fbpx
Search
Close this search box.

รวมวิธีลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้างมาดูกัน

รวมวิธีลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง

อีกไม่กี่เดือนเทศกาลการยื่นภาษีประจำปีก็จะมากันแล้ว เมื่อครั้งที่แล้วเรามาสอนเกี่ยวกับ “ สอนมนุษย์เงินเดือนมือใหม่! กับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์ประจำปี 2565 (ยื่นใน ปี 2566) “ และวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการลดหย่อนภาษีกัน สำหรับใครที่มีรายได้ต่อปีรวม 150,001 บาทขึ้นไป จำเป็นต้องเสียภาษีและคนที่มีเงินเดือนรายปีรวมกัน 120,000 บาทต้องมีหน้าที่ยื่นภาษี เพราะเช่นนี้ทำให้ต้องมีการลดหย่อนภาษี ว่ามีอะไรบ้างที่เราสามารถไปลดหย่อนได้

อะไรบ้างที่สามารถเอามาลดหย่อนภาษีได้

1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว จะเป็นการลดหย่อนภาษีของคู่สมรส , ฝากครรภ์และคลอดบุตร , ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา , กรณีอุปการะผู้พิการ เป็นต้น โดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว เป็นค่าลดหย่อนแบบเหมา 60,000 บาทต่อปี สำหรับผู้ที่ยื่นภาษีเท่านั้น
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส สำหรับผู้ที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสของตนเองจะต้องไม่มีรายได้ใดๆ สามารถลดหย่อนได้ 60,000 บาทต่อปี
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถลดหย่อนภาษีบุตร 30,000 บาทต่อคนต่อปี โดยบุตรนั้นจำเป็นต้องได้รับการรับรองตามกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม โดยอายุต้องไม่เกิน 25 ปี หรือกำลังศึกษาอยู่ แต่ถ้าหากอายุเกิน 25 ปีขึ้นไปแต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถก็นำไปลดหย่อนได้เช่นกัน
    • ในกรณีที่เป็นบุตรได้การรับรองตามกฎหมาย สามารถใช้สิทธิ์กี่คนก็ได้ตามกฎหมาย
    • ในกรณีที่เป็นบุตรบุญธรรม สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้สูงสุดเพียง 3 คนเท่านั้น โดยจะได้ค่าลดหย่อนคนละ 30,000 บาท
  • ในกรณีที่มีทั้งบุตรที่ได้รับรองตามกฎหมายและมีบุตรบุญธรรม แนะนำให้ใช้สิทธิ์ของลูกที่ได้การรับกฎหมายในการลดหย่อนภาษีก่อน ทั้งนี้ให้นับบุตรที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ในการลดหย่อนภาษีด้วย ซึ่งถ้าครบ 3 คนแล้วจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนของบุตรบุญธรรมได้ แต่ถ้าหากเช่นนับบุตรได้แล้ว 2 คน และมีบุตรบุญธรรมเป็นคนที่ 3 สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อีก 30,000 บาท เพราะฉะนั้นตามกำหนดสามารถลดหย่อนภาษีบุตรได้เพียง 3 คนเท่านั้น
  • ค่าลดหย่อนสำหรับการเลี้ยงดูบิดามารดาของตัวเองและคู่สมรส สามารถลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยสูงสุดไม่เกิน 4 คน โดยบิดามารดาจำเป็นต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท 
  • ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปหาระผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ โดยผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และสามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท จำเป็นต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมไปถึงต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

2. ค่าหย่อนลดภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน อาทิเช่น ประกันสังคม , ประกันชีวิต , ประกันสุขภาพ , กองทุนรวม เป็นต้น

  • ประกันสังคม สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจริง โดยสูงสุดไม่เกิน 6,3000 จากปกติ 9,000 บาท เนื่องจากมีการปรับลดเงินสะสมประกันสังคม
  • เบี้ยประกันชีวิต สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขระยะการคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไปและต้องทำประกันในประเทศไทยเท่านั้น
  • เบี้ยประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทและเมื่อรวมกับประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท บิดามารดาไม่จำเป็นต้องอายุ 60 ปี แต่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท
  • เบี้ยประกันแบบบำนาญ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15 เปอร์เซ็นของเงินได้ และจ่ายตามจริงไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขระยะการคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไปและต้องทำประกันในประเทศไทยเท่านั้น
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถนำมาลดหย่อนได้ถึง 30 เปอร์เซ็น และจ่ายตามจริงไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวม (SSF) สามารถนำมาลดหย่อนได้ถึง 30 เปอร์เซ็น และจ่ายตามจริงไม่เกิน 200,000 บาท

3. ค่าลดหย่อนภาษีกรณีเงินบริจาค ประกอบไปด้วย เงินบริจาคทั่วไป , เงินบริจาคเพื่อการศึกษา , เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง

  • เงินบริจาคทั่วไป สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 10 เปอร์เซ็น
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา เพื่อสังคมหรือบริจาคเพื่อสถานพยาบาล สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10%
  • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

4. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบด้วยโครงการช้อปดีมีคืน และกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย

  • โครงการช้อปดีมีคืน ได้แก่ สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT , สินค้าOTOP และหนังสือ รวมไปถึง E-Book ด้วย โดยสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท
  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่