อาจจะดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว หรืออาจจะไม่เคยรู้จักมาก่อนทั้งๆที่ e-Money เราเดินไปไหนก็เจอ หรือแม้แต่อาจจะเคยใช้โดยไม่รู้ตัว เพราะเราเรียกมันในชื่ออื่นนั่นเอง ดังนั้นเราลองมาทำความรู้จักกับเงินที่อยู่ในรูปแบบ e-Money กันดูนะครับ
แท้จริงแล้ว e-Money มีชื่อเล่นในไทยว่า เงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสื่อกลางในการชำระเงินรูปแบบหนึ่งที่เป็นการนำเงินสด หรือเงินธนบัตรไปอยู่ในรูปแบบบัตร หรืออยู่ในระบบส่วนกลางต่างๆ เช่น e-Wallet เพียงแค่ e-Money จะต้อง “เติมเงินสดล่วงหน้า” ไปก่อนถึงจะนำไปใช้ได้ และมูลค่าที่ใช้ได้จะเท่ากับจำนวนเงินที่เราจ่ายไปเท่านั้น ถ้ามูลค่าเงินในบัตร หรือ e-Wallet หมดก็สามารถเติมเงินเข้าไปเพิ่มเติมได้
ถ้ายังนึกไม่ออก ลองนึกถึงบัตรแลกเงินสดในศูนย์อาหารก็ได้ครับ นั่นคือ e-Money รูปแบบหนึ่งเช่นกัน โดยก่อนที่เราจะไปซื้ออาหารจะต้องเอาเงินสดไป “แลกบัตร” มาก่อน หลังจากนั้นจึงนำบัตรไปจ่ายค่าอาหาร
หรือจะนึกถึงบัตรรถไฟ ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินหรือบนดิน บัตรเติมเงินโทรศัพท์มือถือหรือบัตรที่ใช้ซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ ก็เป็น e-Money เหมือนกัน ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ “บัตร” หรือที่เรียกว่า Card Based ที่ข้อมูลบัตร ข้อมูลการใช้จ่าย และมูลค่าเงิน จะถูกเก็บไว้ในชิปขนาดเล็ก
อย่างไรก็ตาม e-Money ประเภท Card Based ไม่จำเป็นต้องเป็นบัตรพลาสติกเพียงอย่างเดียว เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างมาก ชิปขนาดเล็กนี้สามารถไปฝังเอาไว้ในโทรศัพท์มือถือ หรือพวงกุญแจก็ได้
นอกจากนี้ ยังมี e-Money อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Network/Server Based หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์กลางของผู้ให้บริการที่เรารู้จักในนาม e-Wallet หรือกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมากกว่าแค่กระเป๋าที่ไว้เก็บเงิน เพราะสามารถใช้จ่ายสินค้าหรือบริการได้อย่างมากมาย และหลากหลาย และยังมีอัตราการเติบโตที่สูง ส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจ e-Commerce ที่เติบโต
ซึ่งถ้าเราจะใช้ e-Money ประเภท Network/Server Based หรือ e-Wallet เราเพียงแค่เข้าไปลงทะเบียน สมัครออนไลน์กับผู้ให้บริการ จากนั้นทำการเติมเงินเข้าบัญชีผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ธนาคาร หรือบัตรเครดิต และเมื่อเราต้องการจ่ายเงินเราก็เพียงแค่ทำการสแกนจ่ายกับร้านค้า หรือบริการนั้นๆ ผ่าน QR code ระบบก็จะตัดเงินจากเงินของเราที่เติมไว้ก่อนหน้านี้นั่นเอง
ข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดจากการใช้ e-Money หรือ เงินอิเล็กทรอนิกส์ คือ ความสะดวกสบาย ทั้งคนซื้อและคนขาย ในฝั่งคนซื้อก็สะดวก เพราะหลังจากเติมเงินใน e-Wallet หรือบัตร แล้วทำให้ “e-Wallet หรือบัตร เป็นเหมือนมีเงินสด” โดยไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก เมื่อซื้อสินค้าแล้วก็เพียงแค่สแกนจ่าย ร้านค้าก็หักเงินค่าสินค้าออกจาก e-Wallet หรือบัตร ของเราเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องรอทอนเงิน และรู้ด้วยว่า เงินในบัตรหรือe-Wallet เหลือเท่าไร หรือถ้ามีเงินอยู่ในบัตรรถไฟฟ้า สามารถแตะบัตรแล้วเข้าไปได้เลยไม่ต้องเสียเวลาไปเข้าคิวหยอดเหรียญโดยสาร
ขณะที่ฝั่งคนขายก็สบาย เพราะเมื่อรับชำระค่าสินค้าและค่าบริการในรูปแบบ e-Money แล้ว ก็ไม่ต้องมาปวดหัวเรื่องการจัดการเงินสด เช่น ร้านสะดวกซื้อที่รับชำระค่าสินค้าด้วยเงินสด ไม่ต้องมานั่งนับเหรียญ เช็คเงินในลิ้นชักให้วุ่นวายในการทำบัญชี ซึ่งนั่นเท่ากับการลดต้นทุนดำเนินงานไปได้มาก
นอกจากนี้ e-Money ยังเหมาะมากๆ สำหรับการซื้อ-ขายออนไลน์ หรือธุรกิจ e-Commerce ในการทำรายการซื้อสินค้าออนไลน์ เพราะเราไม่จำเป็นต้องมีบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตในการซื้อสินค้าหรือบริการ และลดความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดได้
ย้อนเวลาไปเมื่อปี 2553 มียอดการใช้จ่ายผ่าน e-Money เฉลี่ยเดือนละประมาณ 4,600 ล้านบาทนั้น แต่ตัวเลขล่าสุดเมื่อเดือน ก.ค. 2557 ยอดการใช้จ่ายรวมกระโดดขึ้นไปถึง 21,800 ล้านบาท และล่าสุดปี 2564 มียอดการใช้จ่ายผ่าน e-Money มากถึง 468,000 ล้านบาท หากมองตามระยะเวลา ถือว่าเป็นอัตราการเติบโตที่ก้าวกระโดดอย่างมาก และในอนาคตยังสามารถเติบโตได้อีกหลายเท่าตัว
และในภาคธุรกิจเองก็มองเห็นประโยชน์จากการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเช่นกัน เพราะช่วยลดต้นทุนต่ำ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูง ซึ่งน่าจะทำให้ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเช่นกัน
อย่างไรก็ตามการใช้ e-Money ไม่เพียงแต่ช่วยเรื่องความสะดวก สบาย แต่ยังช่วยลดต้นทุนที่เกิดจากการใช้เงินสดได้มหาศาลไม่ว่าจะเป็นตัวเราเอง หรือทั้งภาครัฐ และเอกชน ทำให้เราสามารถใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองนึกภาพว่าเราต้องเดินทางไปกดเงินสดจากธนาคารหรือตู้ ATM ที่ต้องเสียทั้งเวลาและมีต้นทุนในการเดินทาง เอกชนอย่างแบงก์เองก็ทำการขนย้ายเงินมาสำรองไว้ที่ตู้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และรักษาความปลอดภัย รัฐฯเองเป็นผู้ที่ต้องผลิตธนบัตรใหม่ และเวียนคืนธนบัตรที่ชำรุดซึ่งในแต่ละขั้นตอนล้วนมีต้นทุนมหาศาลจากการจัดการในขั้นตอนต่างๆ
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |