fbpx
Search
Close this search box.

KYC คืออะไร? ทำไมต้องยืนยันตัวตน?

KYC คืออะไร

KYC คืออะไร?

         KYC ย่อมาจากคำว่า Know Your Customer หรือแปลได้ตรงๆและว่า “การทำความรู้จักลูกค้าของคุณ” คือ กระบวนการพิสูจน์ตัวตนในการทําความรู้จักลูกค้า ที่สามารถ ระบุตัวตน และพิสูจน์ตัวตนได้อย่างถูกต้อง (Identification and Verification) เพื่อการยืนยันตัวตนของลูกค้า เพื่อป้องกันการทุจริตหรือปลอมแปลงข้อมูลในการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมไปถึงการป้องกันการฟอกเงินและสร้างความปลอดภัยของเจ้าของข้อมูล รวมถึงป้องกันการแอบอ้างตัวตน เช่นเดียวกันเหมือนเวลาที่เราไปเปิดบัญชีธนาคาร แล้วต้องใช้บัตรประชาชน

        KYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.ปองกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งกฎหมายบังคับให้หน่วยงานดังต่อไปนี้มีหน้าที่ต้องทํา KYC ให้กับลูกค้า ผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น ธนาคาร ผู้ให้บริการ e-Wallet และ e-Payment บริษัทซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของ ก.ล.ต บริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัยต่างๆ

KYC สำคัญอย่างไร ทำไมต้องยืนยันตัวตน?

           KYC จะช่วยให้ลดความเสี่ยงของการกระทำที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการคอรัปชัน ติดสินบน หรือการฟอกเงินได้ ช่วยให้ผู้ใช้บริการในระบบปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมถึงผู้ให้บริการด้วย

การทำ KYC

           การทำ KYC นี้ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผ่านระบบออฟไลน์ เช่นการไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร เพื่อให้ธนาคารเทียบระหว่างหน้าบัตรกับหน้าจริง ๆ ของเรา หรือว่าทางออนไลน์ที่เรียกว่า E-KYC มีขั้นตอนดังนี้ 

  1. ขั้นตอนแรกของการตรวจสอบเราจะต้องระบุชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ 
  2. จากนั้นระบบอาจขอให้เราส่งสำเนาเอกสารทางกฎหมาย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง โดยบางแพลตฟอร์มหรือบางแอปพลิเคชันอาจขอถ่ายรูปเราในขณะที่ทำการถือเอกสารด้วย หรือแสกนใบหน้า เพื่อยืนยันว่าเอกสารนั้นเป็นของคุณจริง ๆอีกด้วย เพื่อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง
  3. บางแพลตฟอร์มอาจถามข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพของเรา และหลักฐานที่อยู่อย่างเป็นทางการ

ถ้าไม่ทํา KYC จะมีผลอย่างไร?

       ผู้ใช้งานจะไม่สามารถใช้ หรือทำธุรกรรมได้ เนื่องจากเป็นขั้นตอนสำคัญในการยืนยันตัว เพื่อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ และเป็นมาตรการป้องกันการทุจริตตามกฎหมาย

        ในส่วนของบริษัทการรับผิดตามกฎหมาย หากพบว่าบริษัทไม่มีกระบวนการกํากับดูแล ควบคุม และกลั่นกรอง การ KYC ตามมาตรฐานที่ ปปง. กําหนด จะมีโทษปรับ ไม่เกิน 1 ล้านบาท และปรับต่อ เนื่องอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท จนกว่า จะมีการปรับปรุงกระบวนการให้ถูกต้อง

         ดังนั้นเพื่อเป็นการยันยืนตัวตนอย่างครบถ้วน ตามตอนของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างๆ และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง การยืนยันตัวตนที่เรียกว่า KYC (Know Your Customer)เพื่อเป็นความปลอดภัย และป้องกันการความเสี่ยงการจากปลอมแปลงข้อมูล

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่