พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เผยว่า ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ThaiCERT) ระบุว่า ข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาพบว่า เหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการโจมตีมากกว่า 1,827 เหตุการณ์ ซึ่งเป็นการโจมตีทางฝั่งภาคเอกชน 124 เหตุการณ์
โดยการโจมตีทางไซเบอร์ต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งด้านการเงิน และชื่อเสียงองค์กร พบว่ากว่า 65% ของเอสเอ็มอีล้วนแต่ถูกโจมตีทางไซเบอร์ โดยผลการวิจัยในปีที่ผ่านมาจาก Cybersecurity for SMBs: Asia Pacific Businesses Prepare for Digital Defense by Cisco พบว่า ธุรกิจในไทยโดยประมาณ 56% ได้ประสบปัญหาการดำเนินงานหยุดชะงักเนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์
ผลสำรวจยังชี้ว่า 47% ที่เคยถูกโจมตีสร้างความเสียหายต่อธุรกิจคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 16 ล้านบาท ขณะที่ 28% ได้รับความเสียหายเป็นมูลค่ากว่า 32 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ 49% ของธุรกิจเอสเอ็มอีถูกโจมตีด้วยมัลแวร์มาเป็นอันดับหนึ่ง 91%และตามด้วยการโจมตีในรูปแบบ ฟิชชิ่งมากถึง 77%
โดยสาเหตุเป็นเพราะว่าโซลูชันด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะตรวจจับ หรือป้องกันการโจมตีจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ ในขณะที่ 25% ระบุว่าสาเหตุหลักคือ องค์กรนั้นๆ ไม่ได้ติดตั้งโซลูชันด้าน ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ และไม่ได้ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ๆ
ในปัจจุบัน ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยเผชิญภัยคุกคามสำคัญสองประการที่อาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรง
ประการแรก คือ ภัยคุกคามด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ มัลแวร์ ไวรัส แรนซัมแวร์ และสปายแวร์ ที่สามารถโจมตีระบบของธุรกิจได้โดยง่าย นอกจากนี้ ยังมีการหลอกลวงผ่านอีเมลหรือเว็บไซต์ปลอมเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสผ่าน รวมถึงการโจมตีแบบ DDoS ที่ส่งข้อมูลจำนวนมากเพื่อทำลายระบบ แฮกเกอร์มักมุ่งเป้าไปที่ข้อมูลลูกค้า อาทิ ชื่อ ที่อยู่ และข้อมูลทางการเงิน เพื่อนำไปขายหรือทำธุรกรรมผิดกฎหมาย
ประการที่สอง คือ ภัยคุกคามด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่งเกิดจากการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลที่ไม่ปลอดภัย ธุรกิจขนาดเล็กที่ขาดระบบการจัดการข้อมูลที่เหมาะสมอาจทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ารั่วไหล ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมาย PDPA ที่อาจนำไปสู่โทษปรับที่สูงมาก
ทั้งสองภัยคุกคามนี้ล้วนสร้างความเสี่ยงร้ายแรงต่อธุรกิจ ทั้งในด้านความปลอดภัยข้อมูลและความน่าเชื่อถือขององค์กร
นอกจากธุรกิจที่ไทยแล้ว ขณะเดียวกันธุรกิจในอาเซียนยังคงมีความเสี่ยงที่สูง แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลก เผยว่า สามารถบล็อกการโจมตีแบบ bruteforce ที่พยายามโจมตีธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มากกว่า 23 ล้านครั้ง ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2567
สำหรับ การโจมตีแบบบรูทฟอร์ซ เป็นเทคนิคอันตรายที่อาชญากรไซเบอร์ใช้เจาะระบบคอมพิวเตอร์และบัญชีผู้ใช้ โดยอาศัยการคาดเดาอย่างเป็นระบบ
จินตนาการว่าผู้โจมตีคือโจรที่พยายามเปิดตู้นิรภัยโดยลองกุญแจทุกดอกอย่างไม่หยุดหย่อน พวกเขาจะใช้โปรแกรมพิเศษที่สามารถลองรหัสผ่านหลายพันหลายหมื่นชุดต่อวินาที โดยเริ่มจากรหัสผ่านง่ายๆ ไปจนถึงรหัสที่ซับซ้อนมากขึ้น
เมื่อการโจมตีประสบความสำเร็จ อาชญากรจะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับ เช่น ข้อมูลประจำตัว รหัสบัตรเครดิต หรือข้อมูลทางการเงิน นอกจากนี้ พวกเขายังอาจติดตั้งมัลแวร์เพื่อควบคุมระบบหรือขโมยข้อมูลเพิ่มเติม
จากสถิติระบุว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึง มิ.ย. 2567 ผลิตภัณฑ์สำหรับองค์กรธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ที่ติดตั้งในบริษัทขนาดต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตรวจพบและบล็อก Bruteforce.Generic.RDP ได้ทั้งหมดจำนวน 23,491,775 รายการ
โดยประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย มีจำนวนการโจมตี RDP มากที่สุดสามลำดับแรกในภูมิภาค โดยพบความพยายามโจมตีมากกว่า 8.4 ล้านรายการ 5.7 ล้านรายการ และ 4.2 ล้านรายการ ตามลำดับ ขณะที่ สิงคโปร์พบการโจมตีมากกว่า 1.7 ล้านรายการ ฟิลิปปินส์มากกว่า 2.2 ล้านรายการ และมาเลเซียน้อยที่สุดเพียงกว่า 1 ล้านรายการ
ปัจจุบัน อาชญากรไซเบอร์กำลังใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อเพิ่มศักยภาพการโจมตีแบบบรูทฟอร์ซ ด้วยการสร้างและทดสอบรหัสผ่านแบบอัตโนมัติ เพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพมากขึ้น ผลกระทบจากการละเมิดเครือข่ายองค์กรนั้นร้ายแรงกว่ามาก
โดยองค์กรอาจประสบปัญหาการละเมิดข้อมูล หรือหากระบบถูกบุกรุก การดำเนินงานก็จะหยุดชะงัก เกิดผลกระทบทางการเงินอย่างมาก เนื่องจากองค์กรต้องเผชิญกับต้นทุนจากการหยุดดำเนินงาน ความพยายามในการกู้คืนข้อมูล และค่าปรับจากหน่วยงานกำกับดูแล
ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |