fbpx
Search
Close this search box.

อัปเดต!! ภาษีช้อปดีมีคืนมีเงื่อนไขอะไรบ้าง

อัปเดต ภาษีช้อปดีมีคืน

มาแล้วจ้า!! มาทำความรู้จักกับโครงการ “ช้อปดีมาคืน” ใครที่เป็นสายช้อปปิ้ง ช้อปหนักจัดเต็มไม่ต้องกังวลเพราะตอนนี้ช้อปดีมีคืนได้กลับมาแล้ว ไม่ว่าคุณจะไปช้อปปิ้งที่ไหนขอแค่มีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบก็สามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้แล้ว เดี๋ยวเรามาดูกันว่า ช้อปดีมีคืนในปี 2566 จะมีเงื่อนไขในการยื่นลดหย่อนภาษียังไงบ้าง พร้อมทั้งสิทธิประโยชน์มากมายของโครงการช้อปดีมีคืนกัน

ช้อปดีมีคืน คืออะไร

       ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “ช้อปดีมีคืน” คือการสนับสนุนการขายให้แก่ร้านค้า เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 มาใช้ลดหย่อนภาษีได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 40,000 บาท (รวม VAT แล้ว) ทั้งนี้โครงการช้อปดีมีคืนไม่ต้องลงทะเบียนใดๆทั้งนั้น เพียงแค่มีใบกำกับภาษีก็ลดหย่อนได้แล้ว โดยเงื่อนไขของการลดหย่อนภาษีมีดังนี้

    • ต้องเป็นการซื้อสินค้าและบริการภายในวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 เท่านั้น
    • เป็นสินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT หรือเป็นประเภทสินค้า OTOP ประเภทสินค้า E-Book 
    • เป็นร้านค้าที่สามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบได้

ใครบ้างที่ได้รับสิทธิช้อปดีมีคืน

  • ผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล
  • ต้องเป็นผู้ที่ไม่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 
  • ต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ และถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ถึงจะเข้าข่ายได้รับผลประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีนี้

 

สิทธิประโยชน์สำหรับโครงการช้อปดีมีคืน

       ในโครงการช้อปดีมีคืนในปี 2566 ชัดเจนว่าสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 40,000 บาท ทั้งนี้ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ได้แล้วเท่านั้นที่จะสามารถใช้ได้ โดยจะมีการแบ่งสิทธิ์ออกเป็น 2 รูปแบบคือ

  1. ค่าชำระสินค้าและบริการจำนวน 30,000 บาท และมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
  2. ค่าชำระสินค้าและบริการ จำนวนไม่เกิน 10,000 บาท และมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

ตัวอย่างเช่น กรณีที่ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่า 50,000 บาท และขอใบกำกับภาษีในรูปแบบกระดาษ จะสามารถลดหย่อนภาษีเพียง 30,000 บาทเท่านั้น  แต่ถ้าหากซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่า 50,000 บาท และขอใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะสามารถลดหย่อนภาษีได้ 40,000 บาท

สินค้าและบริการที่ไม่สามารถใช้สิทธิได้

  • ค่าสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ
  • ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  • ค่ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  • ค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  • ค่าบริการจัดนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
  • ค่าที่พักในโรงแรม
  • ค่าสาธารณูปโภค น้ำประปา ไฟฟ้า บริการสัญญาณโทรศัพท์และบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
  • ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้ บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลา ตามที่กำหนดไว้ (วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566) เช่น ค่าสมาชิกต่างๆ
  • ค่าประกันวินาศภัย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่