fbpx
Search
Close this search box.

ศรีลังกา ประเทศที่น่าสงสารกว่าที่คิด

สารบัญ

         แม้หลายๆประเทศเองต่างก็เจอที่วิกฤต เช่นกัน และศรีลังกาเองก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ด้วยความที่เป็นประเทศเกิดใหม่ หรือ Emerging Market และด้วยความที่เศรษฐกิจอาจจะยังไม่แข็งแรงพอที่รับมือไหว กับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ต้องเรียกได้ว่าวางแผนกันวันต่อวัน เพราะสถานการณ์เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ทำให้ศรีลังกาเอง เกิดภาวะที่เรียกว่า ภาวะเศรษฐกิจล่มสลาย เป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปี นับตั้งแต่แยกตัวออกจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2495

สถานการณ์ในศรีลังกาตอนนี้พูดได้ว่ายิ่งกว่าวิกฤต

1. คนตกงาน ขาดแคลนรายได้ คนเกือบทั้งประเทศจากประชากรทั้งหมด 22 ล้านคน ไม่มีรายได้ เนื่องจากตกงาน และแน่นอนว่าผลที่ตามมาคือไม่มีเงินที่จะเลี้ยงครอบครัวหรือแม้แต่ตัวเอง

2. ราคาพลังงานพุ่งสูง เกือบ 100 % ไม่มีเงินนำเข้าพลังงานทั้งดีเซล และเบนซิน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆในการดำรงชีวิตเพราะไม่เพียงใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น แต่ยังเป็นพลังที่ใช้ผลิตไฟฟ้าอีกด้วย

3. ไฟฟ้าดับทั้งประเทศ เนื่องจากขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิง เพราะเป็นประเทศที่ต้องนำเข้า และด้วยประเทศไม่มีเงินเพียงพอที่จะนำเข้าพลังงาน จึงทำให้เกิดการตัดไฟทั้งประเทศ ถึงแม้ศรีลังกาจะเป็นประเทศที่ผลิตไฟฟ้าจากน้ำได้ แต่ฟ้าฝนก็ไม่เป็นใจ เพราะฝนไม่ตก และแม่น้ำก็มีน้ำในระดับที่ต่ำ

4. ขาดแคลนแม้แต่กระดาษ และหมึกให้กับนักเรียน จนนักเรียนทั่วประเทศไม่สามารถที่จะทำการสอบได้ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาศักยาภาพของประชากรในอนาคตด้วย

5. ของแพง ค่าแรงไม่มี ถึงกับต้องใช้คำนี้ เพราะว่าคนส่วนใหญ่ตกงานทั้งประเทศ แถมยังเจอปัญหาเงินเฟ้อที่ทำให้ราคาสินค้าพุ่งสูง จากสินค้าขนาดตลาดเนื่องจากไม่มีนำสินค้า ผลิตเองก็ไม่ได้ เมื่อความการมีมาก สิ่งที่ตอบสนองกลับมีน้อย ส่งผลให้ราคาสินค้าแม้แต่น้ำชาเองยังพุ่งสูงอย่างน้อย 4 เท่าตัว จากการดำเนินงานที่ผิดพลาด และเจอปัญหาในครั้งนี้

6. ไม่มีเงินจะกินข้าว เมื่อไม่มีรายได้ สินค้าแพง สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้คือไม่มีเงินที่จะซื้อข้าว หรือแม้แต่อาหารจะกิน คนศรีลังกาหลายๆ ครอบครัวต้องอด และอิดโรยเนื่องจากไม่มีอาหารกิน

7. ขาดแคลนแม้กระทั่งยารักษาโรค เราเองต่างก็รู้ดีกว่าช่วงเวลานี้มีโรคระบาดอย่างโควิด ซึ่งกระทบกับชีวิตเป็นอย่างมาก เราอาจจะเห็นได้ว่าทำไมหลายๆ คนไม่ใส่หน้ากากอนามัย นั่นเพราะไม่มีเงินจะซื้อ หรือแม้ว่ามีเงินก็อาจต้องเลือกว่า จะซื้อหน้ากากเพื่อป้องกันชีวิต หรืออาหารเพื่อประทั่งชีวิต

         ล่าสุดสำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ว่า จากกรณีกลุ่มผู้ประท้วงขับไล่รัฐบาลศรีลังกาบุกยึดบ้านพักของประธานาธิบดีโกตาพญา ราชปักษา และนายกรัฐมนตรีรานิล วิกรมสิงเห ในกรุงโคลัมโบ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เพื่อกดดันให้คณะผู้นำศรีลังกาลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากการบริหารประเทศล้มเหลว ส่งผลให้เศรษฐกิจของศรีลังกา “ล่มสลายอย่างสิ้นเชิง” นั้น

         แม้รัฐสภาของศรีลังกายืนยันว่า ราชปักษาจะลาออกในวันที่ 13 ก.ค. ส่วนวิกรมสิงเห “แสดงความจำนงขอลาออก” เพื่อเปิดทางให้มีการจัดตั้งรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ อย่างไรก็ตาม การที่ยังไม่มีคำยืนยันอย่างเป็นทางการจากบุคคลทั้งสอง ซึ่งไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณชน ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา ยังคงสร้างบรรยากาศไม่แน่นอนให้แก่ผู้ประท้วง และประกาศว่า จะยังคงยึดครองบ้านพักประจำตำแหน่งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีต่อไป จนกว่าทั้งสองคน “จะลงจากอำนาจอย่างแท้จริง” แม้ทหารและตำรวจพยายามกดดันอย่างหนัก เพื่อให้มวลชนสลายตัว

ไอเอ็มเอฟวิตก ศรีลังกา

          ด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF แถลงเมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ก.ค. ว่า วิตกกับเหตุการณ์ดังกล่าวและจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หวังให้แก้ไขวิกฤตทางการเมืองได้โดยเร็ว เพื่อจะได้สานต่อการเจรจาถึงแผนการแก้ไขทางเศรษฐกิจที่ไอเอ็มเอฟสนับสนุนต่อไป

        ก่อนหน้านี้ ตัวแทนไอเอ็มเอฟเจรจากับนายกฯ วิกรามาสิงหะ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีคลังด้วย เสร็จสิ้นรอบแรก ส่วนนายนันทลัล วีรสิงหะ ผู้ว่าการธนาคารกลางศรีลังกา กล่าวว่า เสร็จสิ้นการตั้งเป้าหมายของโครงการแล้ว

        ศรีลังกาเพิ่งประกาศระงับการจ่ายหนี้ต่างประเทศ มูลค่าเกือบ 7 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 2.5 แสนล้านบาทที่ต้องจ่ายในปีนี้ จากหนี้ทั้งหมด 25,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 8.9 แสนล้านบาท ที่ต้องจ่ายภายในปี 2026 หรือพ.ศ. 2569

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่