fbpx
Search
Close this search box.

สังคมไร้เงินสดคืออะไร? ทำไมถึงได้รับความนิยม?

สังคมไร้เงินสดคืออะไร?

        สังคมไร้เงินสดเป็นคำอธิบายภาวะทางเศรษฐกิจ และสภาพสังคมที่ทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ได้ดำเนินการด้วยเงินในรูปธนบัตรหรือเหรียญที่จับต้องได้ แต่เป็นการโอนสารสนเทศดิจิทัลระหว่างกัน โดยผ่านตัวกลาง หรือไม่ผ่านตัวกลางก็ได้ ระหว่างผู้ทำธุรกรรม ธุรกรรมไร้เงินสดในปัจจุบันที่นิยมใช้คือ e-Money(เงินอิเล็กทรอนิกส์) โดยใช้จ่ายผ่าน e-Wallet (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์) บัตรเครดิต บัตรเดบิต รวมไปถึง  PromptPay (พร้อมเพย์) และการสแกน QR Code (QR Payment) นับว่าการชำระเงินแบบไร้เงินสดเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนที่สำคัญในอนาคต

ทำไมกระแสสังคมไร้เงินสดถึงได้รับความนิยม?

1. นโยบายลดค่าธรรมเนียมของบริการการโอน

มูลค่าการใช้จ่าย-(ล้านบาท) (1)

          นโยบายลดค่าธรรมเนียมของบริการการโอน และชำระค่าสินค้าและบริการธนาคารพาณิชย์ หรือ e-Wallet หลายแห่งประกาศไม่คิดค่าธรรมเนียม การโอนเงินและชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ โดยช่องทางที่นิยมใช้กันคือ e-Wallet ทำให้จำนวน ธุรกรรมการโอนเงินรายย่อยเพิ่มมากขึ้น สะท้อนได้จากค่าสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทยในการใช้ e-Money ปี 2021อยู่ที่ 467,197.74 ล้านบาท โดยเพิ่มเกือบ 2 เท่า จากปี 2019 ที่ 276,317.42 ล้านบาท

2. นโยบายภาครัฐที่เยียวยาประชาชนจากสถานการณ์โควิด 19

        นโยบายภาครัฐที่เยียวยาประชาชนจากสถานการณ์โควิด 19 ผ่านโครงการต่างๆ อาทิเช่น คนละครึ่ง เราชนะ ทำให้คนไทยได้รู้จักกับแอปฯ เป๋าตังที่เป็น แอปพลิเคชัน e-Wallet เพื่อทำการใช้ชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ตลอดจนไปถึงแอปพลิชันที่ร้านค้าใช้เพื่อรองรับการชำระที่ชื่อว่า ถุงเงิน ส่งผลในคนไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับชำระ และการใช้จ่ายเป็นอย่างสูง

3. ความนิยมในการใช้ quick response code (QR code)

         ความนิยมในการใช้ Quick response code (QR code) เพิ่มขึ้น เชื่อว่าหลายๆ คน แม้แต่ตัวแอดเองการกดเลขบัญชีหรือแม้แต่เบอร์โทรศัพท์เป็นเรื่องยุ่งยาก และเกิดความผิดพลาดได้ง่าย ซึ่งการโอนและชำระสินค้าและบริการโดยใช้ Quick response code (QR code) ผ่านช่องทางในรูปแบบ e-Payment ผ่าน e-Wallet ช่วยลดความผิดพลาด และเพิ่มความสะดวกให้กับเราได้เป็นอย่างมาก Quick response code (QR code)เริ่มเป็นที่นิยมใช้ในปลายปี 2017 และ ความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งจากการสถานการณ์โควิด 19 ที่เราจำเป็นจะต้องใช้จ่าย แบบไร้สัมผัส

4. FinTech

         FinTech คือ ธุรกิจที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้กับการให้บริการธุรกรรม ทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำเสนอบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้าน ความสะดวกรวดเร็ว และต้นทุนการใช้บริการที่ต่ำลง 

          FinTech เป็นการผสมผสานกันระหว่าง Financial + Technology ซึ่งมีความหมายตรงตัวหมายถึง เทคโนโลยีทางการเงินที่พัฒนาขึ้นในยุคศตวรรษที่ 21 ในการให้บริการธุรกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนหรือทดแทนการทำธุรกรรมในรูปแบบเดิม 

           โดยมีความสะดวกรวดเร็วขึ้น สามารถใช้บริการทางการเงินได้ทุกที่ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมงผ่าน คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน โดยมีขั้นตอนการใช้ที่ไม่ยุ่งยากและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ในด้านต้นทุนการใช้บริการต่ำกว่าการใช้บริการที่ธนาคารพาณิชย์ โดยไม่มีสาขาและพนักงานจำนวนมาก ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการหน้าใหม่ (Startup) ที่มีแนวคิดในการปิดช่องว่าง ความไม่สะดวกในการใช้เงินสดหรือบริการผ่านธนาคาร

5. โปรโมชันต่างๆ

       โปรโมชั่นต่างๆ จากผู้ให้บริการด้าน e-Payment  ที่ทำให้การชำระสินค้าหรือบริการ แบบ e-Payment คุ้มค่ามากกว่าเพราะได้ส่วนลด ของแถม หรือได้เงินคืนจากการใช้จ่าย จึงเป็นแรงจูงใจที่ทำให้การชำระในรูปแบบ e-Payment ได้รับความนิยม เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำในการให้บริการ จึงทำให้ค่าธรรมเนียมต่างๆ ถูกลงเป็นอย่างมาก ส่งผลดีต่อผู้ใช้งานเองด้วยเช่นกัน ทำให้เราได้รับโปรโมชันที่คุ้มค่ามากกว่าการใช้เงินสด

6. จากสถิติของ we are social

         จากสถิติของ we are social บอกว่าคนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนมากกว่า 80% จึงเป็นปัจจัยอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการทำให้คนไทยเข้าถึงการชำระเงินแบบ e-Payment ผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Payment) ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และกระแสสังคมไร้เงินสดได้รับความนิยม จากการใช้บริการ ด้าน e-Paymet เช่น e-Wallet หรือใช้จ่ายผ่านบัตรมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน

ในอนาคตเพื่อนๆ คิดว่าจะมีปัจจัย หรือเหตุการณ์อะไรที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต หรือการชำระเงินแบบไร้สัมผัสอีกบ้างครับ ลองคอมเม้นต์มาบอกกันหน่อยนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่