fbpx
Search
Close this search box.

e-Book ไทยมาแรง! ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลคอนเทนต์ไทย

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้วิเคราะห์ธุรกิจที่น่าจับตามองและชี้ช่องโอกาสทั้งตลาดในประเทศไทยและโลกโดยในครั้งนี้พบว่า ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ของไทยเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีศักยภาพสูง โดยเฉพาะกลุ่ม e-Book ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและสามารถสร้างรายได้และกำไรได้ดี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และการเปลี่ยนผ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์เข้าสู่โลกออนไลน์

เนื้อหา

จากข้อมูลนิติบุคคลในธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ (วันที่ 30 พ.ย. 2567) พบว่ามีจำนวนทั้งหมด 1,071 ราย ทุนจดทะเบียน 4,806 ล้านบาท แบ่งเป็นประเภทดังนี้

  • แอนิเมชั่น/คาแรคเตอร์: 299 ราย, ทุนจดทะเบียน 1,464 ล้านบาท
  • เกม: 257 ราย, ทุนจดทะเบียน 1,217 ล้านบาท
  • e-Book: 515 ราย, ทุนจดทะเบียน 2,125 ล้านบาท

โดยจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดมากที่สุด จำนวน 993 ราย หรือ 92% ทุนจดทะเบียน 4,211 ล้านบาท รองลงมาเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญ จำนวน 74 ราย ทุนจดทะเบียน 61.46 ล้านบาท และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 4 ราย ทุนจดทะเบียน 535 ล้านบาท

โดยด้านการลงทุนจากชาวต่างชาติพบว่า มีมูลค่าการลงทุน 834 ล้านบาท แบ่งเป็น แอนิเมชั่น/ คาแรคเตอร์ 272 ล้านบาท เกม 422 ล้านบาท และ e-Book 139 ล้านบาท ประเทศที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 3 ลำดับแรกได้แก่ มาเลเซีย 172 ล้านบาท ญี่ปุ่น 146 ล้านบาท และฮ่องกง 117 ล้านบาท

ธุรกิจ e-Book เติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง

สำหรับธุรกิจ e-Book คิดเป็น 48% ของธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ทั้งหมด เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงสามารถสร้างรายได้และกำไรได้ดีที่สุดต่อเนื่อง โดยปี 2566 กลุ่ม e-Book มีมูลค่าอุตสาหกรรมอยู่ที่ 3,971 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการผลิตและบริโภคในประเทศ สร้างรายได้ 3,162 ล้านบาท กำไร 107 ล้านบาท

ปัจจัยความสำเร็จของ ธุรกิจ e-Book

การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคจากสื่อสิ่งพิมพ์เป็นดิจิทัล และการปิดตัวของร้านหนังสือส่งผลให้ผู้คนเปลี่ยนจากการอ่านหนังสือเป็นเล่มมาเป็นการอ่านผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เพราะด้วยความสะดวกสบายในการใช้งานและพกพาไปที่ต่าง ๆ และมีเนื้อหาที่หลากหลายเข้าถึงได้ง่าย

ความท้าทาย 3 ด้านหลัก ของ ธุรกิจ e-Book

“อรมน  ทรัพย์ทวีธรรม “อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้ข้อมูลว่า  ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ในประเทศไทยแม้จะไม่ได้ดูหวือหวาเหมือนในตลาดต่างประเทศเพราะยังมีความท้าทายใน 3 ด้านคือ 

1.เงินทุน 

เชื้อเพลิงสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเติบโต โดยเฉพาะการจ้างนักสร้างคอนเทนต์ (Digital Content Creator) ที่มีฝีมือดี ค่าตัว ในการผลิตคอนเทนต์ นอกจากนี้ยังมีต้นทุนและค่าอุปกรณ์ค่อนข้างสูง ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กเข้าไม่ถึงมาก

2.บุคลากร

ขาดแหล่งพัฒนาทักษะในประเทศ ทำให้นักสร้างสรรค์ต้องไปต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่มีเวทีที่กว้างพอให้กับกลุ่มคนที่มีความสามารถ ได้แสดงโอกาส สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในประเทศ

3.ตลาด

การบริโภคในประเทศยังน้อย ส่วนใหญ่แล้วตลาดในประเทศไทยส่งออก

แนวโน้ม e-book ในอนาคต

ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ยังมีโอกาสเติบโตสูง ยังมีพื้นที่อีกมากที่รอนักลงทุนไทยมาครองตลาดในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านการพัฒนาทักษะและเทคโนโลยี รวมถึงการส่งเสริม “Thai Style” เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้เป็นที่รู้จักในต่างแดน และความโดดเด่นในตลาดโลก

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand E-wallet ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่