fbpx
Search
Close this search box.

เหตุ “วางแผนเกษียณ” ไม่ถึงฝัน มาจากอะไรบ้าง?

มนุษย์เงินเดือนหรือทุกคนก็ว่าได้หวังที่อยากมีชีวิตเกษียณที่มีความสุข ยิ่งประเทศไทยเรียกได้ว่า เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น บางคนเลือกจะไม่มีครอบครัว หรือมีบุตร เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นการวางแผนเกษียณย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ๆๆบางคนทำไม่สำเร็จ หรือรู้สึกว่าเป้าหมายไม่เป็นไปตามที่ใจต้องการ เดี๋ยวเรามาดูสาเหตุกันดีกว่า เพื่อมาสังเกตตนเองกันว่าเราเข้าข่าย ใน 5 ข้อนี้หรือไม่ ถ้าใช่จะได้รีบกันไว้ดีกว่าแก้

1. ต้องจัดลำดับความสำคัญ

หลายคนพอเริ่มทำงาน เริ่มมีรายได้ จึงทำให้ภาระต่างๆเพิ่มขึ้น ทำให้ความตั้งใจในการเก็บเงินเพื่อการเกษียณลดน้อยลงไปด้วย อาจให้เงินในสิ่งที่ตัวเองอยากได้ โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมา มารู้อีกทีก็เป็นหนี้ หรือเงินหมดแบบไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นเราต้องมีสติและเหตุผลในการใช้เงินมากเช่น ค่าใช้จ่ายนี้จำเป็นหรือไม่ ค่าใช้จ่ายปัจจัย 4 ประกันสุขภาพ เป็นต้น 

หลายคนเมื่อเริ่มทำงาน เริ่มมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทำให้ละเลยเป้าหมายการเก็บเงินเพื่อเกษียณ มองเพียงเป้าหมายการใช้เงินระยะสั้น ทำให้ละเลยการเก็บเงินหรือเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่การเกษียณ

ตัวอย่างของค่าใช้จ่าย อาทิเช่น ซื้อบ้าน รถเป็นของตนเอง การแต่งงานมีครอบครัว ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาให้วางแผนการศึกษาให้ลูกหลาน ค่าปรับปรุงที่อยู่อาศัย หรือในกรณีเกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรืออุบัติเหตุ ข้อแนะนำคือควรมีประกันสุขภาพไว้เป็นตัวช่วย หากต้องเข้าโรงพยาบาล หรือเงินก้อนแยกออกมาต่างหากจากเงินเกษียณ เป็นอย่างน้อย 1 ล้านบาท เป็นต้น

2. รู้สึกว่าการเกษียณนั้นเป็นเรื่องยาก

น่าจะยังพอมีเวลาอีกนาน ไม่น่าจะทำได้ ท้อแท้ที่จะเก็บเงิน หรือเคยคิดคำนวณแล้วรู้สึกว่า การเก็บเงินนั้นยากลำบาก จากสาเหตุหลาย ๆ ปัจจัย ตัวอย่างเช่น เงินเดือนที่ยังน้อยในช่วงเริ่มต้นทำงาน เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถเก็บเงินได้ตามเป้าหมาย เลยล้มเลิกความตั้งใจในการเก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ และเปลี่ยนมาเน้นใช้ชีวิตปัจจุบัน แต่ถ้าเราตั้งใจและศึกษาดีๆ จะพบว่าเกษียณนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย

3. ควรปรับเปลี่ยนการลงทุน

ปัจจุบันหากเก็บเงินในบัญชีออมทรัพย์ ดอกเบี้ยอาจไม่เพียงพอนำมาใช้เป็นเงินเกษียณ อาจมองบัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นซึ่งปัจจุบันก็มีอยู่หลายธนาคารและหลายผลิตภัณฑ์ให้เลือก เช่น เงินฝากดิจิทัลดอกเบี้ยสูง ประกันแบบสะสมทรัพย์ เป็นต้น  หรือถ้าสายลงทุนลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงน้อยไป แนะนำให้ลงทุนในกองทุนที่เสี่ยงมากขึ้น เพราะการลงทุนที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ผลตอบแทนก็จะเยอะมากขึ้น และเพียงพอต่อการนำผลตอบแทนนั้นมาใช้เป็นเงินเก็บในช่วงเกษียณ แต่ต้องดูกำลังของเราและควรศึกษาให้ดีก่อนการลงทุนทุกครั้งมิฉะนั้นแทนที่จะได้ผลตอบแทนงอกเงย อาจทำให้เงินหายในพริบตาได้ 

4. ก่อนเวลาประมาณ 5 ปี ก่อนเกษียณต้องมีการปรับการลงทุน

5 ปี ก่อนเกษียณควรปรับความเสี่ยงลดลงเหลือสัก 10% กล่าวคือปรับเปลี่ยนไปลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำลง และที่สำคัญ คือต้องดูผลตอบแทนให้เพียงพอกับเงินเฟ้อในอนาคต โดยจะแสดงวิธีคำนวณต่อไปนี้

เงินเก็บช่วงเกษียณ 10 ล้านบาท ควรลงทุน 10%ของเงินเกษียณ

= จำนวนเงินไว้ลงทุนหลังเกษียณ 1 ล้านบาท 

จำนวนเงินไว้ลงทุนหลังเกษียณ 1 ล้านบาท แบ่งลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยง 10% 

= จำนวนเงินไว้ลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยง 100,000 บาท 

5. เตรียมตัวช้า

พอเริ่มทำงานใช้เงินเพลินไม่นึกถึงเกษียณเลย กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็สายเสียแล้ว ตอนที่กำลังทำงานอยู่ คิดว่าตัวเองมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือบางท่านที่มีกองทุน RMF เงินบำเหน็จ บำนาญจากประกันสังคม หรือกลุ่มข้าราชการมีเงินบำนาญ นึกว่ามีเงินเพียงพอสำหรับใช้ตอนเกษียณ แต่ที่ทุกคนลืมไปก็คือ คือเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เพราะฉะนั้นควรคำนวณให้ดี

เงินประกันสังคม เพียงพอหรือไม่สำหรับช่วงหลังเกษียณ

สำหรับใครที่มองหาเงินส่วนอื่น ๆ อย่างเงินประกันสังคม ที่พอถึงช่วงเกษียณ ทางประกันสังคมจะมีการจ่ายเงินบำเหน็จ (การจ่ายบำเหน็จคือกรณีระยะจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน หรือ 15 ปี) และเงินบำนาญ เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ มีการจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม (กรณีไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) จะได้เงินบำนาญ กลับมาในช่วงเกษียณ แต่ไม่เหมาะหากคิดจะเกษียณเร็วขึ้น เพราะเป็นเงินเพียงก้อนเล็ก ๆ ใช้สำหรับช่วงเกษียณมากกว่า หรือเป็นแค่ตัวช่วยหนึ่งเท่านั้น เพราะเงินประกันสังคม เมื่อเฉลี่ยแล้วจะได้เงินหลังเกษียณไม่เกิน 5-6 พันบาท หรือตามอายุงาน จึงไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้เป็นเงินในช่วงเกษียณได้

หากต้องการเกษียณเร็วสำเร็จสิ่งที่ต้องคำนึงถึง

หลายคนอายุยืนยาวเกินความคาดหมาย ทำให้เงินสำหรับใช้ในช่วงเกษียณหมดก่อน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกษียณล้มเหลวได้ คุณราชันย์ให้เผื่อค่าใช้จ่ายในช่วงเกษียณให้อยู่ที่ 85 ปี โดยประมาณจากค่าเฉลี่ยอายุไข หรือทำประกันบำนาญสำหรับผู้สูงวัย ที่สามารถต่ออายุคุ้มครองได้สูงสุดถึง 99 ปี เรื่องของภาวะจิตใจ ที่ต้องเตรียมพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณ อาจจะหางานอดิเรก กิจกรรมแก้เบื่อ งานเพื่อสังคม เมื่อต้องเข้าสู่การเกษียณ หรือบริหารจัดการเงินไม่ดีพอ เช่น ลงทุนน้อยไป ทำให้เงินผลตอบแทนไม่เพียงพอสำหรับเก็บไว้ใช้หลังเกษียณ หรือลงทุนเสี่ยงมากไป ทำให้ได้ผลตอบแทนของการลงทุนนั้นขาดทุน ไม่ถึงเป้าที่คาดการณ์ไว้

ค่าใช้จ่ายเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ ควรคิดคำนวณจากอะไรบ้าง

เริ่มต้นเลย เช็ครายรับรายจ่ายของตนเอง ในแต่ละเดือน ทั้งค่าน้ำ ไฟ ค่าอาหารกินเที่ยวต่าง ๆ ตามไลฟ์สไตล์ของตนเอง 

การเกษียณเร็วอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดจากความไม่ตั้งใจ อย่างเช่น ถูกให้ออกจากงานก่อนเวลา หรือปัญหาด้านสุขภาพ การเตรียมตัวเกษียณเร็วไม่ใช่เพียงแค่วางแผนทางด้านการเงิน ลงทุนเท่านั้น ต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับการลงทุน เลือกสถาบันการลงทุนที่ไว้ใจได้ มีความมั่นคง และจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงภาวะทางจิตใจที่ต้องรับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่การเกษียณเร็วอย่างเต็มตัว เพราะหากเราเตรียมตัวและเตรียมใจอย่างดีตั้งแต่เนิ่น ๆ การประสบความสำเร็จในการเกษียณเร็วได้อย่างที่ใจหวัง คงไม่ใช่เรื่องยากอย่างแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่