จึงกำหนดให้ต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันที่สูง (Overcollateralization) ส่งผลให้การเข้าถึงสินเชื่อนี้ของธุรกิจขนาดเล็ก และก็ยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก โดยบางแพลตฟอร์มมีการกำหนดให้วางหลักทรัพย์ที่สูงกว่ามูลค่าปัจจุบันถึงร้อยละ 150 เช่น MakerDAO ที่กำหนดให้ต้องวางหลักประกันในอัตรา1.5 เท่า อย่างไรก็ดี บางแพลตฟอร์มยังมีความพยายามพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการเข้าถึงสินเชื่อของธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะ เช่น ShutterOne จากประเทศสิงคโปร์ ที่ให้บริการด้านการปล่อยกู้แก่ SMEs ในภูมิภาคอาเซียนกว่า 4,000 รายแล้ว
เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่มีการใช้งานค่อนข้างมากเพราะภาคการเงินแบบดั้งเดิมอาจไม่ตอบโจทย์ในการชำระเงินที่มีจำนวนธุรกรรมปริมาณมากได้รวดเร็วเพียงพอและอาจเกิดปัญหาระบบล่มในบางครั้ง เนื่องจากระบบจำต้องรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเข้าศูนย์กลางเพื่อตรวจสอบก่อน นอกจากนี้ ในบางประเทศ ผู้บริโภคบางคนอาจไม่สามารถใช้ภาคการเงินรูปแบบดั้งเดิมในการทำธุรกรรมชำระเงินได้เนื่องจากขาดบัตรประชาชนหรือเอกสารยืนยันตัวตนที่ออกโดยทางการ (Official Identification) จึงไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันรวมถึงการทำธุรกรรมชำระเงิน ซึ่ง DeFi ในบางแพลตฟอร์มสามารถแก้ Pain point ทั้งสองจุดได้ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารยืนยันตัวตนของภาครัฐเพื่อเข้าใช้งาน นอกจากนี้ การทำงานแบบกระจายศูนย์ยังช่วยแก้ปัญหาระบบล่มได้ด้วย
ดังนั้น สำหรับภาคการเงินและธนาคารนั้น ผลกระทบของ DeFi ต่อภาคนี้จึงอาจมีนัยสำคัญเพียงในบางประเทศหรือบางกลุ่มเท่านั้น เช่น ในประเทศที่ประชาชนบางกลุ่มเข้าถึงเอกสารยืนยันตัวตนได้ไม่สะดวกนัก แต่หากมองในภาพรวมแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นน่าจะอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง นอกจากนี้ ธนาคารกลางในหลายประเทศเริ่มสนใจและผลักดันการพัฒนาเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currencies: CBDC) ความสำคัญของ DeFi ในรูปแบบนี้จึงอาจลดลงได้อีก
เป็นหนึ่งในบริการทางการเงินที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงจาก DeFi จึงมีการศึกษากันมาก เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทประกันยังต้องรับความเสี่ยงเองเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่ขั้นตอนการหาลูกค้า ประเมินความเสี่ยง จนถึงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนต่างๆ ที่ถึงแม้จะมีธุรกิจรับประกันภัยต่อ (Reinsurer) แต่ก็ยังมีส่วนที่บริษัทประกันต้องรับความเสี่ยงไว้เอง (Retention) ซึ่ง DeFi สามารถเข้ามาช่วยให้บริษัทเหล่านั้นโดยโอนความเสี่ยงบางส่วนให้กับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงเหล่านี้เพื่อแลกกับผลตอบแทนที่สูงได้ อย่างไรก็ดี ผลกระทบของ DeFi รูปแบบนี้ต่อภาคการเงินยังไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากแพลตฟอร์มยังอยู่ระหว่างการพัฒนา จึงยังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานจริง อีกทั้งยังขาดกฎระเบียบที่จะเข้ามาดูแลนักลงทุนกลุ่มนี้อีกด้วย
ที่มา : thaipublica
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |