fbpx
Search
Close this search box.

ผ่อนรถคันแรก!! ไม่ได้ยากอย่างที่คิดพร้อมสูตรคำนวณ

ผ่อนรถคันแรก!! ไม่ได้ยากอย่างที่คิด พร้อมสูตรคำนวณ

ใครอยากมีรถยนต์คันแรกมาฟังทางนี้ ซึ่งการมีรถยนต์สักคันช่วยเราได้หลายอย่าง เช่นอยู่ต่างจังหวัด สามารถขับรถไปไหนมาไหนได้ โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องถ้าเกิดธุระด่วนอยากเข้าห้องน้ำต้องมารอ หรืออยากจอดแวะซื้อของ ถ้าเป็นรถสาธารณะก็ค่อนข้างยากที่จะทำนั่นเอง และใครที่กำลังมองหารถดีๆสักคัน ให้ตรงกำลังการจ่ายเงินของตัวเอง วันนี้ ACU ได้รวบรวมข้อมูลทั้งเอกสารสำหรับการออกรถ และตารางสูตรคำนวณการผ่อนรถ อย่ารออช้าไปดูพร้อมๆกันเลยยยย!!

       สำหรับใครที่กำลังคิดอยากออกรถคันแรกเป็นของตัวเอง ในสมัยนี้ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปและวันนี้เราเริ่มดูในขั้นตอนการเตรียมเอกสารกันดีกว่าว่า “เอกสารที่ใช้สำหรับการผ่อนรถ” จะมีอะไรบ้าง

  • สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชน
  • หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล กรณีที่เปลี่ยนชื่อ
  • เอกสารแสดงรายได้ กรณีผ่อนรถ เช่น สลิปเงินเดือน Statement ย้อนหลัง 6 เดือน เป็นต้น
  • เอกสารของผู้ค้ำประกัน เช่น สำเนาบัตรประชาชน

ค่าใช้จ่ายเมื่อมีรถยนต์

1. เงินดาวน์และค่างวดในการผ่อนรถ

       ใครที่ต้องการผ่อนรถแน่นอนอยู่แล้วว่าต้องจ่ายเงินดาวน์ ซึ่งถ้าเรายิ่งจ่ายเงินดาวน์มากเท่าไหร่ จำนวนเงินที่เราจะผ่อนก็ลดลงเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะวางเงินดาวน์รถประมาณ 15 – 25 เปอร์เซ็นของราคารถยนต์ และในบางโชว์รูมก็อาจจะมีโปรโมชั่นดาวน์ 0 เปอร์เซ็น แต่ทั้งนี้อาจจะเสียเงินในการผ่อนค่างวดมากขึ้น พร้อมกับดอกเบี้ย โดยเราต้องแพลนค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนให้ดีๆ เพราะค่างวดรถจะอยู่กับเราไปยาวๆหลายปีกันเลย

2. ค่าน้ำมันหรือค่าเชื้อเพลิง

       เป็นของคู่กันกับรถไม่ว่าเราจะขับรถเคลื่อนที่ไปทางไหนๆ ก็ต้องอาศัยน้ำมัน อาศัยแก๊สเชื้อเพลิงในการทำงานของรถ สำหรับบางคนที่ใช้งานเป็นประจำอาจจะเสียค่าน้ำมันถึง 2,000 – 5,000 บาท ก็เป็นได้นะคะ

3. ค่าจดทะเบียนรถและมัดจำป้ายแดง

       การซื้อรถคันใหม่หรือรถคันแรกสิ่งจำเป็นเลยคือ ต้องทำการจดทะเบียนรถทุกครั้ง และต้องทำการเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วยซึ่งการจดทะเบียนรถของแต่ละรุ่นก็ไม่เหมือนกัน อีกทั้งยังมีค่ามัดจำป้ายแดงอีกด้วย โดยทางโชว์รูมจะออกป้ายแดงเพื่อให้เราใช้ก่อนชั่วคราวโดยมีค่ามัดจำ 2,000 – 3,000 บาท ถ้าเอาป้ายแดงมาคืนก็จะได้มัดจำคืน

4. ค่าภาษีและพ.ร.บ.

       เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องต่อภาษีและพรบ.ในทุกๆปี โดยค่าภาษีรถแต่ละรุ่นราคาจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภท ขนาด และกำลังของเครื่องยนต์ ในเรื่องของภาษีถ้าหากไม่ต่อภาษี 3 ปีติดต่อกันทะเบียนรถจะถูกระงับและรถจะกลายเป็นรถที่ผิดกฎหมายทันที โดยค่าใช้จ่ายภาษีจะมีรายละเอียดดังนี้

  • 600 ซีซีแรก คิดซีซีละ 0.50 บาท
  • 601 – 1,800 ซีซี คิดซีซีละ 1.50 บาท
  • เกิน 1,800  ขึ้นไป คิดซีซีละ 4 บาท

ในส่วนพ.ร.บ. ซึ่งเราจะต้องจ่ายค่าพ.ร.บ.ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งถ้าไม่ต่อพ.ร.บ. จะมีความผิดตามกฎหมายและต้องเสียค่าปรับสูงสุดถึง 20,000 บาท

วิธีการคำนวณการผ่อนรถยนต์ ประกอบไปด้วย

  • วิธีคิดยอดจัดซื้อรถยนต์

             ยอดจัดซื้อ = ราคารถ – เงินดาวน์

  • วิธีคิดดอกเบี้ยรถ

             ดอกเบี้ยทั้งหมด = (ยอดจัดซื้อ x ดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน) x จำนวนปีที่ผ่อนชำระ

  • วิธีคิดยอดผ่อนชำระในแต่ละงวด

             ยอดผ่อนชำระแต่ละงวด = ยอดจัดซื้อรถยนต์ + ดอกเบี้ยทั้งหมด / จำนวนเดือนที่ผ่อนชำระ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่