บทความนี้อ้างอิงทฤษฎีจาก Birth Order Theory ที่คิดค้นโดยอัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) นักจิตบำบัดชาวออสเตรีย โดยชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมของบุคคลนั้นจะเป็นแบบไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยรอบตัวของคน ๆ นั้น เช่น พันธุกรรม สังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม สถานการณ์ที่ส่งผลต่อการเลี้ยงดู และอีกหนึ่งในปัจจัยนั้นคือ ‘ลำดับการเกิด’ ซึ่งจะมีตามนี้
จินตนาการสูง / รักความสมบูรณ์แบบ / มีความเป็นผู้ใหญ่
เริ่มกันที่ลูกคนเดียว ตามทฤษฎีของแอดเลอร์ ใครที่เป็นลูกคนเดียว พวกเขามักจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยผู้ปกครองและผู้ใหญ่ มากกว่าที่จะใช้เวลาเล่นกับเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน ทำให้ลูกคนเดียวมักจะเลียนแบบพฤติกรรมผู้ใหญ่รอบตัว ทั้งการภาษาการพูดจา ทำให้พวกเขามักดูเป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็กคนอื่น ๆ
นอกจากนี้การเป็นลูกคนเดียว ทำให้ผู้ปกครองค่อนข้างปกป้องดูแลเป็นพิเศษ ทำให้พวกเขาต้องพึ่งการดูแลจากผู้ปกครองอยู่เสมอ ด้วยความที่ไม่มีพี่น้อง ทำให้ลูกคนเดียวเป็นคนมีจิตนาการสูง ฉลาด มีวุฒิภาวะ และชอบความสมบูรณ์แบบ จนมักกดดันตัวเองเยอะเกินไป เพราะอยากทำให้ผู้ปกครองภูมิใจ แต่ถึงอย่างนั้นค่อนข้างหัวดื้ออยู่เหมือนกัน และเอาแต่ใจได้ เพราะไม่ได้มีพี่น้องให้แบ่งปันอะไรด้วย
เป็นผู้นำ / เสียสละ / ได้รับความคาดหวังสูง
สำหรับลูกคนโต ถือเป็นลูกคนแรกและคนเดียวจนกระทั่งผู้ปกครองมีลูกเพิ่มมาอีกหนึ่งคน ตามทฤษฎีของแอดเลอร์ การเป็นลูกคนแรกทำให้ผู้ปกครองมือใหม่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ในแง่หนึ่งผู้ปกครองก็เชื่อว่าพวกเขาลงแรงไปมากที่สุดกับลูกคนแรก จึงเกิดความคาดหวังในตัวลูกคนนี้สูงกว่าคนไหน ๆ ด้วย
สิ่งหนึ่งสิ่งที่พี่คนโตต้องเรียนรู้ คือการแบ่งปันและเสียสละ การมีน้องเพิ่มเข้ามา ทำให้ลูกคนโตถูกบังคับให้สวมบทบาทใหม่ จากความคาดหวังของผู้ปกครอง นั่นคือการให้เขาเป็นผู้นำ ตัวอย่างและเป็นผู้ให้กับน้อง ๆ บ่อยครั้งจึงอาจนำไปสู่ลักษณะนิสัยที่เคร่งครัด และถืออำนาจไว้กับตัวเอง ทำให้นิสัยของพวกเขามีความเป็นผู้นำค่อนข้างสูง
รักความสงบ / ไม่เคร่งเครียด / หัวรั้น
ต่อมาลูกคนกลาง สำหรับเด็กที่เกิดมาอยู่ระหว่างทั้งพี่และน้อง พวกเขามักอยากได้รับความสนใจจากผู้ปกครองระหว่างพี่กับตัวเอง และยังมีน้องคนเล็กเกิดตามมาอีกด้วย แต่ความสนใจที่ผู้ปกครองแบ่งมาอาจไม่มากพอ จนทำให้พวกเขารู้สึกไปว่าตัวเองไม่มีตัวตน ดังนั้นลูกคนกลางจึงต้องทำตัวให้แตกต่างจากพี่ และน้อง มักต้องปรับตัวอยู่เสมอ รับบทบาททั้งพี่และน้องในเวลาเดียวกัน ทำให้พวกเขาเรียนรู้ในการที่จะประนีประนอมเพื่อให้อยู่รอด
แต่บ่อยครั้งที่ลูกคนกลางมักจะแยกตัวออกจากพี่น้อง เพื่อที่จะได้อยู่กับตัวเองอย่างสงบสุข ทำให้ลูกคนกลางมีบุคคลิก เป็นคนไม่เคร่งเครียด ไม่ค่อยสนใจที่จะเป็นผู้นำหรือรับผิดชอบสักเท่าไร แต่เมื่อลูกคนรองมีน้อง ความรู้สึกการแข่งขันจะเกิดขึ้นทันที มีแนวโน้มจะเป็นคนดื้อรั้นเช่นกัน ถ้าพวกเขารู้สึกว่าได้รับความสนใจจากผู้ปกครองไม่มากพอ แต่โดยทั่วไปแล้วลูกคนกลางมักจะมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีกว่าพี่และน้อง
สนุกสนาน / รักอิสระ / ต้องการความสนใจ
ลำดับถัดมา ลูกคนเล็ก แน่นอนว่าถ้าพูดถึงลูกคนเล็ก พวกเขามักจะถูกตามใจประคบประหงมและได้รับความช่วยเหลือจากคนในครอบครัวอยู่เสมอ จากประสบการณ์การเลี้ยงดูของผู้ปกครองในลูกคนก่อนหน้า ทำให้สไตล์เลี้ยงดูต่างกัน และมีอิสระมากที่สุดในบรรดาลำดับลูกคนอื่น ๆ ทำให้ลูกคนเล็กเป็นคนสดใสร่าเริง สนุกสนาน รักอิสระ แต่ก็เป็นคนเอาแต่ใจตนเอง ไม่รู้จักโต และมักขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
หลาย ๆ ครั้งลูกคนเล็กมักถูกมองว่า ไม่ว่าโตขนาดไหน ทุกคนรอบตัวก็ยังมองพวกเขาเป็นเด็กน้อยเสมอ ความรู้สึกนี้อาจทำให้เรามีนิสัยร่าเริง กล้าแสดงออก แต่ก็อาจเป็นเหมือนแรงผลักดันที่ต้องพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าพวกเขานั้นโตแล้ว แอดเลอร์กล่าวว่า พวกเขามักพยายามทำตัวเองให้เป็นเลิศในทุกด้าน เพื่อเป็นคนที่ใช่ในครอบครัว
มีนิสัยคล้าย ๆ กัน / มักถูกเปรียบเทียบ
สุดท้าย สำหรับเด็กที่เกิดเป็นฝาแฝด พวกเขามักมีความเชื่อติดมาว่า ‘ฝาแฝดต้องเหมือนกัน’ ต้องชอบอะไรเหมือนกัน มีนิสัยคล้ายกัน แต่นั่นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะเด็กที่เกิดมา ถึงจะเกิดในช่วงเวลาใกล้กันหรือตัวติดกันตั้งแต่ในท้อง พวกเขาต่างเป็นคนละคนกัน และด้วยความที่เกิดมาพร้อมกันอยู่ในช่วงวัยเดียวกัน ลูกฝาแฝดมักจะโดนเปรียบเทียบกับแฝดของตัวเองอยู่เสมอ จนทำให้พวกเขารู้สึกถูกมองข้ามความสำคัญจากคนที่เขารัก หรือ อิจฉากันเองได้
ตามทฤษฎีของแอดเลอร์เชื่อว่า ความเชื่อที่ว่าฝาแฝดต้องเหมือนกัน อาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องการค้นหาตัวตน ว่าการที่พวกเขาแตกต่างกันเป็นเรื่องที่ผิดหรือเปล่า หรือทำสำเร็จไม่เท่าอีกคนจะผิดไหม เรียกได้ว่าฝาแฝดนั้นอาจถูกเปรียบเทียบตลอดชีวิตเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูใส่ใจของผู้ปกครองแต่ละคนด้วย
ถ้าจะพูดตามความจริงแล้ว พ่อแม่ทุกคนนั้นต่างมีความรักให้ลูกเสมอ แต่ความรักที่มีให้กับลูกแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป ทั้งตามช่วงเวลา สภาพแวดล้อม ความพร้อม ความเข้าใจที่ไม่เท่ากัน ทำให้เราถึงได้เห็นบุคลิกภาพที่แตกต่างตามลำดับการเกิด
หรือแม้แต่การเลี้ยงดู อย่างเช่น ในช่วงที่มีลูกคนโต พ่อแม่อาจประสบปัญหาการเงิน เริ่มกอบกู้สถานการณ์ได้ตอนมีลูกคนกลาง และมีความพร้อมในทุกด้านเมื่อมีลูกคนเล็ก
สิ่งเหล่านี้ก็ส่งผลต่อบุคลิกภาพและนิสัยของลูกแต่ละคนได้เช่นกัน เลยเป็นคำตอบที่ว่า ทำไมพี่น้องที่เกิดมา เลี้ยงเหมือนกัน แต่มีนิสัยต่างกันนั่นเอง
อ้างอิงจาก
ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |