fbpx
Search
Close this search box.

เช้าง่วงนอน บ่ายอยากกินหวาน ระวัง สัญญาณเตือน ‘ภาวะต่อมหมวกไตล้า’

ภาวะต่อมหมวกไตล้า
เป็นกันไหม ตื่นมาง่วงนอนมาก พอตอนบ่ายอยากกินอะไรหวาน ๆ ตกกลางคืนตาสว่าง นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของ ‘ภาวะต่อมหมวกไตล้า’ แล้วภาวะนี้ส่งผลอะไรบ้างกับเราร่างกายของเรา เอซียู เพย์ จะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน

เนื้อหา

ต่อมหมวกไต ทำหน้าที่อะไร และสำคัญอย่างไร ?

‘ต่อมหมวกไต’ คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญที่หลาย ๆ คนมักจะไม่ค่อยรู้จักเท่าไหร่ โดย ต่อมหมวกไต มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล (Cortisol) ที่มีหน้าที่กำจัดความเครียดและสร้างพลังงานให้ร่างกาย 

ซึ่งเวลาเรามีความเครียดในชีวิตประจำวัน อย่าง เครียดเรื่องงาน เพื่อน คนรัก หรือความเครียดจากร่างกาย เช่น ไม่ได้กินอาหารเช้า หรือนอนดึก ต่อมหมวกไตก็จะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา เพื่อปรับสมดุลของร่างกาย โดยจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ลดการอักเสบของร่างกาย 

เช็กลิสต์ สัญญาณเตือนว่ากำลังเป็นภาวะต่อมหมวกไตล้า

ลองตรวจเช็กตัวเราเอง ว่ามีอาการเช่นนี้บ่อย ๆ หรือไม่ โดยมีอาการต่อไปนี้ 

  • ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย อยากนอนตอนกลางวัน
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • ชอบทานของหวาน น้ำตาล
  • อาการดีขึ้นเมื่อกินของหวาน
  • ติดกาแฟ
  • ชอบกินเค็ม
  • หน้ามืดวิงเวียน เวลาลุกนั่งเปลี่ยนท่า
  • ผิวแห้ง หมองคล้ำ
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย
  • โรคภูมิแพ้ ผื่นแพ้ง่าย
  • เป็นหวัดบ่อย
  • น้ำหนักขึ้นง่าย

แม้ว่าจะไม่ว่าอาการต่อมหมวกไตล้าจะไม่ได้รุนแรงถึงขั้นเป็นโรคพร่องต่อมหมวกไต หรือต่อมหมวกไตไม่ทำงาน แต่การที่ต่อมหมวกไตทำงานลดลง การผลิตฮอร์โมนที่สำคัญลดลง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการทำงานที่ไม่เต็มที่ จนเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือเสี่ยงภาวะซึมเศร้าได้

เพราะอะไรถึงทำให้เกิด “ต่อมหมวกไตล้า”

อย่างที่กล่าวไปว่า ต่อมหมวกไตทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ เพื่อรับมือกับความเครียดและความเหนื่อยล้าในชีวิต แต่ด้วยวิถีชีวิตในปัจจุบัน เราต้องเผชิญความเครียดตลอดเวลา ทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งคอร์ติซอลสู้กับความเครียดตลอด เป็นต้นเหตุให้ต่อมหมวกไตล้า เพราะร่างกายผลิตคอร์ติซอลออกมาสู้กับความเครียดไม่ทันนั่นเอง ซึ่งหากปล่อยให้ร่างกายเผชิญกับความเครียดสะสมไปเรื่อย ๆ ต่อมหมวกไตก็จะเกิดอาการล้าได้ โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้า ได้แก่ 

  • การนอนหลับไม่เพียงพอ นอนหลับไม่ได้คุณภาพ
  • การฝืนใช้ร่างกายมากเกินไป ไม่พักผ่อน ส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียดสะสม
  • หมกมุ่นกับเรื่องเครียด ๆ คิดมาก หรือกังวลตลอดเวลา

ภาวะหมวกไตล้า สามารถหายได้ด้วยการดูแลตัวเอง

  1. ลดความเครียด ความเครียด เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหมวกไตล้า การรักษาภาวะหมวกไตล้า จึงต้องเริ่มต้นจากการรักษาที่ต้นเหตุ นั่นคือ กำจัดความเครียดให้หมดไป รู้จักวิธีการคลายความเครียด
  2. ตรวจหาภูมิแพ้อาหารแบบแอบแฝง เชื่อหรือไม่ว่า “ภูมิแพ้อาหาร” นั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณได้มากมาย ไม่ใช่เพียงแค่อาการแพ้เกิดผดผื่น อาการบวม แดง คัน อย่างที่เราเห็นกันบ่อยครั้งเพียงเท่านั้น
  3. นอนให้เพียงพอ ควรนอนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง และ ควรนอนก่อน 4 ทุ่ม เพื่อให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
  4. ออกกำลังกายแบบเบา ๆ เช่น โยคะ เดิน เป็นต้น เนื่องจากหากเราออกกำลังกายหนักเกินไป จะส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนได้
  5. ทานอาหารเช้าก่อน 10 โมง รู้ไม่ว่าการทานอาหารเช้า จะไม่ทำให้ร่างกายเกิดอาการเครียด อีกทั้งควรเลือกทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ สด สะอาด ครบ 5 หมู่ 
  6. สารเสริมอาหารบางชนิดสำหรับคนที่รับประทานอาหารแล้วได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับสารอาหารที่ร่างกายต้องการ หรือมีภาวะที่ขาดสารอาหารบางชนิด อาจต้องรับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติมตามที่แพทย์สั่ง
  7. พบแพทย์เมื่อมีอาการรุนแรง หรือเรื้อรัง เพื่อได้รับการรักษาถูกต้องและถูกวิธี 

อ้างอิงจาก

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่