จากรายงานของ PwC เผยคาดการณ์ถึง 5 เมกะเทรนด์ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการชำระเงินโลกในปี 2025 ไว้ดังต่อไปนี้
หลายๆปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าทั่วโลกกำลังให้ความสนใจกับการพัฒนา และการขับเคลื่อนการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้กับคนในประเทศที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงระบบการเงิน หรือไม่มีบัญชีธนาคาร อย่างเช่นในประเทศไทยของเราเองมีระบบพร้อมเพย์ ,e-Wallet เข้ามาให้ผู้ใช้งาน และร้านค้าต่างๆ สามารถเข้าถึงบริการแบบ e-Payment ได้สะดวกมากขึ้น
นอกจากนี้การเติบโตของธุรกิจ e-Commerce เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนระบบการชำระเงินให้ไปไกลกว่าเดิม เพราะในปัจจุบันคนจำนวนมากสามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟน ทำให้คนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือมีฐานะยากจน สามารถมีโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินได้ โดยภายในปี 2025 การเข้าถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจะมากถึง 80% นำโดยตลาดเกิดใหม่อย่างอินโดนีเซีย ปากีสถาน และเม็กซิโก
อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางยังคงมีบทบาทในการกำกับดูแลความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และสร้างเสถียรภาพของระบบการชำระเงินเพื่อสร้างความเชื่อมั่นจากผู้ใช้บริการโดยรวม
กระแสของสกุลเงินดิจิทัลทั้งที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currencies: CBDCs) และคริปโตเคอร์เรนซีของภาคเอกชนจะยิ่งเข้ามามีบทบาทต่อระบบสถาบันการเงินและการชำระเงินในระยะข้างหน้า โดยรายงาน PwC Global CBDC Index 2021 ระบุว่า 60% ของธนาคารกลางทั่วโลกในปัจจุบันกำลังศึกษาการพัฒนาเงินสกุลดิจิทัลทั้งในรูปแบบการใช้งานธุรกรรมระหว่างธนาคาร (Wholesale CBDCs) และการใช้งานสำหรับธุรกรรมรายย่อยของภาคธุรกิจและประชาชน (Retail CBDCs) หรือโครงการสกุลเงินดิเอม (หรือเดิมเรียกว่า ลิบรา) ของ Facebook ที่กำลังเป็นที่กล่าวขวัญกันอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนอาจจะมีการใช้สกุลเงินหยวนดิจิทัล (Digital Renminbi) หรืออีหยวน เป็นครั้งแรก ณ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวในปีหน้า
รายงานของกลุ่มเทคโนโลยีบริการทางการเงิน FIS ระบุว่า ธุรกรรมผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัลทั่วโลกนั้นเติบโตถึง 7% ในปีที่ผ่านมา และคาดภายในปี 2025 การชำระค่าสินค้าและบริการผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ จะคิดเป็นมากกว่าครึ่งของการชำระเงินแบบ e-Payment ทั่วโลก ตามการใช้งานของผู้บริโภคที่จะยิ่งหันมาใช้ QR Code แทนการใช้เงินสดหรือบัตรในการชำระค่าสินค้าและบริการ และเพื่อตอบรับเทรนด์ดังกล่าว ธนาคาร และบริษัทบัตรเครดิตจะต้องร่วมมือกันเพื่อลงทุนในธุรกิจกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มในการชำระเงินที่อาจเข้ามาแทนที่รูปแบบการชำระเงินแบบเดิมด้วย ในระยะถัดไป การลงทุนในเทคโนโลยีบนมือถือจะขยายรูปแบบจากการชำระเงินรายย่อยไปสู่การชำระเงินแบบธุรกิจสู่ธุรกิจมากขึ้น รวมไปถึงการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลของระบบซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้อง
กระแสของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการชำระเงินด้วยบัตรไปสู่กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ส่งผลให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการบัตรเครดิตต้องเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกันมากขึ้น เช่น ต้องพัฒนาไปสู่ Open Banking หรือการที่ผู้ให้บริการทางการเงินเปิดเผยข้อมูลการเงินของลูกค้าของตนให้กับบุคคลที่สาม (Third-party providers: TPPs) ซึ่งต้องผ่านการยินยอมจากลูกค้าผู้เป็นเจ้าของบัญชีก่อน และในขณะเดียวกันต้องทำการจัดจ้างระบบคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐานด้านแพลตฟอร์มจากภายนอกเข้ามาช่วยหนุนโครงสร้างพื้นฐานของการชำระเงินภายในองค์กร เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าในการนำเสนอสินค้าและบริการที่แตกต่าง อีกทั้งตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ปรับสู่ดิจิทัลมากขึ้น
ในโลกดิจิทัลที่ธุรกรรมทางการเงินสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และมีต้นทุนต่ำลง ทำให้นวัตกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศพัฒนาขึ้นไปด้วย โดยล่าสุด ประเทศสิงคโปร์ได้จับมือกับประเทศไทยเพื่อทำเชื่อมโยงระบบการชำระเงินของประเทศร่วมกัน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโอนเงินระหว่างประเทศได้แบบเรียลไทม์ผ่านการใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือ ในระยะต่อไปเราคงจะได้เห็นการผลักดันนวัตกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยยกระดับการบูรณาการทางการเงินขึ้นไปอีกขั้นอย่างแน่นอน
ที่มา : pwc
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |