fbpx
Search
Close this search box.

ช่วงวัยนี้ลงทุนแบบไหน แนะนำการลงทุนให้เหมาะกับคนแต่ละ Gen

แต่ละช่วงวัยลงทุนแบบไหน แนะนำการลงทุนให้เหมาะกับคนแต่ละ Gen
ไม่ว่าจะอายุเท่าไร วัยไหน หรือ Gen อะไร ก็คงไม่มีใครอยากมีปัญหาทางการเงินหรอกใช่ไหม แต่สำหรับใครที่กำลังตั้งคำถามกับตัวเองว่าในช่วงวัยนี้ ควรมีแผนการเงิน การออม และลงทุนแบบไหนถึงเหมาะสม ACU PAY เลยมาสรุปแผนทางการเงินที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ทุกเมื่อ

เนื้อหา

1. วัยเริ่มทำงาน (อายุ 20-30 ปี)

 

คนในช่วงวัยนี้ เป็นช่วงที่มีศักยภาพ และความคล่องตัวในการลงทุนที่ค่อนข้างสูง เพราะมีภาระทางการเงินน้อยกว่าเมื่อเทียบกับวัยอื่น ๆ แต่ส่วนใหญ่มักจะหมดไปกับการใช้จ่ายสนองความต้องการ หรือความสุขให้กับตัวเองอย่าง การท่องเที่ยว การกิน การช้อปปิ้ง หรือเริ่มการซื้อ-ผ่อนสินทรัพย์ก้อนใหญ่ เช่น รถยนต์ คอนโด โดยที่สถานะทางการเงินเรายังไม่พร้อม ก็อาจจะทำให้เกิดหนี้และเป็นปัญหาตามขึ้นมาได้

ดังนั้นเป้าหมายของคนกลุ่มนี้ควรเป็นการเริ่มต้นสร้างเส้นทางสู่การเป็นนักออมเงิน และเริ่มการลงทุน เพราะสามารถรับความเสี่ยงได้สูงกว่าวัยอื่น สำหรับใครที่มีความฝัน อยากมีกิจการเป็นของตัวเอง ทางที่ดีควรเริ่มกำหนดชีวิตของคุณเองนับตั้งแต่ตอนนี้ ยิ่งทำก่อนย่อมมีโอกาสสำเร็จมากกว่า ซึ่งสิ่งที่ควรให้ความสำคัญที่สุดในช่วงวัยนี้คือวินัยทางการเงิน

วัยอายุ 20-30 ปีออม และลงทุนอะไรดี? วัยเริ่มทำงานนี้ควรสร้างวินัยในการออมให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจเริ่มต้นจากการมีเงินออมสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 6 – 12 เท่าของค่าใช้จ่ายก่อน ถ้าสนใจลงทุนให้เลือกการลงทุนแบบระยะยาว โดยมีสัดส่วนอย่างน้อย 10% ของรายได้ และอาจเลือกการลงทุนที่เป็นแบบ DCA หรือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ตัดบัญชีอัตโนมัติรายเดือนเท่ากันทุกเดือน นอกจากนี้ในช่วงวัยนี้ยังเหมาะกับการซื้อประกันชีวิตและสุขภาพไว้เบื้องต้นอีกด้วย 

2. วัยสร้างตัว และสร้างครอบครัว (อายุ 31-40 ปี)

ในวัยนี้ถือว่าเป็นวัยที่มีภาระทางการเงินสูงที่สุดสำหรับใครหลาย ๆ คนเลย เป็นวัยที่เริ่มมีความมั่นคงทางการเงินที่มากขึ้น แต่ก็ตามมาด้วยภาระที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งการแต่งงาน ค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ สำหรับใครที่มีลูก ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่าง คลอดลูก ค่าเรียน ค่าเลี้ยงดูลูก

ซึ่งถ้ามาถึงวัยนี้แล้ว แต่ยังไม่จริงจังกับเป้าหมายทางการเงิน ก็คงยากที่จะมีความมั่นคงทางการเงินตามที่คาดไว้ได้ ดังนั้นคนในช่วงวัยนี้ควรตั้งเป้าหมายตอบสนองความต้องการไลฟ์สไตล์ส่วนตัว วางแผนภาษี วางแผนทางการเงินสำรองฉุกเฉิน และการวางแผนเกษียณอายุ

วัยอายุ 31-40 ปีออม และลงทุนอะไรดี ในช่วงวัยนี้ควรมีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง ไว้ในยามจำเป็น สำหรับการลงทุนควรจะกระจายความเสี่ยงในการลงทุน อย่างเช่น ฝากประจำระยะยาวเป็นหลักประกันในชีวิต ลงทุนในกองทุนที่มีปันผล ตราสารหนี้ หรือซื้อกองทุน SSF และ RMF นอกจากนี้อาจซื้อประกันสุขภาพ 2 กรมธรรม์ขึ้นไป เพราะวัยนี้เป็นวัยที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว การป้องกันความเสี่ยงไม่ให้เป็นภาระของคนข้างหลังจึงเป็นเรื่องสำคัญ

3. วัยสร้างความมั่นคง (อายุ 41-50 ปี)

ช่วยวัยนี้ ถือเป็นวัยที่มีความมั่นคงทางการเงินมากที่สุด ทั้งความมั่นคงทางหน้าที่การงาน การวางแผนการเงินในช่วงก่อนหน้า และภาระหน้าที่ที่ลดลงจากลูกที่อาจจะเริ่มเรียนจบแล้ว และทรัพย์สินก้อนใหญ่ ๆ อย่าง บ้าน รถยนต์ ก็ต่างทยอยผ่อนชำระไปจนครบ ดังนั้นเป้าหมายในวัยนี้คือการเตรียมพร้อมสำหรับวัยเกษียณ 

วัยอายุ 41-50 ปีออม และลงทุนอะไรดี? ในช่วงวัยนี้เหมาะกับการลงทุนเพื่อเตรียมพร้อมกับวัยเกษียณที่กำลังจะมาถึง อย่างการมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยพิเศษ ไม่หักภาษี ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง ลงทุนในกองทุนรวม RMF หรือ ประกันบำนาญ หรือลงลงทุนเพื่อเพิ่มส่วนต่างกำไร และควรมีซื้อประกันสุขภาพ 2 กรมธรรม์ขึ้นไป

4. วัยใกล้เกษียณ–หลังเกษียณ (อายุ 50 ปีขึ้นไป)

หากในช่วงเวลาก่อนหน้านี้มีการวางแผนทางการเงินที่ดีมาตลอด วัยนี้จะเป็นวัยที่มีความมั่นคง และมั่งคั่งทางการเงินมากที่สุด ดังนั้นเป้าหมายของคนวัยนี้คือการพักผ่อนจากเงินที่เก็บสะสมมาตั้งแต่อายุก่อนหน้า และรักษาสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล วัยอายุ 50 ปีขึ้นไปออม และลงทุนอะไรดี? วัยนี้เป็นอายุที่รับความเสี่ยงได้น้อยลง จึงควรลดการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อลดการสูญเสียเงินต้น อาจมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนในรูปแบบรายได้ประจำ เช่น หุ้นกู้ บ้านเช่า คอนโด และควรมีบัญชีออมทรัพย์สำหรับเบิกถอนได้ตลอดเวลา

อ้างอิงข้อมูลจาก KKP Advice Center

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่