fbpx
Search
Close this search box.

กนง.เผยกลยุทธ์ Smooth Takeoff เศรษฐกิจไทย

กนง.เผยกลยุทธ์ Smooth Takeoff เศรษฐกิจไทย
สารบัญ

             ช่วงนี้เราอาจจะได้ยินคำว่า Soft Landing บ่อยๆ เกี่ยวกับข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ แต่เศรษฐกิจในไทยเองเศรษฐกิจเรากำลังจะ takeoff เพราะอะไรทำไมเราต้องถึงพึ่งจะ takeoff ในขณะที่ประเทศอื่นอย่างสหรัฐฯ กำลังจะ Landing เหตุผลคือ สถานการณ์ไม่ว่าจะสงคราม หรือโรคระบาดในบ้านเราพึ่งจะกลับมาดีจากสถานการณ์โรคระบาดที่จำเป็นจะต้องคุมเข้มมาเป็นเวลานาน

     นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในที่ประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting) ว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งมี 2 เรื่องที่เป็นแรงกระแทก คือ การปรับตัวจากโควิด-19 ไปสู่ New Normal  ส่วนแรงกระแทกที่สอง จากภูมิทัศน์ด้านพลังงานที่เปลี่ยนไป จากสงครามรัสเซียยูเครน ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นค่อนข้างเร็ว และอยู่ในอัตราสูงและไม่ได้คาดคิดไว้

    ทั้งนี้นำไปสู่การทำนโยบายการเงิน ที่เข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น หรือ Normalization ของหลายประเทศรวมถึงไทย แต่การปรับช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละประเทศ

     อย่างไรก็ตาม หากมองไปข้างหน้า กนง.ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 มีภาพการฟื้นตัวชัดเจน โดยคาดขยายตัวกว่าระดับ 4% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ใกล้เคียง หรือเกินศักยภาพของไทยด้วยซ้ำ ดังนั้นเหล่านี้เป็นการมองไปข้างหน้า เมื่อเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น ก็อาจเป็นความเสี่ยง หรือแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่จะเข้ามาเสริมแรงกดดันเงินเฟ้อให้มีมากขึ้น หากนโยบายการเงินไม่ปรับจุดยืน ตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ

โจทย์ใหญ่เศรษฐกิจไม่สะดุด

      นายปิติ กล่าวว่า สิ่งที่ กนง.พยายามทำ คือ ไม่ให้เศรษฐกิจร้อนแรงจนเกินไป และไม่ให้แรงกดดันด้านอุปสงค์ไปสู่เงินเฟ้อเกิดขึ้น ดังนั้น แนวการดำเนินนโยบายการเงิน จึงต้องถอนคันเร่ง ซึ่งเป็นการคุยกันก่อนหน้านี้อยู่แล้ว ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการกนง. ที่มองว่าถึงเวลาแล้วที่ปรับสื่อสารให้ชัดเจนมากขึ้น

     โดยโจทย์ที่เศรษฐกิจไทยเผชิญ คือ การ takeoff อย่างราบรื่น ดังนั้นความท้าทายของนโยบายการเงินของไทย คือ การถอนคันเร่งที่พอเหมาะ และถูกจังหวะ เพื่อให้เศรษฐกิจได้เคลื่อนไปได้เอง ไม่ร้อนแรงจนเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นจะส่งผลซ้ำเติมเงินเฟ้อได้

     อย่างไรก็ตาม การถอนคันเร่ง กนง.จะดูจากข้อมูล และความยืดหยุ่น ตาม data dependent แม้เฟดจะมีการปรับดอกเบี้ยขึ้นแรง 0.75% แต่ก็ไม่ได้สร้างแรงกดดัน ต่อการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งกนง.จะดูจากข้อมูลเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ว่าต้องปรับมากน้อยแค่ไหน ซึ่งไม่ได้มีเจตนาในการเซอร์ไพรส์ตลาด เพราะการถอนคันเร่งเป็นสิ่งที่ตลอดคาดการณ์อยู่แล้ว

ไม่ปรับกรอบเงินเฟ้อคงที่1-3%

     สำหรับการถอนคันเร่งของการดำเนินนโยบายการเงินกนง.มองว่า จะไม่ทำให้เศรษฐกิจสะดุด เพราะหากดูต้นทุนที่มาจากเงินเฟ้อ มาก กว่าต้นทุนที่มาจากดอกเบี้ย มีภาระค่าใช้จ่ายสูงกว่ากัน 7-8เท่า

      ดังนั้นยิ่งต้นทุนจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ยิ่งจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นในระยะกลาง ซึ่งดอกเบี้ยไม่ใช่พระเอก ทำให้เงินเฟ้อ ลดลง แต่การทำนโยบายการเงินโดยการขึ้นดอกเบี้ย ก็เพื่อดูวัฏจักรเศรษฐกิจไม่ให้ซ้ำเติมเงินเฟ้อ

     อย่างไรก็ดี ยังเชื่อว่า กนง.ไม่มีความจำเป็นในการปรับกรอบเงินเฟ้อเป้าหมาย ซึ่งกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ถือว่าเป็นระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจไทย แม้เงินเฟ้อระยะสั้น จะออกนอกกรอบไปบ้าง จากราคาน้ำมันที่อยู่เหนือการควบคุม

      ส่วนความถี่ของการประชุมนโยบายการเงิน มองว่า การประชุมห่างกัน 6-8 สัปดาห์ ถือเป็นการเว้นช่วงที่เหมาะสม เพื่อดูพัฒนาการข้อมูลทางเศรษฐกิจให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้เป็นนัยสำคัญในการดำเนินนโยบายการเงินได้ ดังนั้นมองว่า ภาวะปัจจุบัน การประชุมปีละ 6 ครั้งถือว่ามีความเหมาะสมอยู่ แต่หากมีความจำเป็นจริง ก็สามารถประชุมนอกรอบได้

นโยบายการเงินต้องทันการณ์

    นายสุรัช แทนบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า การดำเนินนโยบายการเงิน ต้องปรับเปลี่ยนอย่างทันการณ์ ให้สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่เปลี่ยนไป เพื่อไม่ให้สาธารณชนคาดว่าเงินเฟ้อจะปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

     ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสม จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้สาธารณชน และสามารถยึดดังนั้น การทำแง่การทำนโยบายการเงิน เราไม่สามารถคาดการณ์เงินเฟ้อระยะกลางยาว ไม่ให้ปรับขึ้นได้ แต่นโยบายการเงิน มีหน้าที่ในการทำให้มั่นใจว่า สามารถดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบ 

     โดยเฉพาะกรอบระยะยาวที่บริบทปัจจุบันที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับปี 2548 ดังนั้นนโยบายการเงิน อาจต้องให้ความสำคัญ ว่ามีกลไกในการดูแลเงินเฟ้อที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้การคาดการณ์เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมองว่าการถอนคันเร่งการดำเนินนโยบายการเงิน ไปสู่ภาวะปกติน่าจะทำให้เศรษฐกิจไปต่อได้อย่างไม่สะดุดได้

เล็งงัดแพกเกจช่วยคนเปราะบาง

     นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท.กล่าวว่า แม้จะยังไม่มีการขึ้นดอกเบี้ยในปัจจุบัน แต่จะเริ่มเห็นการส่งผ่านนโยบายการเงินไปสู่ตลาดบ้างแล้ว 

    โดยเฉพาะในตลาดพันธบัตรที่ดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้ว ส่วนธนาคารพาณิชย์เริ่มขยับบ้าง แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ปรับมากนัก

      ทั้งนี้ในภาพใหญ่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป สิ่งที่เราเห็นคือการชะลอคันเร่ง การถอนคันเร่ง ดังนั้นมาตรการภาพใหญ่อาจมีความจำเป็นน้อยลง แต่บางภาคส่วนยังมีความเปราะบางอย่างครัวเรือน กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือ เอสเอ็มอี ดังนั้นในแง่มาตรการอาจต้องปรับมาเป็น มาตรการเฉพาะจุดมากขึ้น เฉพาะกลุ่มมากขึ้น

      โดยอาจเป็นมาตรการที่มีอยู่แล้ว เช่น การให้สินเชื่อใหม่ผ่านมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู การดูแลภาระหนี้โดยการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนจะมีความคืบหน้าได้ดี แต่แน่นอนยังมีบางจุดที่ยังต้องทำเพิ่มเติม ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง ที่คงต้องให้ความสำคัญมากขึ้นในระยะถัดไป

      อย่างไรก็ตามคาดว่าเร็วๆนี้ จะมีการสื่อสารมาตรการทางการเงิน ที่เป็นแพกเกจออกมา เพื่อช่วยเหลือกลุ่มนี้เฉพาะกลุ่ม เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมาตรการอาจเป็นมาตรการที่มีอยู่แล้ว แต่มาเพิ่มให้การ Implementation มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/1012390

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่