fbpx
Search
Close this search box.

ทำไมธนาคารกลางทั่วโลกต่างสะสม ‘ทองคำ’ เป็นทุนสำรอง

ทองคำ สินทรัพย์ปลอดภัย
ความผันผวนของตลาดและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ผู้คนต่างขวนขวายสิ่งที่เรียกว่า ‘สินทรัพย์ปลอดภัย’ (Safe Haven) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘ทองคำ’ สินทรัพย์ที่ธนาคารกลางหลายประเทศต่างถือครองเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยความต้องการทองคำของธนาคารกลางคิดเป็นประมาณ 1 ใน 5 ของความต้องการทองคำโลก แล้วเพราะเหตุผลใด ที่ทำให้ ‘ทองคำ’ กลายเป็นสินทรัพย์สำรองที่ธนาคารทั่วโลกเก็บตุนไว้ ACU PAY จะมาเล่าให้ฟังกัน

เนื้อหา

ทองคำ สินทรัพย์ปลอดภัย

ทำไมธนาคารกลางทั่วโลกมี ทองคำสำรอง ?

ทองคำสำรองมีความสำคัญมากต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ทองคำทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าและมีความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจไม่แน่นอน 

ย้อนกลับไปในช่วงยุค 1900 ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกมีการยึดค่าของเงินตามระบบที่เรียกว่า “มาตรฐานทองคำ” ที่คงค่าของเงินกระดาษไว้กับปริมาณทองคำ ด้วยการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ระหว่างสกุลเงินของประเทศกับทองคำ นั่นหมายความว่าเงินแต่ละหน่วยที่ออกมานั้นมีมูลค่าเท่ากับทองคำ คนทั่วไปจึงสามารถเอาเงินกระดาษไปแลกเป็นทองคำจริงได้ตามอัตราที่กำหนดไว้

แม้ว่าระบบมาตรฐานทองคำจะถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในช่วงทศวรรษ 1970 แต่หลายประเทศก็ยังคงเก็บทองคำเป็นทุนสำรองอยู่ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจไม่แน่นอน ทำให้ความต้องการทองคำสำรองเพิ่มขึ้น 

ธนาคารกลางของแต่ละประเทศจึงหันนำทองคำกลับมาขึ้นอีกครั้งในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ซึ่งทองคำสำรองนี้ยังคงมีบทบาทอย่างต่อเนื่องในการกำหนดความน่าเชื่อถือทางการเงินและภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศ ถึงแม้ว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันจะพัฒนาไปมากแล้วก็ตาม

เปิดเหตุผลทำไมธนาคารกลางจึงเลือกเก็บทองคำสำรอง

โดยมีเหตุผลที่ธนาคารกลางต่าง ๆ เลือกเก็บทองคำ ดังนี้

  1. รักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

    ทองคำได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งเก็บมูลค่าที่มีความเสถียรและเชื่อถือได้ การที่ประเทศถือครองทองคำเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ตลาดการเงินมีความผันผวน

  2. รักษาเสถียรภาพของค่าเงิน

    แม้ในอดีตมูลค่าเงินของแต่ละประเทศมีการอ้างอิงค่าเงินโดยตรงกับทองคำ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้ระบบนี้แล้ว แต่หลายประเทศก็ยังคงมองว่าการถือครองทองคำสำรองเป็นวิธีช่วยรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน นอกจากนี้ทองคำสามารถป้องกันความเสี่ยงจากมูลค่าสกุลเงินท้องถิ่นที่ถืออยู่ลดลงไป จากอำนาจซื้อที่ลดลง​​ในช่วงที่เงินเฟ้อได้

  3. ช่วยกระจายความเสี่ยง

    ทองคำเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง ที่แตกต่างจากเงินตราต่างประเทศ การมีทองคำสำรองช่วยให้ธนาคาร สามารถกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาเงินตราต่างประเทศอย่างเดีย

  4. เงินทุนระหว่างประเทศ ใช้ชำระหนี้ หรือเป็นหลักประกันเงินกู้

    การค้าและเงินทุนระหว่างประเทศ บางประเทศใช้ทองคำในการชำระหนี้ระหว่างประเทศ หรือใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ การมีทองคำสำรองมาก จะช่วยยกระดับความน่าเชื่อถือทางการเงินของประเทศนั้น ๆ

  5. รับมือวิกฤตในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ และสงคราม

    อย่างที่รู้กันว่าทองคำมักเพิ่มมูลค่าในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ หรือเมื่อเกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง สงคราม ทองคำสำรองจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันเงินเฟ้อ และการลดค่าของเงินตรา

 

สุดท้ายแล้วในช่วงที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ สินทรัพย์สำรองที่ปลอดภัยกว่าเงินตราหรือสินทรัพย์ต่างประเทศ ดังนั้น ‘ทองคำ’ จึงเป็นสินทรัพย์ที่พึ่งของหลาย ๆ ธนาคารกลางทั่วโลก เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน และดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้กลับมาลงทุนอีกครั้งนั่นเอง

อ้างอิงจาก

ผู้เขียน

ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่