fbpx
Search
Close this search box.

ต้นกำเนิด เมย์เดย์ (May Day) วันแรงงานสากล 1 พ.ค.

วันแรงงานสากล
ในทุก ๆ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่ลูกจ้างในหลายประเทศจะได้หยุดพัก ซึ่งวันนี้คือ วันแรงงานสากล หรือ เมย์เดย์ (May Day) เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของชนชั้นแรงงานที่เป็นฟันเฟืองคอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งครั้งนี้ เอซียู เพย์ จะพาทุกคนมารู้จักประวัติวันสำคัญนี้กัน

เนื้อหา

เสียงเรียกร้องจากชนชั้นแรงงาน

ย้อนกลับไปเมื่อ 139 ปีก่อน ในยุคที่ชนชั้นแรงงานมีบทบาทหลักสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม แต่ผู้ใช้แรงงานเหล่านั้นกลับไม่มีสวัสดิการหรือข้อตกลงที่ชัดเจนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง 

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา การผลิตในระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่มีสภาพเปรียบเสมือน “โรงสีปีศาจ” ชนชั้นแรงงานถูกขูดรีดอย่างหนักเพื่อการสั่งสมทุนในระบบทุนนิยม

คนงานต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-18 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยหรือสวัสดิการใด ๆ ทั้งสิ้น

จนกระทั่งราวปี พ.ศ. 2432 แรงงานในสหรัฐอเมริกาได้เรียกร้องให้กำหนดชั่วโมงการทำงานสูงสุดวันละ 8 ชั่วโมง จากเดิมทีทำงาน 10-12 ชั่วโมง พร้อมทั้งให้ทบทวนสิทธิของแรงงานด้านอื่นตามความเหมาะสม กลายเป็นการชุมนุมที่จัตุรัสเฮย์มาร์เก็ต

เหตุการณ์จลาจลเฮย์มาร์เก็ต จุดเปลี่ยนสร้างสิทธิแรงงาน

ที่เมืองชิคาโก เกิดเหตุการณ์จลาจลขึ้นระหว่างการชุมนุมของชาวแรงงาน ที่จัตุรัสเฮย์มาร์เก็ต มีการปะทะระหว่างแรงงานและตำรวจส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสองฝ่าย เหตุการณ์นี้ทำให้ทั่วโลกยกย่องความกล้าหาญของการต่อรอง เพื่อสิทธิแรงงาน ด้วยการกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันแรงงานสากล หรือที่เรียกว่า เมย์เดย์ (May Day)

ซึ่งเหตุจลาจลของเฮย์มาร์เก็ต จุดประกายให้มีการประท้วงเกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เพื่อเจรจาต่อรองให้เกิดการจ้างงานอย่างเป็นธรรม รวมถึงจัดสวัสดิการที่เหมาะสมด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพของแรงงานขณะทำงาน ซึ่งประเทศที่หยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, จีน เยอรมนี, เดนมาร์ก, บัลแกเรีย, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, อิตาลี, กรีซ, อินเดีย, ศรีลังกา, เวียดนาม, ลาว, ไทย เป็นต้น

โดยสาเหตุที่เป็นวันที่ 1 พฤษภาคม นั่นก็เป็นเพราะในอดีตประเทศในแถบยุโรปนับว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรม พวกเขาจะจัดพิธีเฉลิมฉลอง จะมีการให้ดอกไม้ร้องเพลงและเต้นรำไปรอบ ๆ เสาเมย์โพล (Maypole)  เป็นการเต้นรำรอบเสาที่ประดับไปด้วยช่อดอกไม้ และริบบิ้น เพื่อขอให้ปลูกพืชได้ผลดี รวมถึงขอให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข

ประวัติวันแรงงานแห่งชาติไทย

วันแรงงานในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งตรงกับสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้นอุตสาหกรรมไทยได้เริ่มขยายตัวมากขึ้น จึงเกิดการเรียกร้องเพื่อจัดสรรและพัฒนาแรงงาน ตลอดจนคุ้มครองและดูแลสภาพการทำงานของแรงงาน จนในปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้รับรองวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติในปี และได้เปลี่ยนชื่อเป็นวันแรงงานในปี พ.ศ. 2500

ในยุคแรกของวันแรงงานนั้น ลูกจ้างยังไม่ได้หยุดงาน โดยใช้เวลาถึง 17 ปี จึงได้ประกาศเป็นวันหยุดให้แรงงานได้มีช่วงเวลาเฉลิมฉลองวันแรงงานในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งวันหยุดนี้เอง ทำให้แรงงานที่มีครอบครัวเป็นเกษตรกร ได้ใช้โอกาสนี้เดินทางกลับต่างจังหวัดเพื่อเริ่มฤดูกาลหว่านไถ ถือเป็นฤกษ์มงคลในการเพาะปลูกรอรับน้ำฝนในช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน

ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดูแลระบบแรงงานอย่าง กระทรวงแรงงาน โดยแบ่งออกเป็น กรมจัดหางาน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม ซึ่งสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิแรงงานได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506

อ้างอิงจาก

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่