fbpx
Search
Close this search box.

คาร์บอนเครดิต คืออะไร ทำไมถึงน่าลงทุน

คาร์บอนเครดิต

อย่างที่รู้กันว่าตัวการหลักที่ทำให้โลกของเราร้อนขึ้น มาจาก ‘ก๊าซเรือนกระจก’ ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจากการเผาไม้ทำลายป่า หรือการเผาไหม้เชื้อเพลิง จากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่รู้หรือไม่ว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ก็มีการช่วยดูแลโลกด้วยสิ่งที่เรียกว่า ‘คาร์บอนเครดิต’ ซึ่งสิ่งนี้คืออะไร แล้วมีความสำคัญอย่างไร ครั้งนี้ ACU PAY จะพามาทำความรู้จัก

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คืออะไร

คาร์บอนเครดิต คือ สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม โดยมาจากการที่บุคคลหรือองค์กรได้ดำเนินโครงการหรือมาตรการที่มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งสิทธินี้สามารถวัดปริมาณและสามารถนำไปซื้อ-ขายในตลาดคาร์บอนเครดิตได้

หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ก๊าซต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก (จำนวนคาร์บอน) ที่แต่ละองค์กรสามารถลดได้ต่อปี ซึ่งถ้าปล่อยคาร์บอนได้น้อยกว่าเกณฑ์จะถูกตีราคาเป็นเงิน ก่อนจะถูกขายเป็นเครดิตให้กับองค์กรอื่นได้ 

ตามข้อตกลงในพิธีสารเกียวโตได้กำหนดกลไกต่าง ๆ ให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะโลกร้อน หนึ่งในกลไกคือ การซื้อขายมลพิษ หรือ คาร์บอนเครดิต กับประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถลดก๊าซที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกลงตามที่กำหนดไว้ได้

ตลาดคาร์บอนเครดิต คืออะไร

ตลาดคาร์บอนเครดิต คือ พื้นที่กลางสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อ–ขาย คาร์บอนเครดิต ถือเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่กระตุ้นให้ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ซึ่งตลาดคาร์บอนเครดิตเองก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก

  • ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory Carbon Market)  อุตสาหกรรมระดับประเทศ หรือระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลจะเป็นคนกำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีผลผูกทางกฎหมาย มีบทลงโทษชัดเจนถ้าธุรกิจไหนไม่ปฏิบัติตาม และการตลาดภาคบังคับจะเกี่ยวข้องกับการซื้อขายคาร์บอนตามพันธกรณีของพิธีสารเกียวโตด้วยเช่นกัน
  • ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market)  เป็นตลาดสำหรับเอกชน หรือธุรกิจที่ต้องการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจ ไม่ผูกพันกับกฎหมาย ซึ่งสมาชิกสามารถตั้งเพดาน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยตัวเองได้ มีผลดีต่อภาคธุรกิจ SMEs ที่สนใจในพลังงานสะอาด ซึ่งอาจนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเครดิตคาร์บอนได้ในอนาคต

ซึ่งปัจจุบันตลาดคาร์บอนเครดิตในไทยเป็นแบบภาคสมัครใจ เพราะยังมีผู้ประกอบการน้อยราย โดยผู้ที่เข้าร่วมจะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อบก หรือ TGO ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction : T-VER) 

แล้วเราเอาคาร์บอนเครดิตมาจากไหนกัน?

คาร์บอนเครดิต จะมาจากโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น จัดการขยะ การปลูกป่า ของหลาย ๆ บริษัท เมื่อต้นกล้าโตขึ้นเป็นไม้ยืนต้น ก็จะเข้าไปวัดส่วนสูง ความยาว ขนาดรอบวงของต้นไม้ แล้วส่งข้อมูลให้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก) คำนวณ ถ้าผ่านการรับรองก็จะได้รับเครดิตที่เรียกว่า TVERs ที่สามารถนำไปใช้สิทธิในการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) ได้

แล้วทำไมทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยถึงมาให้ความสำคัญ และกลายเป็นการลงทุนที่น่าจับตามอง

  • ประโยชน์ระยะสั้น : ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกที่ได้เป็นส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อน เพื่อชดเชยจากสิ่งที่ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมของตนที่ได้ปล่อยก๊าซออกมา จะมีกิจกรรมอย่าง การส่งเสริมการปลูกป่า ทำโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  • ประโยชน์ระยะยาว : ทั้งภาคธุรกิจ และภาคประชาชนจะได้ร่วมมือกันช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น โดยภาคธุรกิจจะหันมาลงทุนให้กลุ่มพลังงานสะอาด พลังงานทดแทนเพื่อการประหยัดพลังงาน รวมไปถึงการส่งเสริมภาคเกษตรกรของชุมชน สนับสนุนการปลูกป่าเพื่อสร้างพื้นที่การดูดซับคาร์บอนมากยิ่งขึ้น

    นอกจากนี้ประชาชนทั่วไปก็สามารถหารายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตได้ โดยต้องมีคุณสมบัติตามนี้

ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจ A ไม่สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซได้ ก็จะเลือกตกลงซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากสวนของชาวบ้านเพื่อนำมาชดเชยคาร์บอนเครดิตของธุรกิจตัวเอง

นอกจากนี้ประชาชนทั่วไปก็สามารถหารายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตได้ โดยต้องมีคุณสมบัติตามนี้

คุณสมบัติผู้ขายคาร์บอนเครดิต

  • มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ประเภทไม้ยืนต้นตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป  
  • มีเอกสารสิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 
  • มีความรู้ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนและจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ 
  • มีความสามารถในการจ้างผู้ประเมินภายนอกมาตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบข้อมูลก๊าซเรือนกระจก

ดังนั้นการร่วมมือกันเพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจึงเป็นผลดีสำหรับตัวธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเอง และทุกคนบนโลกนี้เช่นเดียวกัน

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่