fbpx
Search
Close this search box.

รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้จด VAT ทำอย่างไรดี

เทศกาลจ่ายภาษีประจำปีวนกลับมาอีกครั้ง ที่มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี หรือมีรายได้ทางอื่น 60,000 บาทต่อปีขึ้นไป จะต้องทำหน้าที่ของพลเมืองไทยในการยื่นเสียภาษี

โดยเฉพาะใครที่เพิ่งรู้ตัวว่า ตัวเองมีรายได้เกิน 1.8 ล้าน ไม่หักค่าใช้จ่าย และเกินกำหนดเวลาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว ทำอย่างไรดี ? ครั้งนี้ ACU PAY จะมาบอกวิธีการเตรียมตัวและเอกสาร ขั้นตอนที่ต้องยื่น VAT ว่าจะมีอะไรบ้าง  

ทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าตัวเองมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

  • หยุดรับเงินผ่านบัญชีเดิม : ในกรณีที่ผู้มีรายได้ยื่นภาษีแบบบุคคลธรรมดา และกำลังจะจดบริษัทให้อยู่ในรูปแบบบัญชีบุคคลธรรมดา
  • ตรวจสอบ Statement : ให้ตรวจสอบยอดรายได้ตั้งแต่ที่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีมา ว่าเริ่มเกินตั้งแต่วันที่เท่าไหร่
  • คำนวณรายได้ : หลังจากนั้นให้นำรายได้แต่ละเดือน เพื่อหายอดภาษีที่ต้องเสีย และค่าปรับที่ต้องยื่น 
  • เข้าไปเจรจากับเจ้าหน้าที่สรรพากร : ในกรณีที่ยื่นล่าช้าต้องเสียค่าปรับให้กับกรมสรรพากร แนะนำให้เข้าไปเจรจากับเจ้าหน้าที่ตามสำเนาทะเบียนบ้านที่ตนเองอยู่

ตัวอย่างกรณียื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มล่าช้า

ในกรณีที่ผู้มีรายได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ทันกำหนด ขั้นตอนต่อไปคือเช็ก statement หากว่ารายได้เกิน 1.8 ล้าน ในวันไหน จากนั้นให้นำรายได้ที่เริ่มเกินมาคำนวณ โดยมีสูตรการคำนวณคือ

ยอดรายได้ส่วนที่เกิน 1.8 ล้าน x ภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%) = ภาษีย้อนหลังที่ต้องเสีย

เพื่อนำส่ง ภ.พ.30 สำหรับยอดรายได้ตั้งแต่ ณ วันที่รายได้เกิน 1.8 ล้าน นอกจากนี้ยังมีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่เกิดจากการยื่นล่าช้าอีกด้วย 

ตัวอย่าง ในรอบ 1 ปี นาย A พบว่าตัวเองมีรายได้จากการประกอบธุรกิจ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 แต่ยังมีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาท จนกระทั่งในวันที่ 15 ธันวาคม 2566 นาย A มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท เป็น จำนวน 2,800,000 บาท

ยอดรายได้ส่วนที่เกิน 1.8 ล้าน (1,000,000) x ภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%) = 70,000 บาท

จะเท่ากับว่า นาย A จะเสียภาษีย้อนหลัง 35,000 บาท แต่ถ้ายังคงไม่รีบไปยื่นขอจด VAT จะต้องเสียค่าปรับอีกตามระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่รายได้เกิน 1.8 ล้าน จนถึงวันที่ไปจด VAT หรือวันที่สรรพากรตรวจพบ ซึ่งต้องเสียค่าปรับตั้งแต่ 2-20% และเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน 

เอกสารที่ต้องเตรียมเมื่อจดเข้าระบบ VAT

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ ยื่นจดที่สรรพากรพื้นที่ หรือ ยื่นจดทางออนไลน์ได้เลยเพื่อความสะดวกไม่ต้องเดินทาง

กรณีจดแบบกระดาษ

  • คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01) จำนวน 3 ฉบับ
  • คำขอแจ้งขอใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01.1) จำนวน 3 ฉบับ (ใช้เฉพาะกรณีรายได้ยังไม่เกิน 1.8 ล้านบาทแต่อยากจดทะเบียนก่อน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • กรณีที่อยู่บ้านเช่า ต้องมีสัญญาเช่า แผนที่/รูปถ่ายบริเวณหน้าบ้านและในบ้านให้เห็นว่ามีสถานที่ประกอบการจริง

กรณีจดแบบกระดาษ

  • คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01) จำนวน 3 ฉบับ
  • คำขอแจ้งขอใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01.1) จำนวน 3 ฉบับ (ใช้เฉพาะกรณีรายได้ยังไม่เกิน 1.8 ล้านบาทแต่อยากจดทะเบียนก่อน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • กรณีที่อยู่บ้านเช่า ต้องมีสัญญาเช่า แผนที่/รูปถ่ายบริเวณหน้าบ้านและในบ้านให้เห็นว่ามีสถานที่ประกอบการจริง

เกิดอะไรขึ้น ถ้ามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท แต่ไม่ได้จดเข้าระบบ VAT

แต่ถ้าเลือกที่จะไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท แล้วสรรพากรตรวจสอบพบเข้า ให้เราเตรียมใจเก็บเงินจ่ายภาษีย้อนหลังได้เลย แถมยังมีโทษปรับทางกฎหมายและภาษีดังนี้ 

  • ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ 2 เท่า ของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตลอดระยะเวลาที่ไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเท่ากับเป็นเงิน 1,000 บาทต่อเดือนภาษี และเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
  • ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยตนเอง หากทำธุรกิจเกี่ยวกับการขายสินค้าหรือบริการ ไม่สามารถเก็บได้จากลูกค้า และไม่สามารถออกใบกำกับภาษีได้ เนื่องจากไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ถูกร้านค้าหรือผู้ประกอบการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บ ไม่สามารถนำมาเป็นภาษีซื้อเพื่อหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียได้ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไม่เข้าข่ายเป็นภาษีซื้อ

สำหรับใครที่เพิ่งรู้ตัวว่าตัวเองมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้รีบตรวจสอบ เตรียมเอกสาร คำนวณค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่าย และค่าปรับจากการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มล่าช้าให้เรียบร้อย จากนั้นเข้าไปยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้อง อย่าคิดว่าสรรพากรจะไม่รู้ เพราะถ้าเกิดนิ่งเฉยจนทางกรมสรรพากรตรวจสอบเจอเอง นอกจากจะต้องเสียเบี้ยปรับ 2-20% และเงินเพิ่ม 1.5% แล้ว ยังต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายอีกด้วย

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่