ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราอยู่ในช่วงที่คาดการณ์เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนได้ยากลำบากกว่าปกติเป็นอย่างมาก จากความผันผวนของค่าเงิน และสถานการณ์ต่างๆของโลก ดังนั้น เพื่อเป็นการปกกันความเสี่ยงเรามาลองศึกษา 6 วิธีนี้กันครับ
สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward) คือ สัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศในอนาคตด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วันนี้ (ล็อกเรท) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวน อัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าดังกล่าว เรียกว่า forward rate สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนด forward rate เพิ่มเติมได้ ที่นี่
วิธีนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการนำเข้า – ส่งออก ก็สามารถใช้ได้หากต้องการล็อกเรทอัตราแลกเปลี่ยนและต้องการความยืดหยุ่นของรูปแบบการทำสัญญา
ข้อดีคือ สามารถรับรู้จำนวนรายได้รายจ่ายในรูปเงินบาทได้ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาวางแผนบริหารต้นทุนและผลกำไรได้ ง่ายต่อการใช้ ฟรีค่าธรรมเนียม และมีความยืดหยุ่นสูง เนื่องจากสามารถกำหนดช่วงเวลารับจ่ายเงินตราต่างประเทศได้รวมถึงสามารถเลื่อนวันรับจ่ายเงินตราต่างประเทศได้ด้วย
แต่วิธีนี้ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง คือต้องมีวงเงินสินเชื่อและบัญชีกับธนาคารก่อน หรือหากเป็นผู้ประกอบการรายย่อยอาจต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมกับธนาคาร
การประกันค่าเงิน (Options) คือ การซื้อสิทธิ์ที่จะซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศในอนาคตด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้ตกลงไว้ล่วงหน้ากับธนาคาร หรือเรียกง่ายๆ ว่าการซื้อสิทธิ์ในการล็อกเรท โดยผู้ซื้อ options (ลูกค้า) จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมที่เรียกว่า Option Premium ให้กับธนาคาร ซึ่งทำให้ผู้ซื้อ options อาจไม่จำเป็นต้องได้รับวงเงินในการทำธุรกรรมจากธนาคาร และไม่ต้องวางหลักประกันก่อนทำธุรกรรม
Options เหมาะกับผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก ที่ต้องการปิดความเสี่ยงการขาดทุน แต่เปิดโอกาสในการทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
ข้อดีคือ ปิดโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเลือกใช้สิทธิ์และเปิดโอกาสในการทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยไม่ใช้สิทธิ์ต้นทุนสูงสุดเท่ากับค่าธรรมเนียม โดยไม่จำเป็นต้องวางหลักประกันกับธนาคาร
แต่วิธีนี้ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้างคือ มีค่าธรรมเนียมหรือเบี้ยประกันที่ต้องจ่าย ณ วันทำสัญญา ไม่สามารถยกเลิกสัญญาได้ หรือบางธนาคารอาจกำหนดเงื่อนไข เช่น มูลค่าสัญญาขั้นต่ำหรือต้องมีวงเงินสินเชื่อกับธนาคาร เป็นต้น
สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าผ่านตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Futures) มีลักษณะคล้ายกับสัญญา Forward คือ เป็นการล็อกเรทสำหรับการซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศในอนาคต แต่มีความแตกต่างตรงที่สัญญา Futures เป็นสัญญามาตรฐาน และจะทำการซื้อขายในตลาดซื้อขายล่วงหน้าซึ่งเป็นตลาดกลาง โดยในประเทศไทยคือ Thailand Futures Exchange (TFEX)
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนสามารถซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าผ่าน TFEX ได้เฉพาะเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD Futures) เท่านั้น โดยต้องทำการซื้อขายผ่านตัวกลาง (Broker) ที่ได้รับอนุญาต เช่น บริษัทหลักทรัพย์ และต้องวางหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) ตามเกณฑ์ที่ TFEX กำหนด
นอกจากนี้ จะมีการคำนวณกำไร/ขาดทุนเป็นประจำทุกวันทำการ หรือที่เรียกว่า Mark to Market ซึ่งอาจทำให้ต้องวางหลักประกันเพิ่มเติม หากขาดทุนจนทำให้หลักประกันในบัญชีต่ำกว่าระดับหลักประกันขั้นต่ำ, ผู้ที่ต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในอนาคต (หรือผู้นำเข้า) จะอยู่ในสถานะซื้อ (Long Position), ผู้ที่ต้องการขายเงินดอลลาร์สหรัฐในอนาคต (หรือผู้ส่งออก) จะอยู่ในสถานะขาย (Short Position)
สำหรับข้อดีของ Futures เช่น ไม่ต้องมีวงเงิน โดยสามารถเปิดบัญชีผ่าน Broker ได้เอง, มูลค่าขั้นต่ำในการทำสัญญาน้อย ใช้เงินจำนวนน้อย จ่ายแค่ Initial Margin, ไม่จำเป็นต้องส่งมอบดอลลาร์สหรัฐจริง, ลักษณะสัญญาเป็นมาตรฐาน และมีวันครบกำหนดของสัญญาที่ชัดเจน โดยผู้ประกอบการหรือนักลงทุนสามารถเลือกรับมอบหรือส่งมอบเงินดอลลาร์สหรัฐ ได้จริงกับธนาคารกรุงไทย (KTB) ในทุกๆ วันก่อนวันที่สัญญาครบกำหนด
ทั้งนี้มีข้อจำกัด เช่น ลักษณะของสัญญาเป็นมาตรฐาน ไม่สามารถปรับได้ตามต้องการ ดังนั้น วันหมดอายุของสัญญาและจำนวนเงินอาจไม่ตรงกับวันและจำนวนที่ต้องการใช้เงิน/ส่งมอบดอลลาร์สหรัฐ
รวมถึงต้องติดตามมูลค่าสัญญาทุกวัน เพราะมีการคำนวณกำไร/ขาดทุนเป็นประจำทุกวันทำการ อาจถูกเรียกให้วางหลักประกันเพิ่มเติม เพื่อรักษาระดับหลักประกันขั้นต่ำ ตลอดจนมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม เช่น ค่าธรรมเนียมการซื้อขายด้วย
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tfex.co.th/th/products/usd-exchange-service.html
บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit: FCD) คือ บัญชีเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ต้องการฝากเงินไว้ในรูปแบบเงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ยูโร (EUR) เยน (JPY) เป็นต้น
การทำ FCD Foreign Currency Deposit เหมาะสำหรับคนที่ใช้เงินต่างประเทศเป็นประจำอย่างเช่น ผู้ส่งออกและผู้นำเข้า โดยสามารถฝากได้ทั้งแบบกระแสรายวัน ออมทรัพย์ และฝากประจำ จึงเหมาะกับผู้ประกอบการนำเข้า – ส่งออกที่มีรายได้รายจ่ายเป็นเงินสกุลเดียวกัน, ประชาชนที่มีเงินเย็นและต้องการเก็บเงินเป็นเงินสกุลต่างประเทศสำหรับค่าใช้จ่ายในอนาคต เช่น ค่าเทอมรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว รวมถึงเหมาะกับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ข้อดีคือ สามารถพักเงินตราต่างประเทศในบัญชีได้โดยไม่ต้องรีบแลกเงินประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนต่างและค่าธรรมเนียมอัตราแลกเปลี่ยนหากรับจ่ายเป็นสกุลเงินเดียวกัน สามารถกำหนดการซื้อขายเงินตราต่างประเทศในจังหวัดและราคาเหมาะสมได้ด้วยตนเอง อีกทั้งการฝากเงินได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังสามารถทำธุรกรรมได้สะดวกรวดเร็วเช่นบัญชีเดียวทำได้หลายวัตถุประสงค์ฝากเงินได้แบบไม่จำกัดจำนวนสามารถทำธุรกรรมผ่าน Internet Banking หรือ Mobile Application ได้ ขณะที่ข้อจำกัดมีเพียงอย่างเดียวคือ มีค่าธรรมเนียม การฝาก ถอน โอน
Natural hedge คือการบริหารรายได้ และรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้อยู่ในสกุลเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อทั้งรายได้และรายจ่ายในทิศทางเดียวกัน จึงสามารถชดเชยกันได้ เช่น หาก “เงินบาทอ่อนค่า” จะทำให้ต้นทุนในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกันรายได้ในรูปเงินบาทก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ยิ่งไปกว่านั้น หากผู้ประกอบการสามารถบริหารให้รายได้และรายจ่ายเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้มากขึ้น เนื่องจากจะทำให้รายได้และรายจ่ายที่มีมูลค่าเท่ากันหักล้างกันได้ลงตัว นั่นคือ ช่วยให้ไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน วิธีนี้จะคล้ายกับตาชั่งที่เราพยายามบาลานซ์สกุลเงินทั้ง มากกว่า 2 สกุลขึ้นไป เพื่อให้เกิดระยะห่าง หรือ Gap จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนน้อยที่สุด
Natural hedge จึงเหมาะกับผู้ประกอบการที่มีทั้งรายรับและจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศเป็นประจำ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ประกอบธุรกิจทั้งนำเข้าและส่งออก ซึ่งหากสามารถบริหารกระแสเงินสดทั้งขารับและขาจ่ายให้พอดีกันก็จะเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้
โดย Natural hedge มีข้อดีคือ เป็นการบริหารความเสี่ยงที่ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือมีค่าใช้จ่ายน้อยเมื่อเทียบกับการใช้เครื่องมือทางการเงินในการบริหารความเสี่ยง จึงช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการที่มีทั้งรายได้และรายจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ
ปัจจุบันเงินดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินที่ใช้กำหนดราคากลางชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศมากที่สุด แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เงินดอลลาร์สหรัฐ มีความผันผวนมากขึ้น ในขณะที่ตลาดการค้าของไทยไม่ได้พึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ มากเท่าในอดีต หากแต่มีตลาดการค้าใหม่ๆ ที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะจีน และอาเซียนเป็นต้น ดังนั้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์ของตลาดการเงินโลกในปัจจุบัน การกระจายความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยการใช้สกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ในการค้าขายระหว่างประเทศ จึงน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถช่วยผู้ส่งออกและผู้นำเข้าลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในสกุลเงินหลัก อย่างเงินดอลลาร์สหรัฐได้ เนื่องจากเงินบาทและเงินสกุลท้องถิ่นในภูมิภาคเหล่านี้มักเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน
ข้อดีของการลดความเสี่ยงลักษณะนี้คือการลดการพึ่งพิงเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีความผันผวนสูง และสามารถเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเจรจาต่อรองกับคู่ค้าเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มการผลิตได้เนื่องจากฝ่ายหนึ่งไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ธนาคารพาณิชย์ไทยให้บริการธุรกรรมเงินสกุลท้องถิ่นในหลายด้าน โดยครอบคลุมเงินสกุลท้องถิ่นหลายสกุล เช่น เงินหยวน เงินริงกิต และเงินรูเปีย ซึ่งรายละเอียดและเงื่อนไขการให้บริการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละธนาคาร ผู้ที่สนใจใช้บริการสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ธนาคารโดยตรง
อ้างอิง: ธนาคารแห่งประเทศไทย
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |