fbpx
Search
Close this search box.

เพราะเราคือตัวเอกในชีวิตตัวเอง ทำความรู้จัก ‘Main Character Syndrome’

มีใครเคยรู้สึกบ้างว่า บางครั้งเวลาเราทำอะไรสักอย่าง มักเหมือนมีซาวด์แทร็กประกอบขึ้นมาระหว่างเดินบนถนน นั่งรถไฟฟ้า หรือนั่งจิบกาแฟ ชีวิตของเรากลายเป็นเหมือนหนังม้วนนึง ที่มีกล้องล่องหนคอยถ่ายเรื่องราวชีวิตของเราอยู่

เนื้อหา

ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะชีวิตของเรานั้น ตัวเราต่างเป็น ‘main character’ หรือตัวละครหลักในชีวิตของตัวเอง บางครั้งการหลบหนีจากความจริงชั่วคราวก็มีประโยชน์ที่ช่วยเสริมพลังความมั่นใจ พร้อมใช้ชีวิตด้วยเอเนอร์จี้แบบตัวเอกของภาพยนตร์สักเรื่อง

แต่บางคนถึงขนาดอินมากเกินไป จนทำให้คนรอบข้างรู้สึกว่าตัวเรากลายเป็นศูนย์กลางทุกเรื่องตลอดเวลา ซึ่งอาการนั้นมีชื่อเรียกว่า ‘Main Character Syndrome’ จนอาจส่งผลต่อความผิดปกติอื่น ๆ ได้

ชีวิตคือละคร และเราคือตัวเอกในเรื่อง

นิสัยที่ชอบทำตัวเหมือนเป็นตัวเอกในเรื่องราวชีวิตของตัวเอง ในทางจิตวิทยา เรียกว่า ‘Main Character Syndrome’ ก็คือการคิดว่าตัวคือตัวละครหลักในภาพยนตร์สักเรื่อง ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็คิดว่ากำลังอยู่ในภาพยนตร์ที่มีคนกำลังดูอยู่ ส่วนคนอื่น ๆ รอบข้างก็กลายตัวประกอบหรือเอ็กซ์ตราที่เข้ามาสนับสนุนเรื่องราวของเราเท่านั้น 

ซึ่งนักจิตวิทยาอธิบายว่า Main Character Syndrome เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์ เป็นผลจากการอยากเป็นที่ยอมรับ ซึ่งปัจจุบันนั้นมีตัวกระตุ้นมากขึ้นจากโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งอาการนี้ส่วนใหญ่มักพบในคนรุ่น GenZ ที่เติบโตมากับสื่อ โซเชียลมีเดีย ซึ่งพวกเขามักพยายามหนีจากโลกความเป็นจริง โดยใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการสร้างตัวตนใหม่ 

ถึงอย่างนั้น การเพิ่มความมั่นใจด้วยความรู้สึกนี้ ก็ดูไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เราก็อยากมีโมเม้นต์เป็นตัวเด่นดูบ้าง แต่ด้วยความมั่นใจที่เรามีมากจนเกินไป เกิดเป็นความรู้สึกศูนย์กลางจักรวาล ทุกคนต้องฟังฉัน เข้าใจฉัน ช่วยเหลือฉัน ซึ่งในทางจิตวิทยาเรียกว่า Self-centered อธิบายถึงคนที่เอาตัวเองเป็นหลัก เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และไม่แคร์คนรอบข้าง ไปจนถึงอาจคาบเกี่ยวกับอาการทางจิตอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder) หรือความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการหลงผิด 

เพราะถ้าเกิดการแยกโลกความเป็นจริงกับโลกที่สร้างขึ้นไม่ออก ก็อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงได้ อาจทำให้คนคนนั้นสูญเสียการสัมผัสหรือการรับรู้โลกความจริง และถูกกลืนกินไปกับโลกที่พวกเขาสร้างขึ้นแทน

แค่สร้างความสุขให้กับตัวเอง หรือ เข้าข่าย Main Character Syndrome

แล้วทีนี้เราจะรู้ได้ยังไงว่าเราแค่สร้างความสุขความมั่นใจให้กับตัวเอง หรือกำลังเข้าข่าย Main Character Syndrome ศูนย์กลางของโลก มีวิธีสังเกตง่าย ๆ ด้วยการมองเรื่องที่เกิดขึ้น มักเกี่ยวข้องกับเราหรือเป็นปัญหากับเรามากเกินไปหรือไม่ เพราะอาการตัวละครหลัก เรามักต้องสวมบทบาทเป็นผู้นำในการกำหนดเรื่องราวเพียงคนเดียว ทุกคนต้องฟังฉัน เข้าใจฉัน และสนับสนุนฉันเท่านั้น และเราจะรับฟังผู้อื่นน้อยลง เพราะมองว่าเขาเป็นแค่ตัวประกอบ 

ถ้ากำลังมีอาการแบบนี้อยู่ เอซียู เพย์ อยากแนะนำให้เราเริ่มจาก การรู้ว่าตัวเองคิด (self-awareness) หรือแสดงออกกับเหตุการณ์นั้นยังไง โดยอาจเริ่มเพื่อน ๆ ว่าเราทำตัวน่าอึดอัด เป็นศูนย์กลางของทุกอย่างหรือไม่ และเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นนั้น 

สุดท้ายแล้ว การมองชีวิตของตัวเองให้ดูดี เป็นตัวเด่นของเรื่องก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เพราะเราต่างต้องมีจินตนาการเพื่อให้ชีวิตมีความสวยงามบ้าง แต่แค่เป็นได้แต่พอดี ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ลองหาอะไรทำให้เราหลุดออกจากการหมกมุ่นเรื่องตนเองสักพัก จนความคิดว่าเราเป็นตัวเอกของเรื่องน้อยลง เพราะในโลกของความเป็นจริงไม่มีใครสนใจเราขนาดนั้น และเราก็เหมือนตัวประกอบในเรื่องราวของคนอื่นเช่นกัน

อ้างอิงจาก

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่