fbpx
Search
Close this search box.

บอนด์ยิลด์คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อเศรษฐกิจ

บอนยิลด์คืออะไร
สารบัญ

             บอนด์ยิลด์ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการลงทุนเป็นอย่างมากทั้งในต่างประเทศ และหรือแม้แต่ในไทยเอง โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีการขยับขึ้น หรือขยับลงสูงมากเป็นพิเศษเหมือนช่วงเวลานี้

บอนยิลลด์

          “บอนด์ยิลด์” หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตร มีความแตกต่างจากอัตราดอกเบี้ยทั่วไปในตลาด เพราะอัตราดังกล่าวสามารถปรับขึ้นหรือลงได้ ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ณ ช่วงเวลาที่พันธบัตรมีการซื้อขายเปลี่ยนมือ

            ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A ออกหุ้นกู้ (ตราสารหนี้/พันธบัตรภาคเอกชน) กำหนดอัตราผลตอบแทนไว้ที่ 2% แต่ด้วยภาวะดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น ส่งผลให้ในเวลาต่อมารัฐบาลออกพันธบัตรเพื่อระดมทุนด้วยอัตราผลตอบแทน 2.5%

              ในกรณีข้างต้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้บริษัท A ไม่จูงใจผู้ลงทุน แต่หากผู้ลงทุนจะขายหุ้นกู้ชุดดังกล่าวเพื่อไปหาหุ้นกู้หรือพันธบัตรรัฐบาลชุดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ผู้ลงทุนที่ถือหุ้นกู้บริษัท A จะต้องขายหุ้นกู้ที่ถือในราคาที่ถูกลง เพื่อให้บอนด์ยิลด์เพิ่มขึ้น

               ในทางกลับกัน หากภาวะดอกเบี้ยเป็นขาลง เดิมผู้ลงทุนหุ้นกู้บริษัท A ได้อัตราผลตอบแทนที่ 2% ขณะที่รัฐบาลออกพันธบัตรเพื่อระดมทุนในอัตราดอกเบี้ย 1.5% จะส่งผลให้ผู้ถือหุ้นกู้บริษัท A สามารถขายหุ้นกู้ชุดดังกล่าวได้ในราคาที่สูงขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องกดราคาหุ้นกู้ลงเพื่อให้บอนด์ยิลด์เพิ่มขึ้น

ผลกระทบบอนยิลด์ต่อตลาดหุ้น

             ขณะที่ผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น เป็นผลมาจากที่ผู้ลงทุนมักเปรียบเทียบการลงทุนของ 2 ตลาด ได้แก่ ตลาดตราสารหนี้/ตลาดพันธบัตร และตลาดหุ้น โดยจะพิจารณาจากส่วนต่างผลตอบแทนระหว่างตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น (Earning Yield Gap)

              หากผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรเพิ่มขึ้นสูง จะส่งผลให้ Earning Yield Gap ปรับตัวลง หมายถึง การลงทุนในตลาดหุ้นจะน่าสนใจลดลง เพราะนักลงทุนสามารถถือพันธบัตร (ที่ความเสี่ยงต่ำกว่า) แต่ได้อัตราผลตอบแทนพอๆ กับการลงทุนในตลาดหุ้น  ในทางกลับกัน หากผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรลดลง จะส่งผลให้ Earning Yield Gap ปรับตัวขึ้น และจะส่งผลให้ความน่าสนใจลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น

              หากผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรเพิ่มขึ้นสูง จะส่งผลให้ Earning Yield Gap ปรับตัวลง หมายถึง การลงทุนในตลาดหุ้นจะน่าสนใจลดลง เพราะนักลงทุนสามารถถือพันธบัตร (ที่ความเสี่ยงต่ำกว่า) แต่ได้อัตราผลตอบแทนพอๆ กับการลงทุนในตลาดหุ้น

             โดยบอนด์ยิลด์ที่มีผลต่อทิศทางการลงทุนโลกมากที่สุดคงหนีไม่พ้นบอนด์ยิลด์ของสหรัฐ หากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรในตลาดปรับตัวขึ้นตามไปด้วย 

              อย่างไรก็ดี บอนด์ยิลด์เป็นสิ่งที่ปรับขึ้นได้จำกัด เช่น ในภาวะที่รัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป็นไปได้ยากที่รัฐบาลจะออกพันธบัตรมาระดมทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อจูงใจนักลงทุน เพราะจะส่งผลให้ภาระหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นมากจนเกินไป

               นอกจากนี้ แม้ว่าบอนด์ยิลด์จะปรับตัวขึ้นสูง แต่หากกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (EPS) อยู่ในระดับสูง ก็จะส่งผลให้ Earning Yield Gap ลดลง และยังจูงใจให้เงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น (จากสูตรคำนวณ Earning Yield Gap = EPS/ราคาหุ้น*100)

"ถ้าประเทศไหนกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) แข็งแกร่ง เป็นขาขึ้นตลอด ตลาดหุ้นก็ยังขึ้นได้ ไม่จำเป็นต้องลงในยามที่บอนด์ยิลด์เพิ่มขึ้น แต่ถ้าบอนด์ยิลด์เพิ่มขึ้น กำไร บจ.ก็แย่ จะเป็นจุดที่ทำให้เงินไหลออกจากตลาดหุ้น"

แล้ว Inverted yield curve คืออะไร

ปกติเส้น Yield curve จะมี 3 ลักษณะ คือ Steepening, Flattening และ Inverted  

  • Steepening คือภาวะที่ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาวเพิ่มมากขึ้น 
  • Flattening คือส่วนต่างของผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาวนั้นแคบลง 
  • ภาวะ Inverted  คือการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุสั้นสูงกว่าพันธบัตรระยะยาว

             ในปัจจุบันที่อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ส่วนต่างของผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาวนั้นแคบลง (Flattening) หรือผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นนั้นเพิ่มขึ้นเร็วกว่าผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว และทำให้นักลงทุนเริ่มกังวลว่า Yield curve จะเริ่มมีแนวโน้มไปสู่ภาวะ Inverted  ต่อไปซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

ทำไมเกิด Inverted yield curve ตอนนี้?

          อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐระยะสั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีนี้ โดยตลาดคาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องทั้งปี ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐระยะยาวปรับขึ้นน้อยกว่าจากความกังวลว่านโยบายของธนาคารกลางจะฉุดเศรษฐกิจสหรัฐ ผลก็คือทำให้เส้นผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐโดยทั่วไปชะลอตัว แต่มีบางช่วงอายุขยับขึ้น โดยเฉพาะระยะสั้น

              อย่างไรก็ตามหากยิ่งเกิดเงินเฟ้อ และรัฐบาลใช้นโยบบายแบบตรึงตัว โดยการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อจะยิ่งทำให้ผลตอบแทนบอนด์ยิลด์ในระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะ recession ได้ในอนาคตอันใกล้

ที่มา : bangkokbiznews

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่