ใครที่ซื้อคอนโด ทาวน์โฮม บ้านพร้อมที่ดิน หรือมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง รู้หรือไม่ว่า ดอกเบี้ยที่มาจากการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยนั้น เราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ซึ่งรายละเอียดจะมีอะไรบ้าง ACU PAY จะสรุปให้ฟัง
โดยดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินมาซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ที่ผู้กู้จะจ่ายให้กับทางธนาคารทุกเดือน สามารถนำมายื่นขอลดหย่อนภาษีบ้านได้สูงสุดปีละไม่เกิน 100,000 บาท
ซึ่งกรมสรรพากรได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ดังนี้
เนื่องจากกรมสรรพากรได้กำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้ โดยสามารถใช้ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยมาลดหย่อนรายได้ของเรา ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ดังนั้นถ้าหากเราจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้บ้าน “น้อยกว่า” หรือ “เท่ากับ” 100,000 บาท ก็จะสามารถลดหย่อนได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริง แต่ถ้าหากจ่ายดอกเบี้ยไป “มากกว่า” 100,000 บาท ก็จะสามารถลดหย่อนภาษีได้ถึงแค่ 100,000 บาทนั่นเอง
โดยวิธีการคิดการหักลดหย่อน จะคิดเฉพาะส่วนดอกเบี้ยจากการกู้ยืม ไม่คิดส่วนเงินต้น
ยกตัวอย่างเช่น
จ่ายดอกเบี้ยบ้านเดือนละ 20,000 บาท จำนวน 12 เดือน รวมดอกเบี้ยต่อปีเท่ากับ 240,000 บาท แต่จะได้รับสิทธิการลดหย่อนสูงสุดที่ 100,000 บาท เท่านั้น
กรณีกู้ร่วมกัน จะต้องแบ่งค่าลดหย่อนให้กับผู้ยื่นกู้ร่วมเท่ากัน แต่จะต้องรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท เหมือนกับการกู้ซื้อบ้านคนเดียว
ยกตัวอย่างเช่น
สามี-ภรรยา ยื่นกู้ซื้อบ้านร่วมกันโดยมีการจ่ายดอกเบี้ยทั้งปีเป็นจำนวน 240,000 บาท จะได้ลดหย่อนรวมสูงสุดที่ 100,000 บาท เท่านั้น และจะได้ลดหย่อนแบ่งคนละครึ่งคือ คนละ 50,000 บาท
สำหรับคนที่ต้องการจะใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษี กรมสรรพากรกำหนดให้ต้องใช้ เอกสารรับรองการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ที่เจ้าหนี้ออกให้ หรือ หนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้าน
ที่แสดงข้อมูลการผ่อนชำระสินเชื่อบ้านในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในเอกสารจะระบุจำนวนเงินที่ผ่อนจ่ายค่าบ้านไปตลอดปีว่า ผ่อนบ้านไปเท่าไหร่ แบ่งเป็นเงินต้นกี่บาท ดอกเบี้ยบ้านกี่บาท เหลือยอดหนี้บ้านทั้งหมดเท่าไหร่ เป็นต้น
โดยจะนำมาใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี สามารถดาวน์โหลดเอกสาร ลย.02 ได้ที่ https://www.rd.go.th
แต่สำหรับสัญญาเงินกู้ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 สามารถแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ กับทางธนาคารหรือผู้ให้กู้ยืมที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ เพื่อให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้กับกรมสรรพากรแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง โดยที่เราไม่ต้องใช้หนังสือรับรองดอกเบี้ยจากธนาคารหรือเอกสารอะไรเลย
แต่ถึงธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นฝ่ายส่งรายละเอียดเอกสารเงินกู้ซื้อบ้านให้กับกรมสรรพากรโดยตรงแล้ว แนะนำให้เรานั้นเก็บหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้านไว้อีกทางหนึ่ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในกรณีที่กรมสรรพากรขอดูหลักฐานเพิ่มเติมนั่นเอง
และสำหรับใครที่กำลังจะมีบ้านในอนาคต ACU PAY ก็ขอแนะนำให้รู้จักวางแผนการเงินอย่างรอบคอบให้ดี เพื่อที่เราจะได้มีสภาพคล่องในการใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม และที่สำคัญอย่าลืมศึกษาและวางแผนภาษีในการกู้บ้าน เพื่อให้เราจ่ายภาษีได้อย่างถูกต้องและคุ้มค่าให้ได้มากที่สุด
ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |