fbpx
Search
Close this search box.

การชำระเงินของโลก และของไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

             ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาบวกกับ COVID – 19 แสดงให้เราเห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงจากทางกายภาพไปสู่ดิจิตอลอย่างรวดเร็ว สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเห็นได้ชัดคือระบบการชำระเงิน หรือบริการทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงจากเงินกระดาษไปสู่การชำระเงินแบบ อิเล็กทรอนิกส์อย่างก้าวกระโดด และส่งผลต่อการค้าแบบไร้พรมแดนอย่างเห็นได้ชัด 

การชำระเงินของโลก และของไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง_
สารบัญ

ระบบชำระเงินของโลกในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง?

             จากรายงานของ FIS  ปี 2021 เผยว่า ระบบการชำระเงินที่นิยมกันทั่วโลกทั้งสำหรับการซื้อขายบน e-Commerce และหน้าร้านที่มีเครื่อง POS 3 อันดับแรกคือ e-Wallet, Credit Card และ Debit Card สำหรับเงินสดยังคงมีความสำคัญสำหรับการซื้อขายแบบ POS โดยเป็นวิธีการชำระเงินที่เป็นที่นิยมอันดับที่ 4 มีส่วนแบ่งในตลาดการชำระเงินที่ 20.5% ของมูลค่าการชำระเงิน ณ POS ทั้งหมด สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ปรับตัวเข้าสู่ระบบสังคมไร้เงินสดมากยิ่งขึ้น

แนวโน้มการชำระเงินในอนาคต

  1. การใช้เงินสดในหน้าร้านที่มีเครื่อง POS มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง และคาดการณ์ว่าจะลดลงเกือบครึ่งหนึ่งของปัจจุบันภายในปี 2023 โดยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประจำวันที่คนย้ายการใช้จ่ายไปอยู่บน e-Payment
  2. e-Wallet จะยังคงเป็นวิธีการชำระเงินหลักบนแพลตฟอร์ม e-Commerce และมีแนวโน้มเป็นวิธีการชำระเงินที่มีสัดส่วนเกินครึ่งของมูลค่าทั้งหมด โดยถึงแม้เศรษฐกิจโลกจะเผชิญภาวะถดถอยจากวิกฤติ COVID-19 อย่างไรก็ดี ธุรกิจ e-Commerce เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และจากรายงานของ FIS พบว่า e-Wallet ถือเป็นวิธีการหลักในการชำระเงินบน e-Commerce คิดเป็น 44.5% ของมูลค่าการชำระเงินทั้งหมด และคาดว่า ในปี 2024 มูลค่าการชำระเงินผ่าน e-Wallet จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 51.7% จากแพลตฟอร์ม e-Commerce ที่คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง ประกอบกับการใช้จ่ายด้วยวิธีอื่นที่คาดว่าจะลดลง เช่น การโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต และเงินสด เป็นต้น
  3. ความนิยมของบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ได้แก่ ใช้ก่อนจ่ายทีหลัง Buy-Now-Pay-Later (BNPL) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถตอบสนองต่ออุปสงค์ภายใต้ความสามารถในการใช้จ่ายที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ โดย BNPL อนุญาตให้ผู้ค้าสามารถให้บริการสินค้าหรือบริการแก่ผู้บริโภคก่อน และผู้บริโภคสามารถทยอยผ่อนชำระหนี้แบบปลอดดอกเบี้ย หรือชำระหนี้ทั้งหมดหลังจากระยะเวลาที่กำหนดได้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคที่อายุต่ำว่า 30 ปี (Millennials) และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยจากข้อมูลของ Statista พบว่า ในปี 2020 BNPL มีส่วนแบ่งในตลาดแพลตฟอร์ม e-Commerce 2.1% เพิ่มขึ้นจาก 0.4% ในปี 2016 ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่กว่าวิธีการชำระเงินแบบดั้งเดิม ได้แก่ Direct Debit และ pre-paid card นอกจากนี้ FIS  คาดว่า ขนาดของ BNPL จะเพิ่มขึ้นเท่าตัวไปอยู่ที่ 4.2% ในปี 2024 โดยปัจจุบัน Fintech ยักษ์ใหญ่ได้ออกมาประกาศแผนดำเนินโครงการ BNPL แล้ว เช่น Mastercard (Mastercard Installments) และ Apple และ Goldman Sachs (Apple Pay Later)

ระบบการชำระเงินของไทยเป็นอย่างไรในปัจจุบัน?

          สำหรับประเทศไทย เงินสดยังเป็นวิธีการชำระเงินหลักผ่านเครื่อง POS (62%) ขณะที่การชำระเงินส่วนใหญ่บนแพลตฟอร์ม  e-Commerce อยู่ในรูปแบบของ Bank Transfer (31%) โดยการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์เติบโตมากขึ้นในช่วง 4–5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกรรม internet and mobile banking จากพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ดีขึ้น รวมถึงการมีนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ ได้แก่ โครงการพร้อมเพย์ และ e-Wallet ของภาครัฐ (แอปเป๋าตัง) ประกอบกับมาตรการเว้นระยะห่างจากวิกฤต COVID-19 ส่งผลให้ระบบ e-Payment เข้ามามีบทบาทในการชำระเงินของไทยมากขึ้น สะท้อนจากมูลค่าการทำธุรกรรม internet and mobile banking และ e-money ที่มีการเติบโตต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 2019 ขณะที่การทำธุรกรรมรูปแบบดั้งเดิมปรับหดตัวลง

แนวโน้มระบบการชำระเงินของไทยในอนาคต

               ระบบการชำระเงินของไทยในอนาคตมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับโลก กล่าวคือ การชำระเงินแบบดั้งเดิมมีแนวโน้มปรับตัวลดลง และจะถูกแทนที่ด้วย e-Payment โดยเป็นผลจาก

  1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีทางการเงินที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โดยจากรายงานของ ACI World Wide  พบว่า ไทยมีมูลค่าการชำระเงินผ่าน e-Payment แบบ Real-Time สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของโลก คิดเป็น 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่ารองจากอินเดีย (2.55 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) จีน (1.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) และเกาหลีใต้ (6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และสูงกว่าอันดับที่ 5 คือ UK (2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เกือบเท่าตัว
  2. การดำเนินนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลัง โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการออก พ.ร.บ. ระบบการชําระเงิน พ.ศ.2560 ที่เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรมของระบบการชำระเงินใหม่ๆ ครอบคลุมระบบ e-Payment และสกุลเงินดิจิทัล รวมทั้งจะช่วยยกระดับระบบการชำระเงินของประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
  3. ผู้ประกอบการมีความกระตือรือร้นต่อการให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ โดยบางบริษัทได้มีการเปิดให้ลูกค้าสามารถใช้สกุลเงินดิจิทัลเพื่อชำระสินค้าได้แล้ว เช่น บริษัท แสนสิริ จำกัด, Major Cineplex และรองเท้านันยาง

อ้างอิง

1 The Global Payment Reports. (2021). The FIS Worldpay

2 Mastercard Data Warehouse. (2020). Mastercard

3 Cryptocurrency Market Size, Share and Trends forecast to 2026. (2021). Markets and Markets

4 The Global Payment Reports. (2021). The FIS Worldpay

5 Global Real-Time Payments Transactions Surge by 41 Percent in 2020 as COVID-19 Pandemic Accelerates Shift to Digital Payments – New ACI Worldwide Research Reveals. (2021, March 29). ACI Worldwide

6 oneyandbanking

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่