fbpx
Search
Close this search box.

เกิดข้อพิพาท “สถาบันอนุญาโตตุลาการ” ช่วยคุณได้

หลายครั้งที่เกิดข้อพิพาทกับคู่กรณี แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร หรือจะไปศาลก็ไม่รู้ขั้นตอนหรือไม่มีเวลา วันนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ สถาบันอนุญาโตตุลาการ เผื่อเป็นประะโยชน์กับหลายคนที่หาทางออก ถ้าเกิดข้อพิพาท

สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center: THAC) เป็นสถาบันฯ ที่ให้บริการด้านการอนุญาโตตุลาการและการประนอมข้อพิพาทในระดับสากล ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และ ให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล

บริการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ

1. การประนอมข้อพิพาท

ข้อดีของการประนอมข้อพิพาทเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและมุ่งหาทางออกที่คู่พิพาทต้องการ ภายในระยะเวลารวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย เราจึงเปิดให้บริการการประนอมข้อพิพาทโดยผู้ประนอมที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

ข้อดี
– เป็นกระบวนการที่คู่กรณีจะเริ่มและสิ้นสุดกระบวนการเมื่อใดก็ได้
– มีกระบวนการที่ไม่เป็นทางการและมีความยืดหยุ่น
– กระบวนการมีความรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายน้อย
– เป็นการรักษาความสัมพันธ์และความลับของคู่กรณี

2. ระบบการระงับข้อพิพาทออนไลน์ของสถาบันอนุญาโตตุลาการ THAC

ใครหลายคนที่อยากระงับข้อพิพาท แต่ไม่อยากไปขึ้นศาล สามารถส่งเรื่องให้สถาบัน อนุญาโตตุลาการ THAC ทางออนไลน์ได้ทาง https://odr.thac.or.th/auth/login

3. บริการถือเงินประกันคดี

 การให้บริการด้านการถือเงินประกันคดี คือ บริการที่สถาบันฯ เป็นคนกลางในการรับฝากเงินประกันคดีในคดีอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ (Ad Hoc Arbitration) โดยสถาบันฯ ได้รับมอบหมายจากคู่พิพาท หรือจากอนุญาโตตุลาการในคดีอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจให้เป็นผู้ถือเงินประกันคดีเพื่อใช้ประกันการชำระหนี้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

สถาบันฯ สามารถเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากคู่พิพาท หรือผู้ที่อนุญาโตตุลาการมีคำสั่งให้วางเงินประกัน ดังนี้
1. ค่าธรรมเนียมสำหรับเงินประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการและค่าใช้จ่ายในคดี ในอัตราคดีละ 10,000 บาทต่อปีต่อครั้ง*
2. ค่าธรรมเนียมสำหรับเงินประกันการชำระหนี้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ในอัตราคดีละ 15,000 บาทต่อปีต่อครั้ง*

    *กรณีที่สถาบันอนุญาโตตุลาการให้บริการถือเงินประกันคดีไว้ไม่ถึงหนึ่งปี ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราหนึ่งปี

4. SMART VISA

คือเป็นการออกวีซ่าให้ชาวต่างชาติที่เชี่ยวชาญทางด้านอนุญาโตตุลาการมาทำงานที่ประเทศหรือในสถาบันมากขึ้น ทำให้เพิ่มผู้เชียวชาญทางด้านระงับกรณีพิพาทสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านอนุญาโตตุลาการชาวต่างชาติ
เมื่อปลายปีที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ออกประกาศเพิ่มเติมอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยกำหนดให้ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง ที่เกี่ยวข้องกับการบริการดังกล่าวสามารถยื่นคำขอเพื่อได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ หรือ SMART VISAได้ ซึ่งในแง่ของขอบเขตของผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง ไม่ได้จำกัดเพียงแค่อนุญาโตตุลาการเท่านั้น แต่แนวทางของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนยังให้หมายรวมถึง ที่ปรึกษาคดีอนุญาโตตุลาการงานว่าต่างแก้ต่างในคดี และงานสนับสนุนต่างๆ ด้วย เช่น การถอดความจากเสียง หรือ Transcriberเป็นต้น

ซึ่งหากบุคคลดังกล่าวได้รับการพิจารณารับรองคุณสมบัติแล้ว จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่นอกเหนือจาก Visaปกติค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระยะเวลาซึ่งสูงสุดครั้งละไม่เกิน 4 ปี และสามารถขยายให้ครั้งละไม่เกิน 4 ปี, ชาวต่างชาติไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตทำงานสำหรับการทำงานในกิจการหรือหน่วยงานของรัฐ, ขยายระยะเวลาการรายงานตัวจากปกติที่ต้องรายงานตัวทุก 90 วัน เป็นรายงานตัวทุก1 ปี โดยสามารถดำเนินการที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงานได้, ชาวต่างชาติสามารถเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง (Re-entry permit), ได้รับสิทธิในการใช้ช่องทางพิเศษ หรือ Fast track ในการเข้าออกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่มีการให้บริการช่องทางพิเศษ นอกจากนี้ คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติจะได้รับสิทธิในการพำนักในประเทศไทย และสามารถทำงานได้โดยมีระยะเวลาเท่ากับผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับสิทธิหลัก ทั้งนี้ อยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องไม่เป็นงานต้องห้ามตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการ การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

ด้วยสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้นนี้เอง SMART VISAจึงถือเป็นมาตรการสำคัญที่ช่วยดึงดูดให้ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงด้านการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ต้องระมัดระวังว่า ชาวต่างชาติผู้นั้นจะต้องได้รับ SMART VISAก่อน จึงจะสามารถปฏิบัติงานได้ มิฉะนั้นอาจต้องรับโทษตามที่ระบุไว้ในพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ ขั้นตอนการยื่นคำขอได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ หรือ SMART VISA นั้นอาจใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 30 วันทำการ จึงไม่เหมาะสมกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้อย่างเร่งด่วน

โดยสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมไดที่ หน้าแรก | สถาบันอนุญาโตตุลาการ THAC

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่