มีการรายงานว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ ได้ออกประกาศเกี่ยวกับการเก็บ “ค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท” Dynamic Currency Conversion Fee (DCC Fee) โดยระบุว่า นับตั้งแต่ 1 พ.ค. 2567 เป็นต้นไป โดยจะเก็บที่ 1% ของยอดใช้จ่าย หรือยอดกดเงินสดในสกุลเงินบาท สำหรับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตวีซ่า/มาสเตอร์การ์ด เพื่อชำระสินค้า และบริการด้วยสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าในต่างประเทศ ร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ และการกดเงินสดที่เลือกเป็นสกุลเงินบาทผ่านตู้ ATM ในต่างประเทศ ก็จะต้องถูกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวด้วย
ซึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์ที่จะได้รับผลกระทบ อย่างเช่น Spotify, VIU, Netflix, Agoda, Booking.com, Expedia, Klook, Airbnb, Trip.com, Facebook, Google, TikTok, PayPal, Alipay, eBay, Amazon, Apple, Alibaba และ Taobao
ส่วนการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มที่จดทะเบียนในไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ อาทิ Shopee, Lazada, Grab Taxi
นอกจาก ค่าธรรมเนียม DCC fee ที่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตจะต้องเสียเพิ่ม 1% แล้วลูกค้ายังมีค่าธรรมเนียมค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน (FX Rate) เมื่อใช้บัตรเครดิตรูดใช้จ่ายในต่างประเทศ ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่จะคิดในอัตรา 2 – 2.5% ของยอดใช้จ่าย แล้วแต่แต่ละธนาคาร
สาเหตุเพราะนโยบายของวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด ซึ่งกำหนดค่าชาร์จชัดเจนที่ 1% ของมูลค่าการซื้อสินค้าหรือบริการที่เป็นสกุลเงินบาท แต่ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ชาร์จร้านค้าสูงสุดที่ 2.5% จากยอดใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งไปที่วีซ่า/มาสเตอร์การ์ด อีกส่วนก็จะมาที่ธนาคารพาณิชย์
โดยปกติธนาคารพาณิชย์จะเก็บกันอยู่ระหว่าง 1 – 2.5% หรือทั้งตลาดบัตรเครดิตเก็บเฉลี่ยอยู่ที่ 2% ซึ่งการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนี้ จะมากหรือน้อย ขึ้นกับความสามารถในการบริหารต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยน หรือแคมเปญกระตุ้นยอดของแต่ละเจ้า
โดยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม DCC fee 1% นี้ เกิดขึ้น หลังจากการช็อปปิ้งออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างประเทศได้รับความนิยม มียอดใช้จ่ายเติบโตเร็วมาก มีสัดส่วนขึ้นไปอยู่ที่ 3 – 4% ของยอดใช้จ่ายต่างประเทศทั้งหมด ยิ่งกว่านั้นอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างประเทศมีความผันผวนมาก ทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น
จึงมีการกำหนดให้ การช็อปปิ้งออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างประเทศ หากผู้ให้บริการกำหนด หรือให้เลือกชำระเงินด้วยเงินบาท แพลตฟอร์มออนไลน์ จะบวกค่าธรรมเนียม DCC fee เข้าไปกับราคาสินค้า และผู้ใช้บัตรเครดิตของไทย จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม DCC fee 1% ของยอดใช้จ่าย แต่ถ้าเลือกชำระเป็นสกุลเงินท้องถิ่น อย่าง เงินเยน ยูโร หรือดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม 2.5% ของยอดใช้จ่าย
ทางด้านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยว่า ธปท.จะเรียกสถาบันการเงินเข้ามาชี้แจง เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมดังกล่าว ส่วนกรณีเรียกเก็บ 1% สูงไปหรือไม่นั้น จะต้องคุยกับหลายฝ่าย แต่เชื่อว่าการหารือจะจบได้ก่อน 1 พ.ค. 67
สำหรับทางเลือกอื่นในการใช้จ่ายที่จะไม่ต้องเสียค่า DCC Fee จะต้องเลือกจ่ายเป็นเงินสกุลต่างประเทศที่เป็นประเทศปลายทาง หรือใช้จ่ายผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น E-Wallet, บัตรเดบิต Travel Card ที่ไม่คิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ก็แล้วแต่ประเทศนั้น ๆ นั้นว่ามีการใช้งานได้หรือไม่
สำหรับสายช้อปบ่อย ๆ มีทริคในการเช็กมาแนะนำว่า จ่ายเงินสกุลไหนคุ้มค่ามากกว่ากันระหว่างสกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินบาท อาจลองซื้อสินค้าราคาไม่สูง แล้วลองเลือกจ่ายสกุลเงินต่าง ๆ เปรียบเทียบดูว่าเงินที่ชำระไป สกุลเงินไหนเสียค่าธรรมเนียม DCC fee ต่ำที่สุด
อ้างอิงจาก
ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |