fbpx
Search
Close this search box.

อัปเดต Tokenomic เศรษฐศาสตร์ของโทเคน คืออะไร

Tokenomic

เราเริ่มรู้จักกับความว่า cryptocurrency cion Token กันมาสักพักเเล้ว แต่มีอีกหนึ่งว่าที่เราควรจะทราบนั่นก็คือ Tokenomic คำนี้หมายความว่าอย่างไรมาดูกันครับ

สารบัญ

Tokenomic คืออะไร

Tokenomic  เกิดจากการนวมกันของคำว่า Token (โทเคน) และ Economic (เศรษฐศาสตร์)ซึ่งแปลออกมาตรงตัวเลยก็จะเป็น “เศรษฐศาสตร์ของโทเคน” นั้นเอง คือนำระบบการเงินเข้ามาผสมผสานกันกับ ‘โทเคน’ ซึ่งเป็นการเอาความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับตัวโทเคน และอธิบายออกมาในรูปแบบที่สามารถจับต้องได้ โดยความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ก็จะมีตั้งแต่ขั้นพื้นฐานอย่าง Demand/Supply หรือลึกลงไปหน่อย ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินฝืด ไปจนถึงการประเมินอัตราการเติบโตของขนาดตลาด

ความสำคัญของ Tokenomic

ความสำคัญของ Tokenomic จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจระบบของ ‘โทเคน’ หรือเหรียญนั้นๆ เหมือนกับที่เราเข้าใจระบบเศรษฐศาสตร์การเงินโลกในปัจจุบัน ที่จะช่วยทำให้เรามองเห็นถึงอนาคตในระบบเศรษฐศาสตร์ของโลก ‘Crypto’ ที่จะเกิดการหมุนเวียนในอนาคต เป็นระบบเศรษฐกิจระบบหนึ่งในโลกดิจิทัล

ปัจจัยที่ส่งผลต่อรระบบ Tokenomic หรือ เศรษฐศาสตร์ของโทเคน

1.การกระจายและการจัดสรรโทเคน (Distribution and allocation of tokens)

ปัจจัยหลักประการหนึ่งที่ตัดสินมูลค่าของโทเคน Crypto คือวิธีการแจกจ่ายโทเคน ที่มีวิธีในการสร้างโทเคนการเข้ารหัส โดยการขุดล่วงหน้าหรือทำ Fair Launch ที่หมายถึงสกุลเงินดิจิทัลที่ถูกขุดขึ้นมาและถูกควบคุมโดยชุมชนตั้งแต่แรกเริ่ม เป็นเครือข่ายที่กระจายอำนาจและไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดสรรส่วนตัว อย่างไรก็ตาม ด้วยการขุดล่วงหน้า เหรียญจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกจะถูกขุดและทำการแจกจ่ายก่อนที่จะเปิดตัวสู่สาธารณะ และส่วนที่ 2 จะถูกทำการ ICO ให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้รางวัลแก่ นักขุด และนักลงทุนรายแรกๆ ด้วยเหรียญที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่

2.การจัดหาโทเคน Supply of token

เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากในการศึกษาโทเคนของการเข้ารหัสลับ ที่จะประกอบไปด้วยอุปทาน 3 ประเภท ได้แก่

      1) อุปทานหมุนเวียน Circulating Supply คือ จำนวนโทเคนสกุลเงินดิจิทัลที่ออกสู่สาธารณะและมีการหมุนเวียนเกิดขึ้น

      2) อุปทานทั้งหมด Total Supply คือ จำนวนของโทเคนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ลบด้วยโทเคนทั้งหมดที่ถูกเผา คำนวณออกมาเป็นผลรวมของโทเคนที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันและโทเคนที่ถูกล็อคไว้

     3) อุปทานสูงสุด Max Supply คือ จำนวนโทเคนสูงสุดที่จะถูกสร้างขึ้น

 ซึ่งการสังเกตอุปทานของโทเคนอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีในอนาคต หากส่วนของอุปทานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นักลงทุนจะสามารถคาดหวังได้ว่ามูลค่าของโทเคนจะเพิ่มขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม หากมีการปล่อยโทเคนออกมามากเกินไป ค่าของโทเคนก็อาจจะลดลง

3.มูลค่าตลาดของโทเคน Market Capitalization of a token

ในบริบทของ Cryptocurrency มูลค่าตลาดจะเป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดความนิยมของโทเคน ที่สามารถคำนวณได้โดยการคูณราคาตลาดปัจจุบันของโทเคนกับอุปทานหมุนเวียน ก็จะได้มูลค่าตามราคาตลาดที่เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีถึงมูลค่าของโทเคน

4.โมเดลโทเคน Token Model

โทเคนการเข้ารหัสทุกอันมีรูปแบบที่กำหนดมูลค่าของตัวเอง Inflationary Tokens นั้นจะไม่มีการกำหนดอุปทานสูงสุด ทำให้เราสามารถขุดเหรียญนั้นได้เรื่อยๆ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ Deflationary Tokens ที่มีการกำหนดอุปทานสูงสุดไว้อย่างชัดเจน โดย Deflationary Tokens จะมาช่วยในเรื่องของการหลีกเลี่ยงการหมุนเวียนเหรียญที่ขายไม่ออก ซึ่งมักจะไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาด แต่ในทางกลับกัน Inflationary Tokens จะสามารถจูงใจนักขุด และผู้ตรวจสอบความถูกต้องในเครือข่ายได้ดี

5.เสถียรภาพราคา Price Stability

Tokenomic ยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาผลกระทบของเสถียรภาพราคา Cryptocurrency นั้นมีความผันผวนมาก อาจไม่เป็นที่ชื่นชอบสำหรับนักลงทุน ความผันผวนมักจะทำให้ความสนใจของนักลงทุนลดน้อยลง นอกจากนี้ความผันผวนยังอาจทำให้การลงทุนในโทเคนนั้นๆ ถูกจำกัดได้

นอกจากจะ Tokenomic ี่เราควรรู้แล้ว การศึกษา Whitepaper ก็เป็นเรื่องที่เราควรจะหยิบยกขึ้นมาประกอบการด้วยเช่นกัน เพราะ Whitepaper เป็นเหมือน company profile ที่จะทำให้เราได้ทำความรู้จัก และสนิทกับเหรียญ หรือโทเคนนั้นๆมากยิ่งขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่