fbpx
Search
Close this search box.

รัฐบาลเดินหน้า ลงทะเบียนแก้ “หนี้นอกระบบ” รวมมูลหนี้แตะ 6 พันล้านบาท

ปัญหา “หนี้นอกระบบ” เป็นปัญหาหยั่งลึกที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน ซึ่งครั้งนี้รัฐบาลได้วางแผนที่จะแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ และความมั่นคงให้กับคนไทย โดยทางรัฐบาลนำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ฝ่ายปกครอง กระทรวงการคลัง และตำรวจ เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในครั้งนี้ โดยรายละเอียดจะมีดังนี้

ปัญหา “หนี้นอกระบบ” เป็นปัญหาหยั่งลึกที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน ซึ่งครั้งนี้รัฐบาลได้วางแผนที่จะแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ และความมั่นคงให้กับคนไทย โดยทางรัฐบาลนำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ฝ่ายปกครอง กระทรวงการคลัง และตำรวจ เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในครั้งนี้ โดยรายละเอียดจะมีดังนี้

รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขหนี้นอกระบบ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า หนี้นอกระบบเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบ ต่อประชาชนที่เป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจ ทำให้ต้องเจอกับความเปราะบางที่เกิดขึ้นจากหนี้สิน ที่ใช้เท่าไรก็ไม่มีวันหมด จนพวกเขาไม่สามารถแม้แต่จะฝัน ปิดโอกาสการต่อยอดไปหลายอย่าง ไม่สามารถเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ ส่งผลกระทบเป็นโดมิโน่ไปยังทุกภาคส่วน 

ปัญหาหนี้ครั้งนี้ทางรัฐบาลได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปกครอง ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน และฝ่ายตำรวจ ที่ช่วยกำกับดูแลบังคับใช้กฎหมาย  จะมาทำงานร่วมกัน แก้ไขทั้งเรื่องหนี้ และมีเรื่องของความสัมพันธ์ในระดับชุมชนที่ละเอียดอ่อน 

โดยภาครัฐจะรับบทบาทเป็นตัวกลางสำคัญในการไกล่เกลี่ย ดูแลทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างเป็นธรรม ตั้งแต่ต้นกระบวนการจนถึงการปิดหนี้ การทำสัญญา ที่หลายครั้งไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย มีดอกเบี้ยที่ไม่เป็นธรรม และกระบวนการทวงหนี้ที่ใช้ความรุนแรง ต้องจัดให้ทำสัญญาที่เป็นธรรมและเป็นไปตามกฎหมาย

ยอดผู้ลงทะเบียน แก้หนี้นอกระบบ

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา จากข้อมูลของสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง เมื่อเวลา 15.30 น. การลงทะเบียนหนี้นอกระบบล่าสุดมีมูลหนี้รวม 5,851.294 ล้านบาท ประชาชนลงทะเบียนแล้ว 98,667 ราย โดยเป็นการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ 87,561 ราย และการลงทะเบียน ณ ศูนย์อำนวยการแก้ไขหนี้นอกระบบ 11,106 ราย รวมจำนวนเจ้าหนี้ 69,093 ราย

มีพื้นที่/จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ 

  1. กรุงเทพมหานคร 
  2. จังหวัดนครศรีธรรมราช
  3. จังหวัดสงขลา 
  4. จังหวัดนครราชสีมา 
  5. จังหวัดขอนแก่น 

ขณะที่จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนน้อยที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ 

  1. จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
  2. จังหวัดระนอง
  3. จังหวัดสมุทรสงคราม 
  4. จังหวัดตราด 
  5. จังหวัดสิงห์บุรี

ระยะเวลาลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ

ประชาชนที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้ทั้งทางออนไลน์ที่ https://debt.dopa.go.th หรือวอร์คอินได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตทั่วประเทศ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม โทร. 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนในพื้นที่ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 29 กุมภาพันธ์ 2567

รวมแนวทางช่วยเหลือลูกหนี้ประเภทอื่น

นอกจากหนี้นอกระบบแล้ว แนวทางช่วยเหลือลูกหนี้จากรัฐบาลยัง ครอบคลุมอีกหลากหลายกลุ่มด้วยกัน เช่น การพักหนี้เกษตรกร หนี้กยศ. หนี้ครู หนี้ข้าราชการ หนี้บัตรเครดิต หนี้เช่าซื้อรถยนต์ ต่อไปนี้ 

แก้หนี้กลุ่มเกษตรกร

  • พักหนี้เกษตรกรทั้งต้นและดอก วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท/ราย รวมระยะเวลา 3 ปี โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อ 26 ก.ย. 2566 

หนี้นักศึกษา (หนี้ กยศ.)

  • ลดดอกเบี้ย 
  • ปรับแผนจ่ายเงิน 
  • ปลดผู้ค้ำประกัน 
  • ถอนอายัดบัญชี

แนวทางแก้หนี้ครู และข้าราชการ

  • หักหนี้ไม่เกิน 70% ของเงินเดือน 
  • จัดทำสวัสดิการเงินกู้ข้าราชการ (ดอกเบี้ยต่ำ)

แก้หนี้บัตรเครดิตกับรัฐบาล

  • ปรับโครงสร้างหนี้ ผ่านโครงการ “คลินิกแก้หนี้” ผ่อนได้นาน 10 ปี ลดดอกเบี้ยเหลือ 3-5% ต่อปี 

หนี้ สินเชื่อรถยนต์ และ รถจักรยานยนต์

  • กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์ เป็นสัญญาควบคุม มอบหมาย สคบ.ดำเนินการได้เลย ตามประกาศ เมื่อ 12 ต.ค. 2566 

แก้หนี้กลุ่มธุรกิจ SME (วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม)

  • ยกเลิกสถานะหนี้เสีย สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 
  • อนุญาตให้ปรับโครงสร้างหนี้

หนี้เสีย ( NPL)

  • ตั้งบริษัทร่วมทุน ระหว่างธนาคารของรัฐ กับบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อรับโอนหนี้เสีย เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ อย่างคล่องตัวมากขึ้น

อย่างไรก็ตามรัฐบาลระบุว่า แนวทางแก้หนี้ข้างต้นทั้งหมดนั้นเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ในระยะเร่งด่วน เพื่อต่อลมหายใจให้ลูกหนี้ทุกกลุ่ม ส่วนในระยะยาว ต้องแก้ปัญหาในระดับโครงสร้าง

ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการสินเชื่อให้เหมาะสม เป็นธรรม, มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสม และป้องกันปัญหาการก่อหนี้เกินตัว ซึ่งการให้สินเชื่อ จะพิจารณาข้อมูลอื่นนอกเหนือจากประวัติการชำระสินเชื่อ เช่น ประวัติการชำระค่าน้ำ หรือค่าไฟของลูกหนี้ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ง่ายขึ้น

การผลักดันให้สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน รายงานข้อมูลเครดิตไปยัง NCB เพื่อให้ผู้ให้สินเชื่อทุกรายสามารถประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และการจัดการบุริมสิทธิในการตัดเงินเดือนของลูกหนี้ที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อชำระหนี้กับผู้ให้สินเชื่อได้อย่างเหมาะสม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่