fbpx
Search
Close this search box.

พามารู้จักต้นเหตุของเงินเฟ้อจาก 2 คำนี้ Demand pull - Cost push Inflation

           ปฎิเสธไม่ได้ว่าเงินเฟ้อในปัจจุบันมีผลกระทบเป็นอย่างมาก หลายๆ ภาคส่วนเพราะเหมือนกับว่าเราเงินไปซื้อของร้านเดิม ของแบบเดิม จ่ายเงินเท่าเดิม แต่คนขายกลับบอกว่าต้องเพิ่มเงินอีกนะครับ หรือในอีกแง่มุมหนึ่งซื้อของร้านเดิม จ่ายเงินเท่าเดิม พอเดินออกมาถึงกลับต้องหันไปถามว่า ทำไมได้ของน้อยลง นี่ต้นเหตุเกิดจากเงินเฟ้อทั้งนั้น

สารบัญ

Demand pull Inflation คืออะไร

            หากเราแปลตรงตัวเลย Demend แปลว่าความต้องการ Pull แปลว่า ดึง เปรียบเหมือนการที่เราดึงทรัพยากรต่างๆ ตามความต้องของเรา ดังนั้น Demand pull Inflation คือ ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการซื้อสินค้าและบริการ เพิ่มขึ้นมากกว่าสินค้าและบริการที่มีในตลาดในขณะนั้นๆ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ทั้งนี้ ความต้องการสินค้าและบริการในตลาดที่เพิ่มมากขึ้นมาจาก สาเหตุดังนี้ 

    1. การใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น 
    2. การใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 
    3. การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของ ภาคเอกชนเพิ่มขึ้น และ/หรือ 
    4. ความต้องการซื้อสินค้าในประเทศจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

Cost push Inflation คืออะไร

           หากเราแปลตรงตัวเลยก็พอที่จะเดาความหมายได้ว่า การผลักภาระต้นทุน ซึ่งเป็นต้นทุนในฝั่งของผู้ผลิตนั่นเอง ดังนั้น Cost push  Inflation คือ ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น กล่าวคือ หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้น ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมีหลายประการ ได้แก่ 

    1. การเพิ่มค่าจ้างแรงงาน 
    2. ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น 
    3. การเพิ่มกำไรของผู้ผลิต
    4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง การผลิต อาทิ การเกิดสงคราม การเกิดภัยธรรมชาติ

แล้วเงินเฟ้อในปัจจุบันนี้มาจากไหน

          ถ้ามองในภาพใหญ่ทั้ง ในสหรัฐ และไทยเองเห็นปัญหาหลักๆ ดังนี้

  1. ราคาสินค้าที่ปรับขึ้นจากการเปิดเมือง ที่อุปสงค์ปรับเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณสินค้ามีไม่พอ เพราะหาไม่ได้ หรือสินค้าขาดแคลนจากการปิดเมือง เช่น ราคารถเก่า ค่าโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน ที่ปรับเพิ่มขึ้นไปสูงมาก แต่เริ่มมีสัญญาณดีขึ้นบ้าง ซึ่งปัญหานี้จะเกิดขึ้นกับประเทศที่กลับเปิดเมืองเกือบจะสมบูรณ์แล้วอย่างสหรัฐฯ ส่วนในไทยเองยังถือว่าไม่เจอปัญหานี้มากนัก
  2.  ปัญหาด้านอุปสงค์ ที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงที่จากการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลาดแรงงานที่ตึงตัว แรงกดดันจากค่าจ้างที่ปรับสูงขึ้น การคาดการณ์เงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นเมื่อเงินเฟ้อค้างสูงเป็นเวลานาน และ “narrative” ของเงินเฟ้อทำให้ผู้ประกอบการเริ่มส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นไปหาผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น
  3. ราคาน้ำมันและราคาพลังงาน ที่ปรับสูงขึ้นจากภาวะสงคราม และมาตรการคว่ำบาตรของยุโรป ที่มีต่อรัสเซียส่งผลโดยตรงต่อปริมาณน้ำมันโลกหายไป และภาวะสงครามก็ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น เพราะกระทบการส่งออกอาหาร และปุ๋ยที่ต้องผลิตจากปิโตรเลียม ซึ่งประเทศที่มีปิโตเลียมสูงหนึ่งในนั้นก็คือรัสเซีย ทำให้ส่งผลกระทบต่ออีกทอดหนึ่งกับต้นทุนทางการเกษตร และกระทบเกษตกรเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากไม่ใช้ปุ๋ย ผลผลิตที่ได้ก็น้อยลง หากใช้ต้นทุนก็สูงขึ้น จึงทำให้ไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็ทำให้สูงขึ้นทุกทาง ซึ่งค่อนข้างที่จะกระทบกับไทยเราเองด้วยเป็นอย่างมาก
  4. ปัญหา supply disruption ทั้งที่เกิดจากปัญหาระยะสั้น เช่น การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์  เรือ คนขับรถบรรทุก ปัญหา “ชิป” หาย zero Covid policy ในจีน ต้นทุนการผลิตต่างๆ ที่ทำให้สินค้าแพงขึ้น รวมถึงราคาบ้าน ที่ปรับขึ้นแม้ยอดขายเริ่มลดลง และปัญหาระยะยาว เช่น ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ โครงสร้างประชากร และความมั่นคงของ supply chain ที่ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิต จนนำไปสู่ต้นทุนที่สูงขึ้น

           เราจะสังเกตเห็นว่า ข้อ 1-2 เป็นปัญหาเงินเฟ้อทางด้าน Demand pull Inflation 3 – 4 เป็นปัญหาเงินเฟ้อทางด้าน Cost push Inflation 

           ซึ่งถ้าหากปัญหามาจาก  Demand pull Inflation เพียงอย่างเดียว การปรับดอกเบี้ยนโยบายจะค่อนข้างที่จะใช้งานได้ดี แต่ครั้งนี้มี Cost push  Inflation เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และไทยเองค่อนข้างที่จะมีปัญหาหนักไปทางฝั่ง Cost push Inflation หรือการผลักต้นทุนสินค้า ดังนั้นเอง ถ้าหากเราขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย จึงไปกระทบกับทางผู้ผลิตโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ หรือภาคเกษตรจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของผู้ผลิตเหล่านี้เพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนราคาน้ำมันลดลง ไม่ได้ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ปุ๋ยไม่ได้ถูกลง ดังนั้นเราจึงอาจจะยังไม่เห็นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของไทยเวลานี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่