สังคมไร้เงินสดเป็นคำอธิบายภาวะทางเศรษฐกิจ และสภาพสังคมที่ทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ได้ดำเนินการด้วยเงินในรูปธนบัตรหรือเหรียญที่จับต้องได้ แต่เป็นการโอนสารสนเทศดิจิทัลระหว่างกัน โดยผ่านตัวกลาง หรือไม่ผ่านตัวกลางก็ได้ ระหว่างผู้ทำธุรกรรม ธุรกรรมไร้เงินสดในปัจจุบันที่นิยมใช้คือ e-Money(เงินอิเล็กทรอนิกส์) โดยใช้จ่ายผ่าน e-Wallet (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์) บัตรเครดิต บัตรเดบิต รวมไปถึง PromptPay (พร้อมเพย์) และการสแกน QR Code (QR Payment) นับว่าการชำระเงินแบบไร้เงินสดเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนที่สำคัญในอนาคต
นโยบายลดค่าธรรมเนียมของบริการการโอน และชำระค่าสินค้าและบริการธนาคารพาณิชย์ หรือ e-Wallet หลายแห่งประกาศไม่คิดค่าธรรมเนียม การโอนเงินและชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ โดยช่องทางที่นิยมใช้กันคือ e-Wallet ทำให้จำนวน ธุรกรรมการโอนเงินรายย่อยเพิ่มมากขึ้น สะท้อนได้จากค่าสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทยในการใช้ e-Money ปี 2021อยู่ที่ 467,197.74 ล้านบาท โดยเพิ่มเกือบ 2 เท่า จากปี 2019 ที่ 276,317.42 ล้านบาท
นโยบายภาครัฐที่เยียวยาประชาชนจากสถานการณ์โควิด 19 ผ่านโครงการต่างๆ อาทิเช่น คนละครึ่ง เราชนะ ทำให้คนไทยได้รู้จักกับแอปฯ เป๋าตังที่เป็น แอปพลิเคชัน e-Wallet เพื่อทำการใช้ชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ตลอดจนไปถึงแอปพลิชันที่ร้านค้าใช้เพื่อรองรับการชำระที่ชื่อว่า ถุงเงิน ส่งผลในคนไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับชำระ และการใช้จ่ายเป็นอย่างสูง
ความนิยมในการใช้ Quick response code (QR code) เพิ่มขึ้น เชื่อว่าหลายๆ คน แม้แต่ตัวแอดเองการกดเลขบัญชีหรือแม้แต่เบอร์โทรศัพท์เป็นเรื่องยุ่งยาก และเกิดความผิดพลาดได้ง่าย ซึ่งการโอนและชำระสินค้าและบริการโดยใช้ Quick response code (QR code) ผ่านช่องทางในรูปแบบ e-Payment ผ่าน e-Wallet ช่วยลดความผิดพลาด และเพิ่มความสะดวกให้กับเราได้เป็นอย่างมาก Quick response code (QR code)เริ่มเป็นที่นิยมใช้ในปลายปี 2017 และ ความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งจากการสถานการณ์โควิด 19 ที่เราจำเป็นจะต้องใช้จ่าย แบบไร้สัมผัส
FinTech คือ ธุรกิจที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้กับการให้บริการธุรกรรม ทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำเสนอบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้าน ความสะดวกรวดเร็ว และต้นทุนการใช้บริการที่ต่ำลง
FinTech เป็นการผสมผสานกันระหว่าง Financial + Technology ซึ่งมีความหมายตรงตัวหมายถึง เทคโนโลยีทางการเงินที่พัฒนาขึ้นในยุคศตวรรษที่ 21 ในการให้บริการธุรกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนหรือทดแทนการทำธุรกรรมในรูปแบบเดิม
โดยมีความสะดวกรวดเร็วขึ้น สามารถใช้บริการทางการเงินได้ทุกที่ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมงผ่าน คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน โดยมีขั้นตอนการใช้ที่ไม่ยุ่งยากและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ในด้านต้นทุนการใช้บริการต่ำกว่าการใช้บริการที่ธนาคารพาณิชย์ โดยไม่มีสาขาและพนักงานจำนวนมาก ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการหน้าใหม่ (Startup) ที่มีแนวคิดในการปิดช่องว่าง ความไม่สะดวกในการใช้เงินสดหรือบริการผ่านธนาคาร
โปรโมชั่นต่างๆ จากผู้ให้บริการด้าน e-Payment ที่ทำให้การชำระสินค้าหรือบริการ แบบ e-Payment คุ้มค่ามากกว่าเพราะได้ส่วนลด ของแถม หรือได้เงินคืนจากการใช้จ่าย จึงเป็นแรงจูงใจที่ทำให้การชำระในรูปแบบ e-Payment ได้รับความนิยม เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำในการให้บริการ จึงทำให้ค่าธรรมเนียมต่างๆ ถูกลงเป็นอย่างมาก ส่งผลดีต่อผู้ใช้งานเองด้วยเช่นกัน ทำให้เราได้รับโปรโมชันที่คุ้มค่ามากกว่าการใช้เงินสด
จากสถิติของ we are social บอกว่าคนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนมากกว่า 80% จึงเป็นปัจจัยอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการทำให้คนไทยเข้าถึงการชำระเงินแบบ e-Payment ผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Payment) ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และกระแสสังคมไร้เงินสดได้รับความนิยม จากการใช้บริการ ด้าน e-Paymet เช่น e-Wallet หรือใช้จ่ายผ่านบัตรมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน
ในอนาคตเพื่อนๆ คิดว่าจะมีปัจจัย หรือเหตุการณ์อะไรที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต หรือการชำระเงินแบบไร้สัมผัสอีกบ้างครับ ลองคอมเม้นต์มาบอกกันหน่อยนะครับ
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |