fbpx
Search
Close this search box.

e-Wallet กับ e-Payment เหมือนกันไหม?

e-Wallet-กับ-e-Payment-เหมือนกันไหม

        e-Payment หรือการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ คือการใช้จ่าย หรือโอนเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น การจ่ายบิลผ่านโทรศัพท์มือถือ การใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตจ่ายค่าสินค้า และบริการที่ร้านค้า และทางออนไลน์ เป็นต้น

        e-Wallet หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นบริการ e-Payment ประเภทหนึ่ง ที่ให้บริการเสมือนเป็นกระเป๋าตังที่ใช้เก็บเงิน ซึ่งอยู่ในรูปแบบ e-Money ให้บริการโดยธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารเป็นผู้ให้บริการ สามารถใช้จ่ายได้ตามร้านค้าที่รับชำระในรูปแบบ QR code หรือสามารถโอนจ่ายได้

กระแสความนิยม e-Payment และ e-Wallet ในประเทศไทย

          งานศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ผ่านมาได้ส่องดูพฤติกรรมการชำระเงินของคนไทย พบว่า แม้คนไทยยังนิยมใช้เงินสด แต่การใช้ e-Payment และ e-Wallet ก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและเติบโตอย่างก้าวกระโดดโดยเฉพาะในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา จากกราฟพบว่าปริมาณการใช้ e-Payment เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า จาก 49 ครั้งต่อคนต่อปีในปี 2559 เป็น 151 ครั้งต่อคนต่อปีในปี 2563 (ข้อมูล เม.ย. 63) 

         สอดคล้องกับพัฒนาการทางเทคโนโลยี ตลอดจนนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะโครงการพร้อมเพย์ในปี 2560 ที่ช่วยทำให้ต้นทุนการโอน e-Payment ถูกลง ขณะเดียวกันก็มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายเพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานกลางที่สามารถต่อยอดบริการต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ อาทิ การโอนเงินภาครัฐ การโอนเงินรายย่อยและธุรกิจ ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) รวมถึง QR Payment ที่ปัจจุบันมีจุดบริการกว่า 6 ล้านจุดทั่วประเทศ

โควิด 19 ปัจจัยกระตุ้นให้ e-Payment และ e-Wallet เติบโต

         แม้การใช้ e-Payment และ e-Wallet ของคนไทยยังจำกัดอยู่ในบางกลุ่ม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า โควิด 19 เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้หันมาใช้ e-Payment และจ่ายเงินผ่าน e-Wallet มากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความกังวลในการสัมผัสเงินสด เทรนด์นี้ได้เกิดขึ้นทั่วโลกสะท้อนจากสถิติการค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับ “เงินสดและโควิด” ซึ่งจัดทำขึ้นโดยอ้างอิงงานศึกษาของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) พบว่า การค้นหาเพิ่มสูงขึ้นในเดือน มี.ค. – เม.ย. 63

         เพราะเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดสูงสุด และที่น่าสนใจคือ สถิติการค้นหาสอดคล้องไปกับสถานการณ์ในแต่ละประเทศ ซึ่งจาก พบว่าเกาหลีใต้มีสถิติสูงครั้งแรกตั้งแต่ปลาย ม.ค. 63 ที่เริ่มมีการแพร่ระบาด และสูงขึ้นอีกครั้งในเดือน พ.ค. 63 ซึ่งมีการระบาดรอบสอง ขณะที่สิงคโปร์ ไทย และทั่วโลก มีสถิติคำค้นที่เพิ่มขึ้นไล่เรียงกันมาเป็นลำดับตั้งแต่เดือน ก.พ. 

          จากข้อมูลจากเห็นได้ว่าการใช้จ่ายแบบ e-Payment ผ่านบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น  e-Wallet หรือ Internet Banking เองก็ตาม  กำลังได้รับความนิยม เพื่อนๆ คิดว่าอีกกี่ปีในเราจะได้เห็นการใช้จ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิตประจำวันครับ

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่

บทความที่เกี่ยวข้อง