fbpx
Search
Close this search box.

แบงค์ชาติเตรียมเก็บค่าธรรมเนียมค่ารูดจ่ายต่างประเทศ 1%

สายบัตรเครดิตเตรียมตัวให้ดี เพราะตอนนี้ธนาคารพาณิชย์หลายธนาคาร ประกาศเก็บค่าธรรมเนียม 1% จากการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นไทย เริ่ม 1 พ.ค. 2567 เป็นต้นไป ซึ่งรายละเอียดจะมีอะไรบ้าง เดี๋ยว ACU PAY จะสรุปให้ฟัง

เนื้อหา

จ่ายบัตรเครดิตวีซ่า/มาสเตอร์การ์ด โดนชาร์จค่า DCC fee 1%

มีการรายงานว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ ได้ออกประกาศเกี่ยวกับการเก็บ “ค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท” Dynamic Currency Conversion Fee (DCC Fee) โดยระบุว่า นับตั้งแต่ 1 พ.ค. 2567 เป็นต้นไป โดยจะเก็บที่ 1% ของยอดใช้จ่าย หรือยอดกดเงินสดในสกุลเงินบาท สำหรับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตวีซ่า/มาสเตอร์การ์ด เพื่อชำระสินค้า และบริการด้วยสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าในต่างประเทศ ร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ และการกดเงินสดที่เลือกเป็นสกุลเงินบาทผ่านตู้ ATM ในต่างประเทศ ก็จะต้องถูกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวด้วย

ซึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์ที่จะได้รับผลกระทบ อย่างเช่น Spotify, VIU, Netflix, Agoda, Booking.com, Expedia, Klook, Airbnb, Trip.com, Facebook, Google, TikTok, PayPal, Alipay, eBay, Amazon, Apple, Alibaba และ Taobao

ส่วนการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มที่จดทะเบียนในไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ อาทิ Shopee, Lazada, Grab Taxi 

นอกจาก ค่าธรรมเนียม DCC fee ที่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตจะต้องเสียเพิ่ม 1% แล้วลูกค้ายังมีค่าธรรมเนียมค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน (FX Rate) เมื่อใช้บัตรเครดิตรูดใช้จ่ายในต่างประเทศ ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่จะคิดในอัตรา 2 – 2.5% ของยอดใช้จ่าย แล้วแต่แต่ละธนาคาร 

สาเหตุของการเรียกเก็บค่า DCC fee 1%

สาเหตุเพราะนโยบายของวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด ซึ่งกำหนดค่าชาร์จชัดเจนที่ 1% ของมูลค่าการซื้อสินค้าหรือบริการที่เป็นสกุลเงินบาท แต่ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ชาร์จร้านค้าสูงสุดที่ 2.5% จากยอดใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งไปที่วีซ่า/มาสเตอร์การ์ด อีกส่วนก็จะมาที่ธนาคารพาณิชย์

โดยปกติธนาคารพาณิชย์จะเก็บกันอยู่ระหว่าง 1 – 2.5% หรือทั้งตลาดบัตรเครดิตเก็บเฉลี่ยอยู่ที่ 2% ซึ่งการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนี้ จะมากหรือน้อย ขึ้นกับความสามารถในการบริหารต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยน หรือแคมเปญกระตุ้นยอดของแต่ละเจ้า 

โดยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม DCC fee 1% นี้ เกิดขึ้น หลังจากการช็อปปิ้งออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างประเทศได้รับความนิยม มียอดใช้จ่ายเติบโตเร็วมาก มีสัดส่วนขึ้นไปอยู่ที่ 3 – 4% ของยอดใช้จ่ายต่างประเทศทั้งหมด ยิ่งกว่านั้นอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างประเทศมีความผันผวนมาก ทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น

จึงมีการกำหนดให้ การช็อปปิ้งออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างประเทศ หากผู้ให้บริการกำหนด หรือให้เลือกชำระเงินด้วยเงินบาท แพลตฟอร์มออนไลน์ จะบวกค่าธรรมเนียม DCC fee เข้าไปกับราคาสินค้า และผู้ใช้บัตรเครดิตของไทย จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม DCC fee 1% ของยอดใช้จ่าย แต่ถ้าเลือกชำระเป็นสกุลเงินท้องถิ่น อย่าง เงินเยน ยูโร หรือดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม 2.5% ของยอดใช้จ่าย

ทางด้านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยว่า ธปท.จะเรียกสถาบันการเงินเข้ามาชี้แจง เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมดังกล่าว ส่วนกรณีเรียกเก็บ 1% สูงไปหรือไม่นั้น จะต้องคุยกับหลายฝ่าย แต่เชื่อว่าการหารือจะจบได้ก่อน 1 พ.ค. 67

ไม่อยากเสียค่าธรรมเนียม ทำอย่างไรได้บ้าง ?

สำหรับทางเลือกอื่นในการใช้จ่ายที่จะไม่ต้องเสียค่า DCC Fee จะต้องเลือกจ่ายเป็นเงินสกุลต่างประเทศที่เป็นประเทศปลายทาง หรือใช้จ่ายผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น E-Wallet, บัตรเดบิต Travel Card ที่ไม่คิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ก็แล้วแต่ประเทศนั้น ๆ นั้นว่ามีการใช้งานได้หรือไม่ 

สำหรับสายช้อปบ่อย ๆ มีทริคในการเช็กมาแนะนำว่า จ่ายเงินสกุลไหนคุ้มค่ามากกว่ากันระหว่างสกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินบาท อาจลองซื้อสินค้าราคาไม่สูง แล้วลองเลือกจ่ายสกุลเงินต่าง ๆ เปรียบเทียบดูว่าเงินที่ชำระไป สกุลเงินไหนเสียค่าธรรมเนียม DCC fee ต่ำที่สุด

อ้างอิงจาก

ผู้เขียน

ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่