fbpx
Search
Close this search box.

วิธีสังเกต!! แอปไหนดูดเงินที่ควรลบทิ้ง

วิธีสังเกต แอปไหนดูดเงินที่ควรลบทิ้ง

น่ากลัวมากแม่! ช่วงนี้จะกดอะไรจะใช้อะไรต้องเช็กให้ดี เพราะมิจฉาชีพแฝงตัวไปในทุกที่จริงๆนะคะ ไม่ว่าจะมาในแนวของคอลเซ็นเตอร์ แนวแอบอ้างบริษัทให้ปล่อยกู้เงิน ซึ่งแนวนี้ทางบริษัทเราก็โดนแอบอ้างไปเช่นกัน ต้องระวังกันด้วยนะคะ หรือจะเป็นการทักแชทมาว่าเราเคยเอาเงินไปลงทุนแล้วแจ็คพอตแตกได้โบนัส บอกเลยว่าน่ากลัวมากๆ และห้ามหลงเชื่อเด็ดขาด และล่าสุดข่าวดังยอดฮิตตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีแอปพลิเคชันอันตราย หลอกดูดเงินไปหมดบัญชี!! เดี๋ยวเรามาดูวิธีสังเกตว่าแอปไหนที่อันตราย มีแนวโน้มหลอกดูดเงิน พร้อมทั้งรายชื่อแอปพลิเคชันอันตราย จะมีอะไรบ้างไปดูพร้อมกันเลยยย!!

       เกินไปหรือเปล่าเจ้ามิจฉาชีพ ชีก็คือหลอกเก่ง หลอกแล้วหลอกอีก อีกทั้งยังแฝงตัวไปทุกวงการจริงๆค่ะ นอกจากจะเป็นในแนวคอลเซ็นเตอร์ มาหลอกถามข้อมูลจากเรา หรือการแอปอ้างเป็นผู้หวังดีมาปล่อยเงินกู้ และไม่ได้โอนให้จริงแล้ว ทุกวันนี้ได้มีแนวใหม่ๆ นั้นคือการดูดเงินจากแอปพลิเคชัน เพราะฉะนั้นวันนี้เดี๋ยวเรามาเช็กกันว่าแอปพลิเคชันอันตรายจะมีแอปอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

13 แอปพลิเคชันอันตรายลบด่วน!

  • Battery Charging Animations Battery Wallpaper
  • Battery Charging Animations Bubble – Effects
  • Volume Booster Louder Sound Equalizer
  • Classic Emoji Keyboard
  • Now QRcode Scan
  • Easy PDF Scanner
  • Flashlight Flash Alert On Call
  • Halloween Coloring
  • EmojiOne Keyboard
  • Smart TV remote
  • Dazzling Keyboard
  • Volume Booster Hearing Aid
  • Super Hero – Effect

วิธีสังเกตว่าแอปพลิเคชันไหนอันตราย

  1. ไม่ควรดาวน์โหลดแอปพลิเคชันนอกเนื่องจากแอป Store เพราะแอป Store ได้ช่วยคัดกรองแต่ละแอปพลิเคชันในการเข้าถึงมาแล้วระดับหนึ่งก่อนที่ผู้ใช้งานจะกดติดตั้ง และไฟล์จำพวก .apk ใครที่คิดจะดาวน์โหลดต้องรีบหยุดเดี๋ยวนี้!! เพราะนั้นอาจเป็นเว็บอันตรายที่ไม่ควรดาวน์โหลดอย่างยิ่ง
  2. แอปพลิเคชันหยุดทำงานบ่อย หรือ ค้าง แอปพลิเคชันที่หยุดทำงานหรือค้างบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ นั้นอาจหมายความว่าแอปพลิเคชันเหล่านั้นอาจยังไม่เสถียรหรือดีพอ และอาจจะเป็นแอปพลิเคชันอันตรายควรลบทิ้ง
  3. แอปพลิเคชันที่มีการใช้งานหนักและทำให้แบตหมดเร็ว เช็กด่วน!! แอปไหนที่ใช้พลังงานเยอะมากผิดปกติ เพราะแอปพลิเคชันที่ดูดเงินจะใช้ทรัพยากรในเครื่องหนักขึ้น เป็นต้น
  4. กดลิงค์จากข้อความที่ได้รับ หากได้รับข้อความที่เชิญชวน หรือเกี่ยวกับธุรกรรมการเงินไม่ว่าจะได้รับจากทางอีเมลหรือข้อความ SMS ก็ไม่ควรกดลิงค์เข้าไปแบบมั่วๆ ทั้งนี้อาจจะต้องตรวจสอบแหล่งที่มาในการส่งก่อนว่าน่าเชื่อถือหรือไม่? ปลอดภัยหรือเปล่า? เพราะบางครั้งแค่คลิ๊กเพียงครั้งเดียวก็ทำให้ข้อมูลของเราหลุดไปที่มิจฉาชีพได้ทันที่นั้นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่