ถึงแม้ภาพรวมการแข่งขันของไทยจะอยู่ในอันดับ 40 จาก 137 ประเทศ แต่ไทยกลับมีปัญหาที่ยังไม่มีนโยบายการแก้ไขที่ชัดเจน อย่างเช่น การผูกขาดของตลาดสินค้าในประเทศ ภาษีการค้าระหว่างประเทศ บทบาทสถาบันโครงสร้างพื้นฐาน ทักษะแรงงาน
เพราะการส่งออกที่ไม่สอดคล้องกับเทรนด์โลกยุคใหม่ สินค้าที่ไทยผลิตกลับมีความต้องการลดลงเรื่อย ๆ จากการที่ไทยยังไม่สามารถดึงดูดและพัฒนาเทคโนโลยีของสินค้าที่เข้ามาทดแทนได้ในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีระดับสูง (high technology) เช่น โทรศัพท์สมาร์ตโฟน, semiconductor, และ Solid State Drive SSD ไทยกลับมีส่วนแบ่งตลาดลดลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้สัดส่วนการส่งออกต่ำกว่าภูมิภาคและประเทศในระดับรายได้ใกล้เคียงอย่างเวียดนาม
เป็นเพราะช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้อต่ำมากจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อีกทั้งรายได้จากการท่องเที่ยวถึงจะมีเพิ่มมากขึ้น แต่ก็บดบังปัญหาความสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม และส่งผลทำให้เกิดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกดดันค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอีก
คล้ายกับ Dutch disease ที่รายได้ต่างประเทศจากการ ค้นพบก๊าซธรรมชาติในเนเธอร์แลนด์ทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น และทรัพยากรไหลเข้าไปในภาคปิโตรเลียม จนกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว
ไทยเคยได้ประโยชน์จากค่าแรงราคาถูก ที่ดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย แต่ปัจจุบันค่าแรงไทยเริ่มปรับตัวขึ้น แต่ผลิตภาพยังไม่ถูกพัฒนาไปมาก ทำให้ไม่สามารถดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนสูงได้
ประเทศไทยจึงพบความท้าทายจากโครงสร้างประชากรที่มีแนวโน้มเปลี่ยนไปเป็นสังคมสูงอายุเต็มตัวในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะส่งผลให้แรงงานของประเทศลดลง ขนาดของตลาดในประเทศเล็กลง ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจ
(potential growth) ต่ำลงตาม ที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือการลงทุนและการพัฒนาด้าน R&D ของไทยที่จะช่วยเพิ่มผลิตภาพยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
คู่แข่ง ‘การส่งออก’
ในขณะเดียวกัน จะเห็นได้ชัดว่าประเทศคู่แข่งเริ่มปรับเปลี่ยนโครงสร้างสินค้าส่งออกไปเป็นสินค้าใหม่ ๆ มากขึ้น เช่น เวียดนามได้กลายเป็นฐานการส่งออก สมาร์ตโฟน แผงวงจรไฟฟ้า และโซลาร์ เซลล์ ในตลาดโลกมากขึ้น หรือมาเลเซียที่หันมาส่งออกสินค้าโลกใหม่ เช่น SSD มากขึ้นในตลาดโลก และเริ่มลดการส่งออกสินค้าโลกเก่าอย่าง HDD ลง
ยิ่งกว่านั้น เศรษฐกิจไทยยังถูกตีตลาดจากจีนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมที่พึ่งพาจีนในการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตของโลก แต่ปัจจุบันสินค้าหลายชนิด จีนสามารถผลิตได้เองในต้นทุนที่ถูกกว่าและส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายมาที่ไทยโดยตรง KKP Research มองว่าปรากฏการณ์นี้กระทบเศรษฐกิจไทยอย่างมาก
อย่างเช่น การที่จีนเข้ามาทำธุรกิจในไทยโดยตรงมากขึ้น เพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจและเข้ามาเจาะตลาดในไทยโดยตรงจากภาวะเศรษฐกิจจีนที่ซบเซาต่อเนื่อง ในแง่หนึ่งการลงทุนที่เพิ่มขึ้นนี้อาจเป็นผลดีต่อการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจไทย แต่ก็จะทำให้ธุรกิจไทยเองต้องเร่งปรับตัวรับการแข่งขันในตลาดในประเทศที่จะดุเดือดขึ้นนั่นเอง
KKP Reasearch ประเมินว่า ประเทศไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้ 57 ถึงภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน แต่ถ้าภาครัฐต้องร่วมมีบทบาทสำคัญในการพัฒนานี้ด้วย ซึ่งปัญหานี้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ต้องหานโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจเชิงโครงสร้าง (Supply-side structural reform policy)
โดยดึงดูดการลงทุนใหม่ ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับระดับการพัฒนาและจุดแข็งของเศรษฐกิจไทย การลดภาษีการค้าระหว่างประเทศและการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี หรือปรับปรุงกฎระเบียบด้านภาษีและการใช้สิทธิทางภาษีให้เข้าถึงง่าย รวมไปถึงดึงดูดแรงงานที่มีทักษะจากต่างประเทศ เพื่อเพิ่มการจ้างงานและกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ อีกทั้งควรลดข้อจำกัดและกฎระเบียบในการทำธุรกิจ เพื่อเสริมให้ศักยภาพที่อ่อนแรงลงของเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นกลับมาเติบโตได้ดีขึ้นในระยะยาว นอกจากนี้ ควรมีการประเมินและหาแนวทางบรรเทาผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ จากการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |